ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 8 จากข้อมูลทั้งหมด 8 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (สภาผู้แทนราษฎร) | สผ. | 07/04/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ซึ่งกระทรวงการคลังได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตดังกล่าวแล้ว
โดยได้ดำเนินการ เช่น เตรียมการรองรับการบังคับใช้กฎหมาย
โดยการออกกฎกระทรวงและประกาศที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ในการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดทำระบบเพื่อรองรับการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่สะดวกและง่ายต่อการใช้งานของผู้ประกอบการ
จัดทำคู่มือเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป
เป็นต้น และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจากต่างประเทศนั้น
กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีดังกล่าว
สำหรับการปรับปรุงถ้อยคำว่า “ต่างประเทศ” จะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
และต้องดำเนินการศึกษาร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อความรอบคอบต่อไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (เลขาธิการวุฒิสภา) | สว. | 07/04/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ซึ่งกระทรวงการคลังได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตดังกล่าวแล้ว
โดยได้ดำเนินการ เช่น เตรียมการรองรับการบังคับใช้กฎหมาย
โดยการออกกฎกระทรวงและประกาศที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ในการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดทำระบบเพื่อรองรับการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่สะดวกและง่ายต่อการใช้งานของผู้ประกอบการ
จัดทำคู่มือเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป
เป็นต้น และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจากต่างประเทศนั้น
กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีดังกล่าว
สำหรับการปรับปรุงถ้อยคำว่า “ต่างประเทศ” จะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
และต้องดำเนินการศึกษาร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อความรอบคอบต่อไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | โครงการอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีและย่านนวัตกรรมโยธี | อว. | 07/04/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล) ดำเนินการโครงการอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีและย่านนวัตกรรมโยธี
ภายในกรอบวงเงิน ๑๑,๖๒๙.๖๕ ล้านบาท เป็นเงินงบประมาณ จำนวน ๗,๗๖๔.๐๐ ล้านบาท
และเงินนอกงบประมาณ จำนวน ๓,๘๖๕.๖๕ ล้านบาท ระยะเวลา ๖ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐) โดยให้มหาวิทยาลัยมหิดลจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามความพร้อมและความสามารถในการใช้จ่ายให้สอดคล้องกับแผนการย้ายโรงงานพระราม
๖ ขององค์การเภสัชกรรม
เพื่อใช้พื้นที่ว่างดังกล่าวในการเตรียมการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีและย่านนวัตกรรมโยธี
สำหรับชั้นความสูงของอาคารให้พิจารณาดำเนินการตามกฎหมายควบคุมอาคารที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง
ครบถ้วน และเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล) ดำเนินการขออนุญาตก่อสร้างอาคารให้ถูกต้องเป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท
ในท้องที่แขวงถนนนครไชยศรี แขวงวชิรพยาบาล แขวงดุสิต แขวงสวนจิตรลดา
แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต แขวงทุ่งพญาไท แขวงสามเสนใน เขตพญาไท แขวงวัดโสมนัส
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และแขวงวัดสามพระยา แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการต่อไป ๒. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ควร (๑) คำนึงถึงทางเลือกอื่นในการดำเนินโครงการฯ
โดยอาจพิจารณากำหนดแรงจูงใจให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม อาทิ
การให้ภาคเอกชนที่มีศักยภาพร่วมลงทุนในโครงการฯ
ในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (Public Proivate Partnership
: PPP) เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระงบประมาณของภาครัฐ
(๒) ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการโครงการฯ ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
โดยเฉพาะการบริหารจัดการในช่วงจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้การดำเนินโครงการฯ
แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
อีกทั้งเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการดำเนินโครงการฯ อย่างมากที่สุด และ (๓)
พิจารณาจัดทำแนวทางการเสริมสร้างเครือข่าย การบูรณาการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างโครงการฯ
กับหน่วยงาน/สถาบันทางการแพทย์ภายในพื้นที่ย่านนวัตกรรมโยธีที่ชัดเจน
ซึ่งจะช่วยส่งผลให้การผลักดันพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตนวัตกรรมด้านการแพทย์และสาธารณสุขเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
