ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 2 จากข้อมูลทั้งหมด 2 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ |
---|---|---|---|
1 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 – 2565) | พม. | 30/03/2564 |
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบ (ร่าง)
แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม ระยะที่ ๑ (พ.ศ.
๒๕๖๔-๒๕๖๕) และมอบหมายส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติต่อไป โดย
(ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ
มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรภาคประชาสังคมมีศักยภาพและมีบทบาทเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาประเทศ
ผลักดันกฎหมาย นโยบาย
และกลไกที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคมให้เกิดความเข้มแข็ง
ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการความรู้และพัฒนาฐานข้อมูลองค์กรภาคประชาสังคม
และสร้างกรอบทิศทางการส่งเสริมองค์กรภาคประชาสังคม ให้ภาคีภาครัฐ ภาคธุรกิจ
และภาคประชาสังคมใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป โดยมีแผนงาน ๔ แผนงาน ได้แก่
(๑)
พัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถขององค์กรภาคประชาสังคมให้มีความเข้มแข็งและมีธรรมาภิบาล
(๒) พัฒนากฎหมาย นโยบาย กลไก มาตรการ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมองค์กรภาคประชาสังคม
(๓) พัฒนาองค์ความรู้ การศึกษาวิจัยเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งองค์กรภาคประชาสังคม
และ (๔) ส่งเสริม สนับสนุน
องค์กรภาคประชาสังคมให้เป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาประเทศและเชื่อมโยงการทำงานในระดับภูมิภาคและประชาคมโลก
กรอบวงเงินในการดำเนินการทั้งสิ้น ๘๑ ล้านบาท และมอบหมายส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติต่อไป
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
สำหรับภาระค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ เห็นควรให้พิจารณาแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินการเป็นลำดับแรก
ส่วนกรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่าย
เห็นควรให้พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรแล้วแต่กรณี
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ในโอกาสแรก ส่วนค่าใช้จ่ายในปีต่อไป
เห็นควรให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอน
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒. ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รวมทั้งความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และข้อเสนอและข้อสังเกตของกระทรวงสาธารณสุข เช่น แผนงานด้านธรรมาภิบาลควรมีแนวทางการดำเนินการที่เสริมสร้างธรรมาภิบาล (Governance) และความโปร่งใส (Transparency) ทั้งในการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินให้ชัดเจนด้วย เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||
2 | ขออนุมัติ (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565 | สพร. | 30/03/2564 |
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ
(ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๕
เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางการบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบของเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาประเทศต่อไป
ตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอ และให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
(องค์การมหาชน) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร.
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และธนาคารแห่งประเทศไทย
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เช่น (๑) ควรพิจารณาผลักดันนโยบายของรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐที่ชัดเจนเพื่อให้การพัฒนาเป็นมาตรฐานเดียวกัน
(๒)
ค่าใช้จ่ายและภาระงบประมาณที่จะเกิดขึ้นเพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลดังกล่าว
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายบูรณาการการดำเนินงานและนำ (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ
ไปใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ตลอดจนสนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
เพื่อร่วมแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ และ (๓)
ควรให้ความสำคัญและเร่งพัฒนาระบบการให้บริการรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
และทบทวนกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อการให้บริการผ่านระบบ e-Service
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |