ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ (การปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ) | นร.09 | 02/03/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
ดังนี้
๑.๑ ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๗ และวันที่ ๖ กันยายน
๒๕๔๘
ที่มีมติรับทราบและเห็นชอบการพัฒนากฎหมายตามนโยบายรัฐบาลตามที่คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมายเสนอ
ซึ่งรวมถึงแนวทางการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับผิดชอบพัฒนาหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐให้เหมาะสมแก่กาลสมัย
โดยไม่ต้องนำเสนอหลักสูตรให้คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเห็นชอบอีก
แต่ให้รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเป็นระยะ ทั้งนี้ ผู้ซึ่งจะผ่านการฝึกอบรมต้องมีผลงานวิชาการส่วนบุคคลเกี่ยวกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานต้นสังกัดเผยแพร่ต่อสาธารณะในเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
๑.๒ ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพัฒนาวิธีการฝึกการอบรมและพัฒนานักกฎหมายภาครัฐให้ทันสมัยและสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป
และอาจมอบหมายให้หน่วยงานภาครัฐจัดการฝึกอบรมนักกฎหมายภาครัฐในสังกัดของตนเองตามหลักสูตรที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากำหนด
ทั้งนี้
ผู้ผ่านการฝึกอบรมต้องได้รับการอนุมัติให้ผ่านการฝึกอบรมจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากำหนดเพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพการฝึกอบรม
๒.
ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับความเห็นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงาน
ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ เช่น (๑) การกำหนดให้ผู้ซึ่งจะผ่านการฝึกอบรมต้องมีผลงานวิชาการส่วนบุคคลเกี่ยวกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานต้นสังกัดเผยแพร่ต่อสาธารณะในเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษีกา
ควรมีการกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์การประเมินดังกล่าวให้ชัดเจน เพื่อให้ทุกหน่วยงานมีความเข้าใจและดำเนินการให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
(๒) การมอบหมายให้หน่วยงานภาครัฐจัดการฝึกอบรมนักกฎหมายภาครัฐในสังกัดของตนเองตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากำหนด
ควรคำนึงถึงความพร้อมของหน่วยงานและความคุ้มค่าในการจัดฝึกอบรมประกอบด้วย และ (๓)
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักสูตรที่จะทำให้นักกฎหมายภาครัฐมีศักยภาพ
จรรยาบรรณ และจริยธรรม
นอกเหนือจากการมีความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องในการพัฒนากฎหมาย เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|