๓. ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รวมถึงมหาวิทยาลัยในกำกับ) กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งกำหนดแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการยกเว้นหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ตามความในกฎกระทรวงว่าด้วยการยกเว้น ผ่อนผัน
หรือกำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารพ.ศ. ๒๕๕๐
ให้มีความชัดเจนและเหมาะสม
โดยเฉพาะในกรณีอาคารของหน่วยงานที่ไม่ใช่อาคารของกระทรวง ทบวง กรม ที่ใช้ในราชการ
หรือเพื่อสาธารณประโยชน์ เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ถือปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายใด ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
ก็ให้หน่วยงานเจ้าของกฎหมายเร่งดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในความรับผิดชอบให้แล้วเสร็จโดยเร็วด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยมาตรฐานเทคนิคทางไฟฟ้าระหว่างประเทศ | อก. | 07/04/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงองค์ประกอบของกรรมการในคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยมาตรฐานเทคนิคทางไฟฟ้าระหว่างประเทศ
โดยขอเปลี่ยนแปลงตำแหน่งในคณะกรรมการดังกล่าว จากเดิม “ผู้แทน บริษัท ทีโอที จำกัด
(มหาชน) และ ผู้แทน บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)” เป็น “ผู้แทน บริษัท
โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)” ทั้งนี้ องค์ประกอบอื่นและอำนาจหน้าที่คงเดิม
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๗ เมษายน
๒๕๖๔) เป็นต้นไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย – สิงคโปร์ | คค. | 07/04/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-สิงคโปร์
และเห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของฝ่ายไทย
โดยมอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันการมีผลใช้บังคับของบันทึกความเข้าใจฯ
ต่อไป โดยบันทึกความเข้าใจฯ และร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของฝ่ายไทยมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงสิทธิการบินและข้อบทต่าง
ๆ จากที่กำหนดไว้ในความตกลงระหว่างไทยและสิงคโปร์ว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างอาณาเขตของแต่ละฝ่ายและพ้นจากนั้นไป
ฉบับลงนามเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๑๑
และบันทึกความเข้าใจลับและบันทึกการประชุมฉบับลงนามเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๕
ในประเด็นต่าง ๆ เช่น (๑) แก้ไขคำจำกัดความของคำว่า “เจ้าหน้าที่การเดินอากาศ”
ของฝ่ายไทย เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงหน่วยงานด้านการบิน (๒)
ปรับปรุงใบพิกัดเส้นทางบินรับขนผู้โดยสาร โดยกำหนดจุดระหว่างทางเป็นจุดใด ๆ
และรวมจุดพ้นเป็นกลุ่มภูมิภาค (๓) เพิ่มสิทธิการทำบินด้วยสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่
๕ ได้ฝ่ายละ ๒๘ เที่ยว/สัปดาห์ จากเดิม ๒๑ เที่ยว/สัปดาห์ เป็นต้น
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศที่เห็นว่า
บันทึกความเข้าใจฯ ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และเห็นว่าร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของฝ่ายไทยเป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของฝ่ายไทย
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน กรณีสนามมวยนานาชาติรังสิตจัดให้มีการชกมวยในเด็ก โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง | สม. | 07/04/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่ง
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
กรณีสนามมวยนานาชาติรังสิตจัดให้มีการชกมวยในเด็ก
โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ในการพิจารณาแนวทางในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ
หรือคำสั่ง หรือกำหนดกฎเกณฑ์ที่เป็นหลักสำคัญและรายละเอียดทางปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นเฉพาะสำหรับการแข่งขันกีฬามวยในเด็ก
โดยที่ประชุมมีมติให้สำนักงานคณะกรรมการกีฬามวยดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง
ระเบียบคณะกรรมการกีฬามวย ว่าด้วยระเบียบและกติกามาตรฐานการแข่งขันกีฬามวย
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ ระเบียบและกติกาการแข่งขันกีฬามวย
สำหรับนักมวยที่มีอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีบริบูรณ์ ที่สามารถดำเนินการได้ภายใต้อำนาจของคณะกรรมการกีฬามวย
โดยในการแก้ไข ปรับปรุง ให้เชิญผู้แทนกระทรวงต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องมาให้ความคิดเห็นเพื่อให้ครอบคลุมในมิติด้านต่าง ๆ
และในขณะที่กำลังดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง
ให้สำนักงานคณะกรรมการกีฬามวยแจ้งต่อนายทะเบียนจังหวัดให้เข้มงวดตรวจสอบการแข่งขันกีฬามวยสำหรับนักมวยที่มีอายุต่ำกว่า
๑๕ ปีบริบูรณ์ ให้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการกีฬามวย ว่าด้วยระเบียบและกติกามาตรฐานการแข่งขันกีฬามวย
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยเคร่งครัด ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป ๒.
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารับไปพิจารณาดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งคณะกรรมการกีฬามวย
เพื่อจัดให้มีการทำประกันภัยในระยะยาวให้กับนักมวยเด็กอย่างเหมาะสมด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดการปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัลและค่าธรรมเนียม พ.ศ. .... | มท. | 07/04/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดการปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัลและค่าธรรมเนียม
พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้สำนักทะเบียนกลางจัดให้มีระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยระบบดิจิทัล
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน และเพื่อให้ประชาชนผู้ขอรับบริการงานทะเบียนราษฎรได้รับความสะดวก
รวดเร็ว และปลอดภัย ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และความเห็นของสมาคมธนาคารไทย
และสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย เช่น (๑)
ให้การพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลและการกำหนดมาตรฐานการให้บริการงานทะเบียนด้วยระบบดิจิทัล
เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างกระทรวงมหาดไทย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แทนที่จะกำหนดให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการทะเบียนกลางเพียงคนเดียว
(๒) การจัดเก็บค่าธรรมเนียมด้วยวิธีการทางดิจิทัล
สมควรที่กระทรวงมหาดไทยจะได้ดำเนินการร่วมกับกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
เพื่อให้เป็นระบบเดียวกันหรือสามารถเชื่อมโยงกันได้โดยไม่เกิดข้อขัดข้อง และ (๓)
การปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียม สมควรดำเนินการเมื่อได้มีการพัฒนาการให้บริการงานทะเบียนด้วยระบบดิจิทัลแล้ว
เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงบประมาณ และธนาคารแห่งประเทศไทยที่เห็นว่า
(๑)
การกำหนดให้สำนักทะเบียนท้องถิ่นจัดให้มีบริการงานทะเบียนด้วยระบบดิจิทัลจำเป็นต้องพิจารณาถึงความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างบุคคลใด
ๆ หรือหน่วยงานของรัฐเพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนและการทำธุรกรรมอื่น ๆ
ที่เกี่ยวกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตน รวมทั้งควรมีการระบุระยะเวลาในการตรวจสอบ
ติดตามและประมวลผล
และปรับปรุงรายการที่เกิดจากการให้บริการด้วยระบบดิจิทัลในฐานข้อมูลการทะเบียนให้ชัดเจน
เพื่อให้ฐานข้อมูลมีความถูกต้องและมีความเป็นปัจจุบันมากขึ้น (๒) ให้มีการนำข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยแนวทางการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับประเทศไทย-การลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตน
(ขมธอ. ๑๙-๒๕๖๔)
และข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยแนวทางการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับประเทศไทย-การยืนยันตัวตน
(ขมธอ. ๒๐-๒๕๖๑)
ไปใช้เป็นแนวทางประกอบการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการลงทะเบียนและการยืนยันตัวตนของสำนักทะเบียนกลางด้วย
และ (๓) ให้กระทรวงมหาดไทยเร่งสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนด้วยระบบดิจิทัลและการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ (เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2563) | นร.11 | 07/04/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา
๒๗๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดือนตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๓)
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ
และให้เสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป ดังนี้ ๑.
การรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม
๒๕๖๓ ประกอบด้วย (๑) กิจกรรมที่สำคัญของแผนการปฏิรูปประเทศทั้ง ๑๒ ด้าน เช่น
ด้านการเมือง ด้านกระบวนการยุติธรรม และด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น (๒)
สถานะกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม ๒๕๖๓
โดยจากกฎหมายภายใต้แผนฯ ที่มีข้อเสนอจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมาย จำนวน ๒๑๔ ฉบับ
มีกฎหมายแล้วเสร็จ จำนนว ๕๓ ฉบับ ๒.
การรายงานประเด็นข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของรัฐสภา รัฐสภาได้อภิปรายข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่อการรายงานความคืบหน้าฯ
(เดือนกรกฎาคม-กันยายน ๒๕๖๓) เช่น การปรับปรุงรายงานความคืบหน้าฯ
ให้สะท้อนความก้าวหน้าของการปฏิรูปประเทศที่เป็นรูปธรรม เป็นต้น ๓.
สาระสำคัญของแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ทั้ง ๑๓ ด้าน
และการขับเคลื่อนสู่การบรรลุผลตามเป้าหมายอันพึงประสงค์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้สรุปสาระสำคัญของแผนการปฏิรูปประเทศ
(ฉบับปรับปรุง)
โดยแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์คาดว่าจะเกิดขึ้น
รวมถึงรายงานสถานการณ์ปัจจุบันของเป้าหมายที่กำหนดไว้ และนำเสนอเครื่องมือในการขับเคลื่อนกิจกรรม
Big Rock ไปสู่การปฏิบัติ ๔.
การดำเนินการระยะต่อไป
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะรายงานรายละเอียดของแผนขับเคลื่อนกิจกรรม
Big Rock ทั้ง ๖๒ กิจกรรม ต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ
(ฉบับปรับปรุง) ในแต่ละช่วงเวลา และจะพัฒนาระบบ eMENSCR โดยเพิ่มเติมในส่วนการติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามกิจกรรม Big Rock
|