ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 2 จากข้อมูลทั้งหมด 2 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ |
---|---|---|---|
1 | การทบทวนหลักเกณฑ์การจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา | นร.10 | 12/01/2564 |
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ
(พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๕) ตามมติคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๓
โดยให้เพิ่มเติมตำแหน่งที่เห็นควรจัดสรรคืนทั้งหมด
เพื่อให้ส่วนราชการสามารถแต่งตั้งบุคคลได้อย่างต่อเนื่องทันที
เฉพาะตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา ๓๘ ค. (๒) ประเภทอำนวยการ ได้แก่ (๑)
ตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดและตำแหน่งรองศึกษาธิการจังหวัด (๒)
ตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้และตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
และ (๓) ตำแหน่งผู้อำนวยการภายในสถาบันการอาชีวศึกษา
สำหรับการทดแทนอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุด้วยการจ้างงานรูปแบบอื่น ให้คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพิจารณาจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น
ตามมาตรา ๓๘ ค. (๒) เฉพาะตำแหน่งที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดเป็นตำแหน่งประเภทวิชาการและตำแหน่งประเภททั่วไป
ในหน่วยงานการศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ด้วยการจ้างงานรูปแบบอื่น ร้อยละ ๑๐
โดยให้พิจารณาในภาพรวมของอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุทั้งหมดของหน่วยงานในปีงบประมาณนั้น
ๆ ตามที่สำนักงาน ก.พ.
ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐเสนอ |
|||
2 | การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) | กค. | 12/01/2564 |
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา
(COVID-19) ได้แก่
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๓ เรื่อง มาตรการการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการลงทุนในประเทศ
ปี ๒๕๖๓ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๓ เรื่อง มาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา
(COVID-19) ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม
ระยะที่ ๒ และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๓ เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีและเสนอมาตรการช่วยเหลือ
SMEs เพิ่มเติม
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ดังนี้ ๑.๑
การปรับปรุงการดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีรายได้ประจำที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา
(COVID-19) และขยายระยะเวลาโครงการสินเชื่อเพิ่มเสริมพลังฐานราก
โดยจัดสรรวงเงินที่เหลือประมาณ ๒,๙๘๗ ล้านบาท
จากการดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีรายได้ประจำที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา
(COVID-19) ให้ธนาคารออมสินดำเนินโครงการสินเชื่อเสริมพลังฐานราก
พร้อมทั้งขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการสินเชื่อเสริมพลังฐานราก
จากเดิมสิ้นสุดวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๓ เป็นสิ้นสุดวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ ๑.๒
ขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา
(COVID-19) วงเงินสินเชื่อรวม
๔๐,๐๐๐ ล้านบาท แบ่งเป็น ธนาคารออมสิน วงเงิน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท
และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงิน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท
ให้แก่ประชาชนที่มีอาชีพอิสระไม่มีรายได้ประจำหรือเกษตรกรรายย่อย
คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ไม่เกินร้อยละ ๐.๑๐
ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน ๒ ปี ๖ เดือน (ระยะเวลาปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ๖
เดือน) สิ้นสุดรับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๓ โดยอนุมัติสินเชื่อไปแล้ว
รวมจำนวน ๒๕,๖๓๕ ล้านบาท (ธนาคารออมสิน ๑๗,๐๑๐ ล้านบาท และ ธ.ก.ส. ๘,๖๒๕ ล้านบาท)
ยังมีวงเงินคงเหลือภายใต้โครงการดังกล่าวอีก จำนวน ๑๔,๓๖๕ ล้านบาท ดังนั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการช่วยเหลือประชาชน
จึงขอขยายระยะเวลารับคำขอสินเชื่อออกไปเป็นวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ ๑.๓
ขยายระยะเวลามาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
(ธสน.) ภายใต้มาตรการการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการลงทุนในประเทศ ปี ๒๕๖๓
วงเงินรวม ๕,๐๐๐ ล้านบาท สนับสนุนสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการส่งออกและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
รวมถึงผู้นำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อพัฒนาประเทศ โดยคิดอัตราดอกเบี้ย ปีที่
๑-๒ ร้อยละ ๒ ต่อปี ในปีที่ ๓-๕ คิดอัตรา Prime Rate-ร้อยละ
๒ ต่อปี และปีที่ ๖-๗ คิดอัตรา Prime Rate ต่อปี
(ปัจจุบันอัตรา Prime Rate ของ ธสน. อยู่ที่ร้อยละ ๖) ณ
วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๓ ธสน. อนุมัติสินเชื่อไปแล้ว จำนวน ๒,๘๕๘ ล้านบาท
ยังคงมีวงเงินคงเหลืออีก จำนวน ๒,๑๔๒ ล้านบาท
จึงขอขยายระยะเวลาดำเนินมาตรการดังกล่าว
จากเดิมสิ้นสุดการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อไม่เกินวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๓
ออกไปเป็นสิ้นสุดการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อไม่เกินวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔
๒. ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการและโครงการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานการดำเนินงานตามมาตรการและโครงการดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย |