ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 10 จากข้อมูลทั้งหมด 10 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2562 | รง. | 02/03/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่
๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ ของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประกอบด้วย
งบแสดงฐานะทางการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงาน
และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบรับรองแล้วเห็นว่า
ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การจ้างงานข้าราชการภายหลังเกษียณอายุ 60 ปี เพื่อรองรับสังคมสูงวัย ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา | สว. | 02/03/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง การจ้างงานข้าราชการภายหลังเกษียณอายุ ๖๐ ปี เพื่อรองรับสังคมสูงวัย
ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ
และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา โดยสำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณารายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
แล้ว เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
โดยเห็นควรให้ชะลอหรือทบทวนการดำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
ซึ่งควรใช้จ่ายงบประมาณที่มีจำกัดเพื่อให้เกิดการจ้างงานที่จำเป็นและควรพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับสถานการณ์เพื่อความยั่งยืนทางการคลัง
การจ้างงานเพื่อใช้ศักยภาพข้าราชการเกษียณให้พิจารณาตามความจำเป็นและความต้องการของบุคลากรในแต่ละตำแหน่งหรือสาขา
และการศึกษาเพื่อปฏิรูประบบบำเหน็จบำนาญของข้าราชการส่วนท้องถิ่น
มีการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดรับกันต่อไป ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ร่างพระราชกฤษฎีกายกเว้นภาษีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 | กค. | 02/03/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่นิติบุคคล
สำหรับรายรับที่เป็นเงินค่าทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์
และยกเว้นอากรแสตมป์สำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการขายหรือถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายดังกล่าว
ตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณเกี่ยวกับกรณีการกำหนดวงเงินค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดิน
เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามนัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะด้วย
และเห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการยกเว้นภาษีดังกล่าวให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้อง
ครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเป็นระยะ
ๆ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ (การปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ) | นร.09 | 02/03/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
ดังนี้
๑.๑ ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๗ และวันที่ ๖ กันยายน
๒๕๔๘
ที่มีมติรับทราบและเห็นชอบการพัฒนากฎหมายตามนโยบายรัฐบาลตามที่คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมายเสนอ
ซึ่งรวมถึงแนวทางการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับผิดชอบพัฒนาหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐให้เหมาะสมแก่กาลสมัย
โดยไม่ต้องนำเสนอหลักสูตรให้คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเห็นชอบอีก
แต่ให้รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเป็นระยะ ทั้งนี้ ผู้ซึ่งจะผ่านการฝึกอบรมต้องมีผลงานวิชาการส่วนบุคคลเกี่ยวกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานต้นสังกัดเผยแพร่ต่อสาธารณะในเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
๑.๒ ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพัฒนาวิธีการฝึกการอบรมและพัฒนานักกฎหมายภาครัฐให้ทันสมัยและสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป
และอาจมอบหมายให้หน่วยงานภาครัฐจัดการฝึกอบรมนักกฎหมายภาครัฐในสังกัดของตนเองตามหลักสูตรที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากำหนด
ทั้งนี้
ผู้ผ่านการฝึกอบรมต้องได้รับการอนุมัติให้ผ่านการฝึกอบรมจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากำหนดเพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพการฝึกอบรม
๒.
ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับความเห็นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงาน
ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ เช่น (๑) การกำหนดให้ผู้ซึ่งจะผ่านการฝึกอบรมต้องมีผลงานวิชาการส่วนบุคคลเกี่ยวกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานต้นสังกัดเผยแพร่ต่อสาธารณะในเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษีกา
ควรมีการกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์การประเมินดังกล่าวให้ชัดเจน เพื่อให้ทุกหน่วยงานมีความเข้าใจและดำเนินการให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
(๒) การมอบหมายให้หน่วยงานภาครัฐจัดการฝึกอบรมนักกฎหมายภาครัฐในสังกัดของตนเองตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากำหนด
ควรคำนึงถึงความพร้อมของหน่วยงานและความคุ้มค่าในการจัดฝึกอบรมประกอบด้วย และ (๓)
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักสูตรที่จะทำให้นักกฎหมายภาครัฐมีศักยภาพ
จรรยาบรรณ และจริยธรรม
นอกเหนือจากการมีความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องในการพัฒนากฎหมาย เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 15 การประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา+3 ครั้งที่ 6 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบการประชุมทางไกล | นร. | 02/03/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้สำนักนายกรัฐมนตรี
(กรมประชาสัมพันธ์) จัดการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ ๑๕
การประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา+๓ ครั้งที่ ๖
และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ผ่านระบบการประชุมทางไกล ในวันที่ ๑๐
และ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๔ โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นประธานการประชุมในระดับรัฐมนตรี และเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน
(Joint
Media Statement) มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในระดับรัฐมนตรีอาเซียนเกี่ยวกับการรับมือสถานการณ์โควิด-๑๙
ของอาเซียน การส่งเสริมการเข้าถึงสื่อดิจิทัล การพัฒนาทักษะดิจิทัล
การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และรับทราบผลการดำเนินงานของคณะทำงานต่าง
ๆ และความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา โดยอนุมัติให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ในฐานะรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนของไทยหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
ในที่ประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ ๑๕ ผ่านระบบการประชุมทางไกล ในวันที่
๑๒ มีนาคม ๒๕๖๔ ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี (กรมประชาสัมพันธ์) เสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้สำนักนายกรัฐมนตรี (กรมประชาสัมพันธ์) ดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒. ให้สำนักนายกรัฐมนตรี
(กรมประชาสัมพันธ์) ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ขออนุมัติเงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่อง ประจำปีงบประมาณ 2564 ของการยาสูบแห่งประเทศไทย | กค. | 02/03/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้การยาสูบแห่งประเทศไทยเปิดวงเงินกู้ระยะสั้นในรูป
Credit
Line โดยวิธีกู้เบิกเงินเกินบัญชี (Overdraft : OD) วงเงิน ๑,๕๐๐ ล้านบาท
เพื่อเสริมสภาพคล่องในการดำเนินงานและรองรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น
ค่าแสตมป์ยาสูบและภาระภาษีต่าง ๆ ค่าซื้อใบยาและวัตถุดิบในการผลิตบุหรี่ เป็นต้น
ทั้งนี้ วงเงินกู้ดังกล่าวอยู่ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔
แล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการคลังและการยาสูบแห่งประเทศไทยรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้การยาสูบแห่งประเทศไทยปฏิบัติตามกฎหมาย
และอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน
และควรเบิกใช้เงินกู้เท่าที่จำเป็น
โดยคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้และความยั่งยืนทางการคลัง
รวมทั้งให้กระทรวงการคลังกำกับดูแลการดำเนินงานของการยาสูบแห่งประเทศไทยอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงการคลัง (การยาสูบแห่งประเทศไทย)
รับไปพิจารณากำหนดแนวทางการปรับปรุงการดำเนินกิจการของการยาสูบแห่งประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
ทั้งในด้านระบบบริหารจัดการ สินค้าและผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถลดรายจ่าย
เพิ่มรายได้ รวมทั้งสอดคล้องกับสภาวการณ์ด้านยาสูบในปัจจุบัน
๓. ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรที่เพาะปลูกยาสูบปรับเปลี่ยนไปเพาะปลูกพืชชนิดอื่น
ปรับเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่นที่มีศักยภาพมากกว่าแทน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การดำเนินงานโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค (โครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น) | ศธ. | 02/03/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการ
โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
หรือโอนงบประมาณรายจ่าย หรือโอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ แล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๒ หรือใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณหรือเงินอื่นใดที่มีอยู่หรือนำมาใช้จ่ายได้ตามขั้นตอนต่อไป
เพื่อชำระค่าใช้จ่ายในการวางระบบการศึกษาตามแนวทางโคเซ็นในประเทศไทย ของสถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังคืนให้กับสถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติญี่ปุ่น
(NIT)
ประเทศญี่ปุ่น จำนวน ๒๔.๕๐ ล้านบาท ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒. เห็นชอบในหลักการให้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการฯ ร่วมกับ สพฐ.
และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ
สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการฯ รายจ่ายประจำปีเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา
และรายจ่ายลงทุน
ของสถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
และสถาบันโคเซ็นแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เห็นควรให้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเป็นหน่วยรับงบประมาณ และขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามขั้นตอนต่อไป ยกเว้นกรณีรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่
๓ มีนาคม ๒๕๖๓ อนุมัติให้ สพฐ. ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณไว้แล้ว เห็นควรให้
สพฐ. เป็นหน่วยรับงบประมาณต่อไปจนแล้วเสร็จ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๓.
ในส่วนของการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล
และภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการตามความเห็นของกระทรวงการคลัง โดยกรณีการขอยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หากครูชาวญี่ปุ่นเข้ามาสอนในประเทศโดยมีระยะเวลาไม่เกิน ๒ ปี จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในประเทศไทย
ตามอนุสัญญาภาษีซ้อน
เช่นเดียวกันกับหลักเกณฑ์การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับครูชาวต่างชาติอื่นซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย
กรณีการขอยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล NIT ประเทศญี่ปุ่น ไม่เข้าลักษณะกิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ
องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ และไม่อยู่ในความหมายของ
“บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” ตามมาตรา ๓๙ แห่งประมวลรัษฎากร
จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และกรณีการขอยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สพฐ.
ในฐานะผู้จ่ายเงินค่าบริการมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ NIT ประเทศญี่ปุ่น มีหน้าที่ต้องเสีย ตามมาตรา ๘๓/๖ แห่งประมวลรัษฎากร ๔.
ให้กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
กรณีมีการปรับปรุงเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการฯ
ควรเป็นไปตามเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ที่กำหนดไว้
และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมควรเร่งดำเนินการปรับโครงสร้างส่วนราชการ
พัฒนากลไกการประเมินผล ขีดความสามารถในการจัดการเรียนการสอน
และการบูรณาการการเรียนการสอนเข้ากับการวิจัยกับภาคอุตสาหกรรม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ขออนุมัติขยายระยะเวลาการเช่า และเพิ่มกรอบวงเงินก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ค่าเช่าอาคารเพื่อเป็นที่ทำการชั่วคราว ของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ | นร.14 | 02/03/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติขยายระยะเวลาการเช่าอาคารที่ทำการชั่วคราว
จากเดิม ๓๐ เดือน เป็น ๓๖.๕ เดือน
และเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการค่าเช่าอาคารเพื่อเป็นที่ทำการชั่วคราวของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
จากวงเงินเดิม ๖๗,๔๐๒,๕๐๐ บาท เป็นวงเงิน ๘๒,๐๐๖,๔๐๐ บาท
ตามระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๗ (๓)
โดยวงเงินค่าเช่าอาคารดังกล่าวที่เพิ่มขึ้น ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ โอนงบประมาณรายจ่าย หรือโอนเงินจัดสรร
หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๒ โดยให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเร่งรัดการดำเนินงานก่อสร้างอาคารที่ทำการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติให้แล้วเสร็จตามแผนที่กำหนดไว้ด้วย
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลังที่เห็นควรให้ความสำคัญในการควบคุม
กำกับ ดูแล และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับอย่างเคร่งครัด
ไปดำเนินการด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ขออนุมัติจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการจัดสรรที่ดินแปลงอพยพในโครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ | กษ. | 02/03/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้มีการจ่ายเงินชดเชยพิเศษแทนการจัดสรรที่ดินแปลงอพยพให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่ผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรับรองรายชื่อจากคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการจัดสรรที่ดินแปลงอพยพในโครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์แล้ว
จำนวน ๑๑๘ ราย เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น ๓๔.๓๔ ล้านบาท (รายละ ๑๗๐,๐๐๐-๗๗๐,๐๐๐ บาท
หรือเฉลี่ยรายละ ๒๙๑,๐๑๓.๑๐ บาท) รวมทั้งอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงิน
โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีเป็นประธานกรรมการ
โดยให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาและควบคุมการโอนจ่ายเงินชดเชยพิเศษฯ
ให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยพิเศษฯ
ที่ผ่านการรับรองของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ สำหรับการจ่ายเงินเห็นสมควรให้จ่ายโดยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร
(จ่ายตรง) ตามบัญชีรายชื่อบุคคลผู้มีสิทธิหรือทายาทของบุคคลดังกล่าว
โดยถือความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงินเป็นหลักฐานการจ่ายเงิน
และให้ระบุในหลักฐานการรับเงินด้วยว่า “ข้าพเจ้ายินยอมรับเงินชดเชยพิเศษฯ
ในครั้งนี้ และจะไม่เรียกร้องหรือขอรับความช่วยเหลือใด ๆ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จากทางราชการอีก” ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หากกรมชลประทานมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการจ่ายเงินชดเชยพิเศษฯ
เห็นสมควรให้ใช้จ่ายจากการปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ หรือโอนเงินจัดสรร
หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
แล้วแต่กรณี โดยการจ่ายเงินจะต้องเป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส ไม่ซ้ำซ้อน
โดยสอดคล้องกับข้อเท็จจริงและประโยชน์ที่ภาครัฐและประชาชนจะได้รับอย่างรอบคอบ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมที่เห็นควรให้ความสำคัญในการควบคุม
กำกับ ดูแล และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด และควรเร่งรัดกระบวนการพิจารณาจ่ายค่าชดเชยให้ราษฎรให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ทั้งกลุ่มราษฎรที่อยู่ระหว่างการรอพิจารณาตรวจสอบสิทธิจากคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ
และกลุ่มราษฎรที่คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ ยังไม่พิจารณาสิทธิ
รวมทั้งควรติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลโครงการชลประทานที่ได้ดำเนินการแล้วแต่ยังจ่ายค่าชดเชยให้แก่ราษฎรไม่แล้วเสร็จ
ว่ามีปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขอย่างไร นอกจากนี้
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่จะดำเนินการต่อไป หน่วยงานควรกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์
และแนวทางการดำเนินงานของกระบวนการจัดหาที่ดินให้ชัดเจนและครอบคลุม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
๓.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาเร่งรัดการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ (เรื่อง
ขออนุมัติงบประมาณจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการจัดสรรที่ดินแปลงอพยพโครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์)
ที่กำหนดให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดกระบวนการพิจารณาการจ่ายค่าชดเชยสำหรับราษฎรส่วนที่เหลือจากที่เสนอในครั้งนี้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
รวมทั้งให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีที่มีผู้ร้องเรียนว่าการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายมีการทุจริตและมีการเลือกปฏิบัติจนเป็นเหตุให้ราษฎรไม่ได้รับเงินค่าชดเชยที่ดินหรือรับเงินค่าชดเชยพิเศษไม่ตรงกับความเป็นจริง
แล้วให้รายงานผลการตรวจสอบต่อคณะรัฐมนตรีโดยด่วน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีกรณีการเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศส ณ จังหวัดขอนแก่น และเสนอขอแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศส ณ จังหวัดขอนแก่น (นายมาร์ก นูว์โซม) | กต. | 02/03/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรั คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑. ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เรื่อง สาธารณรัฐฝรั่งเศสขอเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศส ณ จังหวัดขอนแก่น
เฉพาะในส่วนเขตกงสุล โดยปรับเปลี่ยนเขตกงสุลจากเดิมที่มีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดขอนแก่น
เป็น มีเขตกงสุลครอบคลุม ๒๐ จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น อำนาจเจริญ บึงกาฬ
บุรีรัมย์ ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ เลย มหาสารคาม มุกดาหาร นครพนม นครราชสีมา
หนองบัวลำภู หนองคาย ร้อยเอ็ด สกลนคร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี อุดรธานี
ยโสธร และแต่งตั้งนายมาร์ก นูว์โซม (Mr. Marc Nussaume) ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศส ณ จังหวัดขอนแก่น
สืบแทน นายฌ็อง-มีแชล, อีฟว์, ดีดีเย
แปรัว (Mr. Jean-Michel, Yves, Didier Perroy)
ซึ่งเกษียณอายุเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ๒. ให้กระทรวงการต่างประเทศรับไปพิจารณากำหนดกรอบ/หลักเกณฑ์ในภาพรวมเกี่ยวกับการขอเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์
การกำหนดเขตกงสุล และการแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ของรัฐบาลต่างประเทศประจำประเทศไทยให้ชัดเจน
เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของสภาพเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งการดำเนินงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยในปัจจุบัน
เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป
|