ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 3 จากข้อมูลทั้งหมด 3 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมการแบ่งส่วนราชการในกองบังคับการในสังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการดังกล่าว) | ตช. | 30/03/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรม
สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางเป็นหน่วยงานระดับกองบังคับการ
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการดังกล่าว
แก้ไขการแบ่งส่วนราชการภายในกองบังคับการอำนวยการ
รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของกองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ
ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางให้สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้น
และเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไป
อันจะทำให้การปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร.
สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เห็นควรพิจารณาปรับบทบาท ภารกิจ
และโครงสร้างหน่วยงานที่รับผิดชอบภารกิจด้านการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับรูปแบบ
ยุทธวิธี และการปฏิบัติการเฉพาะทางที่เป็นภารกิจหลักสำคัญ
มุ่งเน้นให้เกิดการบูรณาการภารกิจการฝึกอบรมในภาพรวม ควรมอบให้ภาคส่วนอื่นเข้ามาร่วมจัดฝึกอบรมในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการถวายความปลอดภัยและอารักขาบุคคลสำคัญ
และควรจัดทำแผนการบริหารอัตรากำลังให้ชัดเจน
จัดสรรอัตรากำลังให้สอดคล้องกับภารกิจและปริมาณงาน และจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อประกอบการพิจารณาเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีอาจกำหนดมาตรการเช่นเดียวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๔
ธันวาคม ๒๕๖๑ เรื่อง
การมอบอำนาจการแบ่งส่วนราชการภายในกรมที่เป็นการแบ่งส่วนราชการอื่นที่มีสำนักงาน
ก.พ.ร. คอยตรวจสอบและควบคุม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลหรือเข้ารับบริการภาครัฐในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ | นร. | 30/03/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่า เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลหรือเข้ารับบริการภาครัฐในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
รวมทั้งเพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการให้บริการของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อลดภาระการใช้กระดาษในการติดต่องานราชการด้วย
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเร่งรัดการจัดทำแอปพลิเคชัน/แพลตฟอร์มดิจิทัลเกี่ยวกับภารกิจต่าง
ๆ
ในความรับผิดชอบของแต่ละส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเพื่อให้บริการหรือให้ข้อมูลแก่ประชาชนให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายใน
๓ เดือน ทั้งนี้ ให้สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดองติดตามผลการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น
และรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | สรุปผลการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ครั้งที่ 1/2564 | นร.10 | 30/03/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๔ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
และได้มีประเด็นข้อสั่งการสำคัญที่นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้คณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่ารับไปดำเนินการ
ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ดังนี้ ๑.
ให้ทุกส่วนราชการพิจารณาข้อเสนอแนวทางการขับเคลื่อน กระตุ้น และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
รวมถึงการใช้ชีวิตวิถีใหม่ของประชาชน
ภายใต้บริบทการบริหารจัดการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) ที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อภายในประเทศลดลง
และเริ่มมีการฉีดวัคซีนให้ประชาชนแล้ว ทั้งนี้
ให้ทุกส่วนราชการพิจารณาปรับเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติงาน
และการให้บริการประชาชนให้สอดคล้องกับชีวิตวิถีใหม่ด้วย ๒.
ให้ทุกส่วนราชการจัดทำวิดีทัศน์นำเสนอผลงานของหน่วยงานที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล
เพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อประชาชนเกี่ยวกับผลงานและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน
ทั้งนี้ วิดีทัศน์ควรมีรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ
ทันยุคสมัยและให้มีการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ๓.
ให้ทุกส่วนราชการนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติงาน
การอำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน โดยอาจพิจารณาสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนที่มีความรู้
ความชำนาญ และประสบการณ์ในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ๔.
ให้ทุกส่วนราชการเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนตามที่ได้รับการประสานจากศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีด้วยความรวดเร็ว ๕. ให้ทุกส่วนราชการพิจารณาจัดส่งข้อมูลให้กับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีตามที่ได้รับการร้องขอ
ทั้งนี้ ขอให้ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยเคร่งครัด ๖.
ให้ทุกส่วนราชการให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมจิตอาสา
โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมจิตอาสาในพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ
ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ๗.
ให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ อาทิ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เตรียมแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นองค์รวมภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้น อาทิ ภัยแล้ง ปัญหาน้ำทะเลหนุน ๘.
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ
กระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ร่วมกันพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าทางการเกษตร
อาทิ (๑) การสร้างห้องเย็นเพื่อให้สามารถจัดเก็บสินค้าทางเกษตรได้นานขึ้น (๒)
การควบคุมความสมดุลระหว่างความสามารถในการเพาะปลูกพืชผล สินค้าทางการเกษตร
และความต้องการผลผลิตทางการเกษตร (๓)
การนำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้ในการควบคุมปริมาณการใช้น้ำสำหรับการเพาะปลูกพืชพันธุ์แต่ละชนิดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำลง และ (๔) การสนับสนุนความรู้
สร้างความเข้าใจให้กับประชาชน
เพื่อการใช้ประโยชน์พื้นที่ได้อย่างเหมาะสมตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๙.
ให้กระทรวงมหาดไทยสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจใหม่แบบองค์รวม
หรือ Bioeconomy, Circular Economy and Green Economy (BCG) ซึ่งเกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่าง ๆ ในเชิงพื้นที่
เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้
ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินำนโยบายดังกล่าวไปพิจารณาประกอบการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ ต่อไปด้วย ๑๐. ให้สำนักงาน ก.พ.
จัดทำข้อเสนอรูปแบบการจ้างงานที่หลากหลาย
รวมถึงแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนและการจัดสวัสดิการที่เหมาะสม เพื่อดึงดูด
จูงใจ และรักษาไว้ซึ่งกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถให้อยู่ในระบบราชการ ๑๑. ให้ทุกส่วนราชการเร่งรัดการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินการสรรหา
สอบคัดเลือก
และบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการหรือปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐเพื่อทดแทนอัตราว่างจากการเกษียณอายุและอัตราตั้งใหม่ที่ได้รับการจัดสรรไว้แล้วแต่ยังไม่ได้มีการบรรจุแต่งตั้งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ทั้งนี้
เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีงานทำของประชาชนและบรรเทาผลกระทบของการว่างงานจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๔
๑๒.
ให้ทุกส่วนราชการกวดขันและเข้มงวดในการปฏิบัติงานของข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐของหน่วยงานทุกระดับให้เป็นไปด้วยความซื่อสัตย์
สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
เพื่อลดโอกาสในการทุจริตประพฤติมิชอบ
|