ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 2 จากข้อมูลทั้งหมด 2 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ [ASEAN Economic Ministers (AEM) Retreat] ครั้งที่ 27 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 27/04/2564 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ
[ASEAN Economic Ministers (AEM) Retreat] ครั้งที่ ๒๗ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ ๒-๓ มีนาคม ๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล
(VDO Conference) โดยที่ประชุม AEM Retreat ครั้งที่ ๒๗ ได้มีการแลกเปลี่ยนแนวทางการรับมือและฟื้นฟูประเทศจากสถานการณ์โควิด-๑๙
และเร่งรัดการดำเนินงานตามกรอบการฟื้นฟูของอาเซียน
และแผนการดำเนินการในการส่งเสริมความร่วมมือและประสานงานระหว่างองค์กรรายสาขา
รวมทั้งเห็นชอบการขยายรายการสินค้าจำเป็น (Essential Goods) ภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการดำเนินมาตรการที่มิใช่ภาษีและสินค้าจำเป็นภายใต้แผนปฏิบัติการฮานอยว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานของอาเซียนให้เข้มแข็งในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของโควิด-๑๙
และเห็นชอบประเด็นด้านเศรษฐกิจที่บรูไนดารุสซาลามในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้ร่วมกันดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จในปี
๒๕๖๔ (Priority Economic Deliverables : PEDs) รวมถึงแสดงความกังวลเกี่ยวกับความตกลงด้านเศรษฐกิจที่ตกลงแล้วแต่ยังค้างการมีผลบังคับใช้เป็นเวลายาวนาน
และแนวทางปรับปรุงการบังคับใช้ความตกลงด้านเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้
ที่ประชุมได้รับทราบสถานะล่าสุดของการดำเนินการเพื่อริเริ่มทบทวนความตกลงการค้าสินค้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย
(ASEAN-India Trade in Goods Agreement : AITIGA) และปัญหาจากประกาศศุลกากรของสาธารณรัฐอินเดียด้านกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า
(CAROTAR 2020) ความคืบหน้าการจัดทำร่างกรอบขอบเขตความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรป
(Draft Framework Setting Out the Parameters of a Future EU-ASEAN
Agreement on Trade and Investment) และความคืบหน้าในการให้สัตยาบันความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
(Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ของแต่ละประเทศ สำหรับการประชุมที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย การหารือระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน
(ASEAN Business Advisory Council : ASEAN-BAC) และการหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์
ซึ่งได้มีการหารือเกี่ยวกับการร่วมกันผลักดันและฟื้นฟูเศรษฐกิจและการค้าการลงทุนด้วยมาตรการต่าง
ๆ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
2 | ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า และแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าอุทัยธานี เมืองเก่าตรัง และเมืองเก่าฉะเชิงเทรา | ทส. | 27/04/2564 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า
และแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าอุทัยธานี เมืองเก่าตรัง และเมืองเก่าฉะเชิงเทรา
ซึ่งได้ผ่านการประชุมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์
และเมืองเก่า ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๔ เรียบร้อยแล้ว
โดยขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าอุทัยธานี มีเนื้อที่ประมาณ ๑.๖๙ ตารางกิโลเมตร
(๑,๐๕๘.๘๗ ไร่) ครอบคลุมองค์ประกอบเมืองที่สำคัญ เช่น วัดอุโปสถาราม (วัดโบสถ์)
พื้นที่ย่านการค้าดั้งเดิมบริเวณถนนศรีอุทัยและถนนท่าช้าง
ย่านชุมชนชาวจีนตรอกโรงยา และชุมชนชาวแพแม่น้ำสะแกกรัง ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าตรัง
เนื้อที่ประมาณ ๑.๙๑ ตารางกิโลเมตร (๑,๑๙๒.๙๕ ไร่) ครอบคลุมองค์ประกอบเมืองที่สำคัญ
เช่น หอนาฬิกาจังหวัดตรัง สถานีรถไฟตรัง และขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าฉะเชิงเทรา
เนื้อที่ประมาณ ๓.๙๖ ตารางกิโลเมตร (๒,๔๗๕.๖๙ ไร่)
ครอบคลุมองค์ประกอบเมืองที่สำคัญ เช่น ป้อมและกำแพงเมือง วัดโสธรวรารามวรวิหาร ย่านการค้าตลาดทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
จังหวัดฉะเชิงเทรา ส่วนแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า ประกอบด้วยแนวทางทั่วไป
เช่น การมีส่วนร่วมและการประชาสัมพันธ์ การสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน
การส่งเสริมกิจกรรมและวิถีชีวิตท้องถิ่น และแนวทางสำหรับพื้นที่หลัก เช่น ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ด้านอาคารและสภาพแวดล้อม ด้านระบบการราจรและคมนาคมขนส่ง ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม
กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เช่น หน่วยงานผู้รับผิดชอบในพื้นที่ควรมีแผนการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว
และแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยว
โดยต้องคำนึงถึงสุขอนามัย ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ
หน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
รวมถึงองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องจะต้องให้ความสำคัญกับการนำแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่เมืองเก่าไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง
และในการจัดทำแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าฉะเชิงเทราซึ่งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรคำนึงถึงความเชื่อมโยงกับการพัฒนาเขตพัฒนาภาคตะวันออก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ประโยชน์จากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนานบิน ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
สำหรับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ตามกรอบแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า
และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า
เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีที่ได้รับจัดสรรไว้แล้ว
ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป ให้ดำเนินการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีอย่างเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำชับให้เจ้าหน้าที่ในระดับพื้นที่ที่เกี่ยวข้องบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกันให้ถูกต้อง
เหมาะสม รวมทั้งสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากการกำหนดขอบเขตพื้นเมืองเก่าให้ทั่วถึงด้วย |