ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 9 จากทั้งหมด 6004 หน้า แสดงรายการที่ 161 - 180 จากข้อมูลทั้งหมด 120074 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
161 | สรุปผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง | นร.01 | 15/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ
จังหวัดลำปาง รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่
อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง กรณี ๑๐ ราย ที่ยังไม่ได้มีการออกโฉนดให้แก่ผู้ครอบครองต่อเนื่องจากผู้ที่มีสิทธิ
และกรณีการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการติดตามฯ ครั้งที่
๑/๒๕๖๖ ได้แก่ (๑) กรณีผู้ครอบครองที่ดินรองรับการอพยพ ครั้งที่ ๑-๔
ยังมิได้ดำเนินการออกเอกสารสิทธิ (โฉนดที่ดิน) จำนวน ๑๐ ราย (แปลง) (๒)
กรณีการครอบครองและใช้ประโยชน์ที่ดินแปลงว่าง (๓) กรณีขอจัดตั้งสำนักสงฆ์ใหม่มงคล
(๔) กรณีขอจัดตั้งสำนักสงฆ์เวียงสวรรค์ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และ (๕)
กรณีอื่น ๆ นอกเหนือจากกรณีข้างต้น โดยให้จังหวัดเป็นผู้ดูแล และพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรณีราษฎรที่ไม่แสดงตนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำนวน ๓ ราย คณะกรรมการติดตามฯ
ได้วางแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยการขอให้อำเภอแม่เมาะ พิจารณาสอบสวนผู้ทำประโยชน์ในที่ดินให้ได้ความชัดเจนและมีหนังสือแจ้งราษฎรทั้ง
๓ ราย พร้อมทั้งกำหนดเวลา ๓๐ วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือเพื่อให้ยืนยันความประสงค์ภายหลังครบกำหนดระยะเวลาให้ราษฎรทั้ง
๓ ราย มายืนยันความประสงค์ที่จะขอเอกสารสิทธิต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
162 | งบการเงินแสดงฐานะการเงิน และรายงานผลการปฏิบัติงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547มาตรา 26 และ มาตรา 28 วรรคท้าย | สทบ. | 15/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบงบการเงินแสดงฐานะการเงิน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ประกอบด้วย งบการเงินแสดงฐานะทางการเงิน
งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไข
โดยเห็นว่ารายงานการเงินดังกล่าวถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
และรายงานผลการปฏิบัติงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๒๖
และ มาตรา ๒๘ วรรคท้าย ตามที่สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
163 | ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - รัสเซีย ครั้งที่ 8 และกิจกรรมคู่ขนาน | กต. | 15/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-รัสเซีย
ครั้งที่ ๘ และกิจกรรมคู่ขนาน
และพิจารณามอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน
ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาภูมิภาคตะวันออกไกลและอาร์กติก
สหพันธรัฐรัสเซีย (นายอะเล็กเซย์ เซคุนคอฟ) เป็นประธานร่วมการประชุมฯ ณ
กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผลการประชุมฯ เช่น การเพิ่มมูลค่าการค้า
ให้เท่ากับระดับก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
และการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการลงทุนระหว่างกันมากขึ้น
การเพิ่มการส่งออกสินค้าเกษตรไทยไปยังรัสเซีย และสินค้าปศุสัตว์ของรัสเซียมาไทย
โดยคำนึงถึงมาตรฐานและความปลอดภัย และความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และข้อสังเกตของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เช่น ให้แก้ไขถ้อยคำในตารางติดตามผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ
ครั้งที่ ๘ ด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ในส่วนของความร่วมมือด้านศุลกากร
เพื่อให้มีความสอดคล้องตามผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ครั้งที่ ๘ จากข้อความเดิม
“การร่วมรับรองโครงการ Authorized Economic Operator (AFO) ของกรมศุลกากรและศุลกากรรัสเซีย”
เป็น “การริเริ่มจัดทำความตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition
Arrangement : MRA) สำหรับโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ (Authorized
Economic Operator : AEO) ระหว่างศุลกากรไทยและรัสเซีย” ให้ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ให้กระทรวงการต่างประเทศวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานตามผลการประชุมดังกล่าว
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับทราบถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับต่อไป
และปรับแก้ถ้อยคำในเอกสารภาคผนวก ๔ ในประเด็นความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
จาก
“ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงมหาดไทยแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย”
เป็น “บันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกระทรวงมหาดไทย
