ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 9 จากข้อมูลทั้งหมด 9 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้พัดลม หม้อหุงข้าว และหลอดไฟ เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองและต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2555 พ.ศ. .... | พณ. | 15/02/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์
ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้พัดลม หม้อหุงข้าว และหลอดไฟ
เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองและต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๕๕ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง
กำหนดให้พัดลม หม้อหุงข้าว และหลอดไฟ
เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองและต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๕๕ เนื่องจากมาตรการนำเข้าพัดลม หม้อหุงข้าว และหลอดไฟ
ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร มีการกำหนดไว้เป็นการเฉพาะตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. ๒๕๑๑ แล้ว ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 3 กลุ่มสาขาอาชีพ 13 สาขาอาชีพ | รง. | 15/02/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ
๓ กลุ่มสาขาอาชีพ ๑๓ สาขาอาชีพ โดยคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ ๒๑ ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ ได้พิจารณา (ร่าง) อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ
๑๔ สาขาอาชีพ และมีมติเห็นชอบต่ออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ๓ กลุ่มสาขาอาชีพ
(กลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหการ กลุ่มสาขาอาชีพช่างไฟฟ้า
อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และกลุ่มสาขาอาชีพช่างเครื่องกล) ๑๓ สาขาอาชีพ (เช่น
ช่างกลึง ช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร พนักงานควบคุมเครื่องจักรรถยกไฟฟ้า เป็นต้น)
ตามที่คณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือเสนอ
โดยสาขาอาชีพพนักงานขับรถบรรทุกให้ชะลอการออกประกาศฯ
และให้มีการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ
สาขาอาชีพพนักงานขับรถบรรทุกให้ครอบคลุมรถบรรทุกทุกประเภทก่อน
แล้วจึงนำมาพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างมาตรฐานฝีมือ
รวมทั้งเห็นชอบวันที่ประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือมีผลใช้บังคับ คือ
เก้าสิบวันหลังจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ด้านแผนงานนโยบายและเทคโนโลยีการจราจร | คค. | 15/02/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมและกระทรวงที่ดิน
โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (Ministry of
Land, Infrastructure, Transport and Tourism : MLIT) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยสำหรับการลงนามร่างบันทึกความร่วมมือฯ โดยร่างบันทึกความร่วมมือฯ
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกรอบความร่วมมือด้านการจราจรเพื่อการพัฒนาขีดความสามารถด้านการวางแผนงานนโยบายและเทคโนโลยีการจราจรในราชอาณาจักรไทย
โดยการแลกเปลี่ยนนโยบาย เทคโนโลยี ข้อมูล ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างกัน
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ๒.
ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้กระทรวงคมนาคมประสานและบูรณาการรวมกับหน่วยงานรัฐ
เช่น กระทรวงการคลัง (สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ) กรุงเทพมหานคร
กรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นต้น ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และบูรณาการร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อให้ความร่วมมือดังกล่าวเกิดประโยชน์ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางของประเทศไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ | ศธ. | 15/02/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ ระยะเวลา ๑๐ ปี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะนักเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี [ระดับประถมศึกษา (ชั้น ป. ๔-๖) และระดับมัธยมศึกษา (ชั้น ม. ๑-๖)] ผ่านกระบวนการของหลักสูตรและเครือข่ายการพัฒนาศักยภาพมหาวิทยาลัย โรงเรียน
ครูผู้สอน และนักเรียน ภายในกรอบวงเงิน ๙,๖๑๙.๘๘ ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน ๑๐ ปี
(ปีการศึกษา ๒๕๖๔-๒๕๗๓) ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ โอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ไปดำเนินการ ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป ให้ สพฐ. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ รวมทั้งให้กระทรวงศึกษาธิการ และ สพฐ. รับความเห็น
ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ในประเด็นการกำหนดเป้าหมายของโครงการฯ
และการกำหนดตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งการติดตามและประเมินผลของโครงการฯ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงศึกษาธิการรายงานผลการดำเนินโครงการฯ ให้นายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ
เป็นรายไตรมาส
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | สธ. | 15/02/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
พ.ศ. ๒๕๔๒ เกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามทั่วไป
และคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเฉพาะของกรรมการผู้ทรงคณวุฒิ
กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้แก้ไขเพิ่มเติมร่างมาตรา ๔ (ตัดความในวรรคสองของร่างมาตรา ๕/๑ ออก)
และให้นำไปรวมพิจารณากับร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (๔ เมษายน ๒๕๖๐)
อนุมัติหลักการและอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในคราวเดียวกัน
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรพิจารณาทบทวนการกำหนดบทบัญญัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่หากพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้กรรมการเท่าที่เหลืออยู่สามารถปฏิบัติงานต่อไปได้
ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานที่รอบด้าน
รวมถึงทบทวนการเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าวในการวางระเบียบเกี่ยวกับการคัดค้านการจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
ซี่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการขั้นตอนการขอยื่นจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่สามารถดำเนินการภายใต้กฎกระทรวงในการขอจดทะเบียนสิทธิได้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง
กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์/เสนอความคิดเห็นจากประชาชน ไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 | นร.01 | 15/02/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
รับทราบสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์/เสนอความคิดเห็นจากประชาชน ไตรมาสที่ ๓
ของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ และในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓
พร้อมผลการวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์/เสนอความคิดเห็น พบว่า
ประชาชนได้ยื่นเรื่องร้องทุกข์/เสนอความคิดเห็นผ่านช่องสายด่วนของรัฐบาล ๑๑๑๑
มากที่สุด โดยยื่นเรื่องประเด็นค่าครองชีพมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการขอความช่วยเหลือของผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (โควิด-19) และขอให้พิจารณาทบทวนสิทธิและเร่งรัดการจ่ายเงินตามมาตรการดูแลและเยียวยาต่าง
ๆ เนื่องจากเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจะประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง
ๆ โดยเร็ว ๒.
ขอความร่วมมือให้ทุกส่วนราชการพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
๒.๑
แจ้งความคืบหน้าการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และเร่งรัดการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้มีผลเป็นที่ยุติด้วยความเป็นธรรม
ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
๒.๒
รวบรวมสถิติระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์ในแต่ละประเภทเรื่องที่ประชาชนร้องทุกข์ไปยังหน่วยงาน
เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการกำหนดเป็นข้อตกลงระยะเวลาแล้วเสร็จของงานการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์ต่อไป
๒.๓
เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ของหน่วยงานเข้ากับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
และให้หน่วยงานที่ไม่มีระบบบฐานข้อมูลเรื่องร้องทุกข์ของตนเองเข้าร่วมใช้งานระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
เพื่อเป็นการรวบรวมเรื่องร้องทุกข์ให้เป็นภาพรวมของประเทศ ๓.
มอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีขยายผลการดำเนินโครงการศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล
โดยพัฒนาให้มีระบบการติดตามผลและสถานะเรื่องร้องทุกข์ (Tracking
System) เพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามเรื่องร้องทุกข์ด้วยตนเองได้ทุกที่ทุกเวลา
รวมทั้งจัดให้มีระบบรายงานผล (Dashboard) สำหรับผู้บริหารใช้ในการกำกับติดตามการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | (ร่าง) นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2580 | ทส. | 15/02/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบ (ร่าง) นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๖๐-๒๕๘๐ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบนโยบายและทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศอย่างบูรณาการในระยะ
๒๐ ปีข้างหน้า
และให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการระยะกลาง
(๕ ปี) สามารถนำไปขับเคลื่อนให้การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศเป็นไปอย่างเหมาะสม
เป็นเชิงรุก และมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งเพิ่มขีดสมรรถนะในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเสริมสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สามารถสร้างความสมดุลและยั่งยืนในการพัฒนาประเทศและรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกและภูมิภาค
ประกอบด้วย ๔ นโยบายหลัก ได้แก่ (๑) การจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างมั่นคงเพื่อความสมดุล
เป็นธรรม และยั่งยืน (๒) การสร้างการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อความมั่งคั่งและยั่งยืน
(๓) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ (๔)
การสร้างความเป็นหุ้นส่วนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เช่น ควรมีมาตรการควบคุมและจัดการปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน
สังคม และสุขอนามัย
ควรมุ่งเน้นการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายเชิงปริมาณที่สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม
ควรกำหนดระยะเวลาดำเนินการในแต่ละปีงบประมาณให้มีความชัดเจน และควรพิจารณาปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๕๙
เพื่อนำมาเป็นข้อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนในร่างฉบับนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เรื่อง ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน กรณีการลงทุนของภาคธุรกิจไทยในต่างประเทศ | สม. | 15/02/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
เรื่อง ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน กรณีการลงทุนของภาคธุรกิจไทยในต่างประเทศ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป สรุปได้
ดังนี้ ๑.
ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศให้ดำเนินธุรกิจโดยเคารพสิทธิมนุษยชนตามกรอบของหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
โดยเฉพาะการพิจารณาจัดตั้งกลไกในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เป็นรูปธรรม
ซึ่งได้กำหนดเป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๕) ด้านการลงทุนระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติ
โดยกำหนดให้กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงยุติธรรมดำเนินการศึกษาและหารือร่วมกับภาคีส่วนต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาแนวทางพัฒนากฎหมาย นโยบาย
หรือกลไกที่เป็นรูปธรรมในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนนอกอาณาเขตเพื่อให้เกิดการป้องกัน
คุ้มครอง เยียวยา และเกิดความรับผิดชอบข้ามพรมแดนที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ทั้งนี้ คณะกรรมการขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
โดยมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาในกรณีที่มีข้อร้องเรียน
หรือร้องทุกข์จากการดำเนินธุรกิจของสถานประกอบการ
หรือนักลงทุนซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบหรือก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งกรณีการลงทุนในประเทศ
และการลงทุนของสถานประกอบการ หรือนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ เพื่อสร้างหลักประกันให้การดำเนินธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนได้รับการเคารพและยึดถือปฏิบัติอย่างจริงจัง ๒. ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของธนาคารในการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจที่สอดคล้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อม
สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental,
Social and Governance : ESG) ตามแนวทางการดำเนินกิจการธนาคารเพื่อความยั่งยืน
(Sustainable Banking Guidelines) โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้ประเด็นความยั่งยืนด้าน
ESG เป็นกลยุทธ์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๖๓-๒๕๖๕ รวมทั้งได้ผลักดันให้สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ
พร้อมทั้งธนาคารสมาชิก ลงนามร่วมกันในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกำหนดแนวทางการดำเนินกิจการธนาคารอย่างยั่งยืนในด้านการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ
(Responsible Lending) ซึ่งสนับสนุนให้ธนาคารต่าง ๆ
บูรณาการปัจจัยด้าน ESG ซี่งรวมถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเข้าสู่การดำเนินกิจการของธนาคารในทุกขั้นตอน
ตั้งแต่การกำหนดนโยบาย การพัฒนากระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
การพัฒนากระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการให้สินเชื่อของธนาคาร
ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสต่อสาธารณชน นอกจากนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้จัดการอบรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้และพัฒนาศักยภาพบุคลากรในเรื่องธนาคารเพื่อความยั่งยืนให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและพนักงานของสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | การกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2562/2563 | อก. | 15/02/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย
ฤดูการผลิตปี ๒๕๖๒/๒๕๖๓ เป็นรายเขต ๙ เขต
โดยมีอัตราเฉลี่ยทั่วประเทศในอัตราตันอ้อยละ ๘๓๓.๒๒ บาท ณ ระดับความหวานที่ ๑๐ ซี.ซี.เอส.
และกำหนดอัตราขึ้น/ลงของราคาอ้อยเฉลี่ยทั่วประเทศเท่ากับ ๔๙.๙๙ บาท ต่อ ๑ หน่วย
ซี.ซี.เอส และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้ายเฉลี่ยทั่วประเทศ
ฤดูการผลิตปี ๒๕๖๒/๒๕๖๓ เท่ากับ ๓๕๗.๐๙ บาทต่อตันอ้อย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
และให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นควรให้กระทรวงอุตสาหกรรม
โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
ดำเนินการให้โรงงานน้ำตาลนำส่งเงินส่วนต่างระหว่างรายได้สุทธิและราคาอ้อยขั้นสุดท้าย
ฤดูการผลิตปี ๒๕๖๒/๒๕๖๓ ให้กับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ตามมาตรา ๕๗
แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ เพื่อรักษาเสถียรภาพของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย
และข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศเกี่ยวกับผลกระทบต่อพันธกรณีภายใต้องค์การการค้าโลก
(WTO)
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|