แห่งสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติและความร่วมมือด้านกิจการตำรวจ
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
164 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2558) | มท. | 15/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
(สีเขียว) บริเวณหมายเลข ๒.๒ บางส่วน ให้เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
(สีม่วง) บริเวณหมายเลข ๑/๑
และเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง)
รวมทั้งปรับปรุงแผนผังและรายการประกอบแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
กับตลอดจนนโยบายภาครัฐที่จะรองรับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม และให้สอดคล้องกับนโยบายการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง
พ.ศ. ๒๕๖๒ แล้ว ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
และเป็นไปตามกฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดประเภทหรือขนาดของกิจการ และหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ผู้ขออนุญาตจะต้องดำเนินการก่อนการพิจารณาออกใบอนุญาต พ.ศ. ๒๕๖๑
และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง
หลักเกณฑ์ในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. ๒๕๖๑ และเมื่อประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับ
ดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
เพื่อลดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
165 | ขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ | คค. | 15/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
ได้รับการผ่อนผันการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๒๘ (เรื่อง
ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการกำหนดชั้นของป่าต้นน้ำลำธารและการทำเหมืองแร่ในพื้นที่ป่าปิด)
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๓๒ (เรื่อง
ขอผ่อนผันใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ เพื่อก่อสร้างทางเพื่อความมั่นคง)
และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ [เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง
การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคตะวันตก ภาคกลาง และลุ่มน้ำป่าสัก
และการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนอื่น ๆ
(ลุ่มน้ำชายแดน)] เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ
สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ๒. ให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
ดำเนินการเกี่ยวกับมาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม
๒๕๖๐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกป่าทดแทนจำนวนพื้นที่ ๓ เท่า
ของพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตและการติดตามตรวจสอบและดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกเป็นระยะเวลา
๑๐ ปี ต่อเนื่อง อย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(หนังสือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด่วนที่สุด ที่ ทส ๑๖๐๒.๔๒/๑๓๕๙
ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๖) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยปฏิบัติตามมาตรการป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งมาตรการติดตาม ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
ให้ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี ควรให้ความสำคัญกับการก่อสร้างทางรถไฟที่ไม่กีดขวางทางน้ำและระบบการระบายน้ำ
รวมทั้งปฏิบัติตามความเห็นและมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ที่ให้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างทางรถไฟ
สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ อย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
166 | รัฐบาลสาธารณรัฐยูกันดาเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐยูกันดาประจำประเทศไทย (นางเบ็ตตี โอ. บีกอมเบ) | กต. | 15/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นางเบ็ตตี โอ. บีกอมเบ (Mrs. Betty O. Bigombe)
ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐยูกันดาประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย สืบแทน นางดอโรที ซามาลี ฮยูฮา (Mrs.
Dorothy Samali Hyuha) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
167 | รัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย (นายแอ็นสท์ ว็อล์ฟกัง ไรเชิล) | กต. | 15/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นายแอ็นสท์ ว็อล์ฟกัง ไรเชิล (Mr. Ernst Wolfgang Reichel)
ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ประจำประเทศไทยคนใหม่ โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นายเก-ออร์ค ชมิท (Mr.
Georg Schmidt) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
168 | รัฐบาลสาธารณรัฐนิการากัวเสนอขอเปลี่ยนแปลงเขตอาณาให้สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐนิการากัวประจำญี่ปุ่นมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย แทนสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐนิการากัวประจำสาธารณรัฐเกาหลี | กต. | 15/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขอเปลี่ยนแปลงเขตอาณาให้สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐนิการากัวประจำญี่ปุ่นมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
แทนสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐนิการากัวประจำสาธารณรัฐเกาหลี
โดยหากคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่เสนอแล้ว
กระทรวงการต่างประเทศจะแจ้งรัฐบาลสาธารณรัฐนิการากัวว่า
ฝ่ายไทยไม่ขัดข้องต่อการเปลี่ยนแปลงเขตอาณา
เพื่อดำเนินกระบวนการเกี่ยวกับการขอความเห็นชอบ (agreement)
การเสนอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐนิการากัวประจำประเทศไทย
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น ต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
169 | สรุปผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับเงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีเงินอุดหนุนที่รัฐอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | มท. | 08/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบสรุปผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับเงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กรณีเงินอุดหนุนที่รัฐอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีผลการดำเนินการได้แก่
(๑) ข้อเสนอด้านการจัดทำคำขอและการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุน (๒) ข้อเสนอด้านการนำเงินอุดหนุนไปจัดทำข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติ
และการบริหารจัดการงบประมาณเงินอุดหนุน และ (๓) ข้อเสนอด้านการติดตาม
ประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณเงินอุดหนุน ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และแจ้งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบต่อไป ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
170 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 | มท. | 08/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน
และงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบ
และรับรองงบการเงินแล้ว ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
171 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของประเทศไทยของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา | สว. | 08/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง
ระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของประเทศไทยของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม
และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับรายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าว
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดสู่การปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงให้เหมาะสม
มีประสิทธิภาพ และครอบคลุมผู้สูงอายุอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้นต่อไป สรุปได้ ดังนี้
(๑) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เช่น การให้ความสำคัญในการกำกับดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
การส่งเสริมสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนโดยจตุพลังในตำบล
การพัฒนาระบบการจัดการบริการผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เป็นต้น และ (๒)
ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ ด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ
และด้านการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
172 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหากรณีนักบินไทยว่างงานและการส่งเสริมเพื่อสร้างโอกาสให้นักบินไทยสามารถไปทำงานต่างประเทศได้ ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา | สว. | 08/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหากรณีนักบินไทยว่างงานและการส่งเสริมเพื่อสร้างโอกาสให้นักบินไทยสามารถไปทำงานต่างประเทศได้
ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา ซึ่งสรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะเร่งด่วน ในส่วนของการสำรวจข้อมูลความต้องการของธุรกิจการบิน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลดังกล่าวแล้ว
และได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพในอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐ ในส่วนของส่งเสริมพัฒนาความรู้ ทักษะด้านอื่น ๆ
ให้แก่นักบินทุกระดับนั้น กระทรวงแรงานได้จัดทำหลักสูตรที่เชื่อมโยงสู่การจ้างงาน
เช่น หลักสูตรการซ่อมและบำรุงรักษาอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (โดรน) และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในส่วนของการจัดทำโครงการปรับมาตรฐานการบินให้สูงขึ้นตามแนวทางขององค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป
ตลอดจนมาตรฐานความปลอดภัยอื่นนั้น
สำนักงานการบิพลเรือนแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการจัดทำนโยบายการพัฒนาบุคลากรและการพัฒนาระบบกฎหมายลำดับรองด้านความปลอดภัยการบินพลเรือนที่สอดคล้องกับมาตรฐาน
EASA โดยคาดว่าจะใช้บังคับได้ในปี
พ.ศ. ๒๕๖๕
ในส่วนของการประสานงานความร่วมมือกับต่างประเทศทั้งในระดับพหุภาคีและทวิภาคี
สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศหลายระดับ เช่น
เข้าร่วมโครงการรวมตัวทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคอาเซียนจากสหภาพยุโรปเพิ่มเติม
เป็นต้น ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
173 | ร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง เขตเลือกตั้งที่ 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. .... | ลต. | 08/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง
เขตเลือกตั้งที่ ๓ แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
๒.
ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ่วันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
174 | การเปลี่ยนโฆษกสำนักงบประมาณ | นร.07 | 08/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการเปลี่ยนโฆษกสำนักงบประมาณ
ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้ ๑. นางสาวมัทนา เจริญศรี เป็นโฆษกสำนักงบประมาณ ๒. นางรัชนี เจริญนาค เป็นผู้ช่วยโฆษกสำนักงบประมาณ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
175 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2560) | มท. | 08/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(สีฟ้า) บริเวณหมายเลข ๖.๕ และบริเวณหมายเลข ๖.๗ บางส่วน (เฉพาะพื้นที่บนแผ่นดิน)
ให้เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ได้แก่ บริเวณหมายเลข ๓.๒/๑
หมายเลข ๓.๘/๑ หมายเลข ๓.๑๐/๑ หมายเลข ๓.๑๑/๑ และหมายเลข ๓.๑๓/๑
และแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมในข้อ ๘
วรรคสอง (๙) โดยเพิ่มเงื่อนไขในการประกอบอุตสาหกรรมให้มีระยะห่างจากแนวชายฝั่งตามสภาพธรรมชาติของทะเลไม่น้อยกว่า
๕๐ เมตร และเพิ่มประเภท ชนิด
และจำพวกของโรงงานที่ห้ามประกอบกิจการเฉพาะบริเวณที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมอีก จำนวน ๒๒
ลำดับ ๔๙ ประเภท ในบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสุราษฎร์ธานี
พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรให้กรมโยธาธิการและผังเมืองกำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินเป็นที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(สีเขียวมีกรอบและเส้นทแยงสีน้ำตาล) ในแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน
และมีข้อกำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการหรือสาธารณประโยชน์ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ
และเงื่อนไขในการขอและการพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ให้เพิ่มข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทนั้นว่า ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสงวนและคุ้มครองดูแลรักษาหรือบำรุงป่าไม้
สัตว์ป่า ต้นน้ำ ลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ
การพิจารณาการอนุญาตกิจการต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
และเป็นไปตามกฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ ๒๕๖๐ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
176 | ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษา หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. .... | สธ. | 08/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างกฎกระทรวงการอนุญาตโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษา
หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาต
การออกใบอนุญาตเกี่ยวกับโฆษณาการบำบัดรักษา หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
และเงื่อนไขการโฆษณาตามใบอนุญาตเกี่ยวกับการโฆษณาการบำบัดรักษาหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
รวมทั้งกำหนดค่าธรรมเนียมในการตรวจข้อความ ภาพ และเสียงการโฆษณา ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
177 | แนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวภายหลังวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 | รง. | 08/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวภายหลังวันที่ ๓๑ กรกฎาคม
๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
โดยสำหรับการกำหนดวันสิ้นสุดการอนุญาตให้คนต่างด้าวได้รับการผ่อนผันให้อยู่และทำงานในราชอาณาจักร
ให้เป็นไปตามข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรี ซึ่งในระหว่างที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้เข้ารับหน้าที่ด้วยการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์แล้ว
แต่ยังมิได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเพื่อเข้าบริหารราชการแผ่นดิน
ให้คนต่างด้าวได้รับการผ่อนผันให้อยู่และทำงานในราชอาณาจักรเป็นวันที่ ๓๐ กันยายน
๒๕๖๖ ๒. เห็นชอบ
๒.๑ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ (ฉบับที่ ....) พ.ศ. ....
๒.๒ ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ (ฉบับที่ ....) พ.ศ. .... รวม ๒ ฉบับ
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้คนต่างด้าวที่ได้ดำเนินการตามแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖
สามารถอยู่และทำงานในราชอาณาจักรต่อไปได้ถึงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว โดยให้แก้ไขวันสิ้นสุดการอนุญาตให้คนต่างด้าวได้รับการผ่อนผันให้อยู่และทำงานในราชอาณาจักรเป็นวันที่
๓๐ กันยายน ๒๕๖๖ ตามข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรี และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรเร่งรัดเตรียมความพร้อมการดำเนินการตามแนวปฏิบัติการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างรัฐ
(MOU) ในด้านต่าง ๆ อาทิ
การตรวจสุขภาพ การทำประกันสุขภาพหรือขึ้นทะเบียนประกันสังคม
การจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล และการจัดทำหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
ให้แก่คนต่างด้าวกลุ่มเป้าหมาย และควรพิจารณาวิเคราะห์คนต่างด้าวในภาคการผลิตและบริการรายสาขา
และจัดทำแผนบริหารจัดการคนต่างด้าว เพื่อให้การดำเนินการในเรื่องการอยู่และการทำงานของคนต่างด้าวเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
178 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของวุฒิสภา | สว. | 08/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของวุฒิสภา ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยได้สรุปผลการพิจารณาได้ว่า การกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐสามารถช่วยหาเสียงเลือกตั้งให้ผู้สมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นได้
โดยไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นคุณหรือโทษแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้น
จำเป็นต้องมีหลักประกันที่ชัดเจนว่าบุคคลดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหากเข้าไปมีส่วนร่วมและรณรงค์ในการช่วยเหลือผู้สมัครหาเสียงเลือกตั้งต้องมีความโปร่งใสในบทบาทหน้าที่ของตนเอง
และการใช้ทรัพยากรในการหาเสียงเลือกกตั้งกล่าวคือ
ต้องไม่ใช้อำนาจในความเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือการใช้ทรัพยากรของรัฐอันอาจเป็นการเอื้อประโยชน์
การแทรกแซงความเป็นอิสระของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และยุติธรรม (genuine election)
และมีความเห็นสอดคล้องกับหลักการที่ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการช่วยผู้สมัครรับเลือกตั้งหาเสียงในทางที่เป็นคุณหรือเป็นโทษในส่วนของมาตรา
๑๑๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติว่า
“สมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ฝักใฝ่หรือยอมตนอยู่ใต้อาณัติของพรรคการเมืองใด ๆ”
การให้สมาชิกวุฒิสภาสามารถช่วยเหลือผู้สมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่น
ซึ่งอาจสังกัดพรรคการเมืองหรือมีพรรคการเมืองให้การสนับสนุนอาจสุ่มเสี่ยงที่จะเข้าข่ายฝักใฝ่พรรคการเมือง
ดังนั้น จึงไม่ควรให้สมาชิกวุฒิสภามีบทบาทในการช่วยเหลือผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาท้องถิ่น
ผู้บริหารท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ซึ่งอาจช่วยผู้สมัครในการหาเสียงเลือกตั้งได้
ตามมาตรา ๓๔
ต้องพึงระมัดระวังในการช่วยหาเสียงเลือกตั้งให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
179 | สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 | กต. | 08/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมสุดยอดอาเซียน
ครั้งที่ ๔๒ ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ เมืองลาบวน บาโจ
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมฯ
ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(นายดอน ปรมัตถ์วินัย) เข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำอาเซียน จำนวน ๖ รายการได้แก่
การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๔๒ การหารือผู้แทนภาคส่วนต่าง ๆ ของอาเซียน เช่น สมัชชารัฐสภาอาเซียน
เยาวชนอาเซียน สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน
และคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนหลังปี ค.ศ. ๒๐๒๕
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย)
ได้ร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม จำนวน ๑๐ ฉบับ โดยผลการประชุมมีสาระสำคัญ
ได้แก่ ๑) การสร้างประชาคมอาเซียน ๒) ความสัมพันธ์กับภาคีภายนอก ๓)
มุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก ๔) สถานการณ์ในเมียนมา ๕)
การหารือกับผู้แทนภาคส่วนต่าง ๆ ของอาเซียน และ ๖) การหารือทวิภาคี ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของกระทรวงการคลังและความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่เห็นควรประสานงานร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อพิจารณาและหารือในรายละเอียดร่วมกับคณะทำงานภายใต้กรอบการประชุม
AFMGM และให้ดำเนินการตามกฎหมาย
ระเบียบ
และข้อบังคับที่มีอยู่ในปัจจุบันและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
180 | ร่างกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | รง. | 08/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ.
๒๕๖๓ โดยปรับอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย จากเดิม ๕๐,๐๐๐ บาท เป็น ๖๕,๐๐๐ บาท
และแก้ไขลักษณะบาดเจ็บรุนแรงของศีรษะ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรคำนึงถึงความคุ้มค่า
ต้นทุน และผลประโยชน์ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติ มาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ควรมีการกำหนดมาตรการในการติดตามประเมินผลการใช้จ่ายเงินกองทุนเงินทดแทนในกรณีดังกล่าว
เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับเสถียรภาพของกองทุนเงินทดแทน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|