ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 8 จากทั้งหมด 6189 หน้า แสดงรายการที่ 141 - 160 จากข้อมูลทั้งหมด 123771 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
141 | แผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้กรอบวงเงิน 157,000 ล้านบาท | กค. | 20/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้กรอบวงเงิน
๑๕๗,๐๐๐ ล้านบาท และมอบหมายหน่วยงานรับงบประมาณจัดทำโครงการและคำของบประมาณ
เพื่อดำเนินการตามแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดังกล่าว ตามมติคณะกรรมการฯ ครั้งที่
๒/๒๕๖๘ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๘ ตามนัยข้อ ๓ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของธนาคารแห่งประเทศไทยไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นว่าในการจัดทำโครงการและการขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ และระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ พ.ศ.
๒๕๖๗ รวมทั้งกฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เห็นว่าหากหน่วยงานได้รับการจัดสรรงบประมาณด้านน้ำแล้ว
ขอให้เร่งรัดดำเนินการ พร้อมทั้งเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง
เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และรายงานให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติทราบด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
142 | ขอความเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย รัฐบาลแห่งมาเลเซีย และรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย ว่าด้วยความร่วมมือด้านน้ำมันปาล์ม | กษ. | 20/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
รัฐบาลแห่งมาเลเซีย และรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย ว่าด้วยความร่วมมือด้านน้ำมันปาล์ม
และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ
มีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน
สนับสนุนและเอื้ออำนวยการส่งเสริมการค้า
รวมถึงเสริมสร้างประสบการณ์และการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างกัน
บนพื้นฐานของการต่างตอบแทนและผลประโยชน์ร่วมกันในด้านการพัฒนาน้ำมันปาล์ม
มีสาขาความร่วมมือ เช่น การเสริมสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในอนุภูมิภาค
IMT - GT เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม
การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ไห้ความเห็นชอบไว้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่เห็นควรคำนึงถึงพื้นที่ที่ใช้ในการปลูกปาล์ม
ควรเป็นพื้นที่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องมีการบริหารจัดการต้นปาล์มตามหลักวิชาการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และหากประสงค์จะดำเนินการในเขตพื้นที่ป่าไม้ ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
143 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 (เรื่อง ขออนุมัติจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร) | กษ. | 20/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
ในประเด็นเงินจ่ายขาด จากจำนวน ๑๐ ล้านบาท เป็นจำนวน ๒๕.๓๐ ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงการคลัง เห็นว่าให้ส่วนราชการเจ้าของโครงการวิเคราะห์ลูกหนี้เพื่อจัดชั้นลูกหนี้
บริหารจัดการหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้ เพื่อลดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ พร้อมกำหนดมาตรการสร้างแรงสูงใจให้กลุ่มเกษตรกรชำระหนี้ควบคู่กับการขยายระยะเวลา ๕ ปี
โดยกำหนดเป้าหมายการรับชำระหนี้และส่งเงินต้นคืนกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ต่อปี รวมถึงกำหนดแผนการดำเนินงานและแนวทางการช่วยเหลือ
กลุ่มเกษตรกร เพื่อให้สามารถเร่งรัดและติดตามผลการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงพาณิชย์ เห็นว่าการพิจารณาดำเนินโครงการฯ
รวมถึงการเบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ จะต้องคำนึงถึงเหตุผล ความจำเป็น
ความคุ้มค่า รวมถึงเป็นไปด้วยความโปร่งใส
ตามข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบได้ และให้มีการติดตามประเมินผลโครงการและการชำระหนี้ของเกษตรกรอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
เพื่อให้สามารถส่งคืนเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดต่อไป ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมส่งเสริมสหกรณ์)
เร่งรัด ติดตามการชำระหนี้เงินกู้ของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการผลิตและการตลาดและบริหารจัดการหนี้ที่ผิดนัดชำระอย่างเหมาะสม
โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ภายในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๗๓ และไม่ให้มีการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการดังกล่าวออกไปอีก
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
144 | ร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | นร.09 | 20/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยเปลี่ยนชื่อสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เป็นสำนักงานพระคลังข้างที่
และรวมกิจการของสำนักพระราชวังเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสำนักงานพระคลังข้างที่เดิมเข้ามาบริหารจัดการโดยสำนักงานพระคลังข้างที่ตามพระราชบัญญัตินี้
เพื่อเป็นการสืบทอดประวัติความเป็นมาให้สอดคล้องกับโบราณราชประเพณี และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเป็นเรื่องด่วนต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
145 | การมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | นร 05 | 20/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นายชูศักดิ์ ศิรินิล) เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๘) เป็นต้นไป ตามที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีรายงานว่า
โดยที่ปัจจุบันคณะรัฐมนตรียังไม่ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๓๔ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินของกระทรวงยุติธรรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและต่อเนื่อง
และเป็นไปตามความในมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๓๔ จึงเห็นควรพิจารณามอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ซึ่งในครั้งนี้คณะรัฐมนตรีอาจพิจารณามอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นายชูศักดิ์ ศิรินิล) เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาชี้แจงว่า
กรณีดังกล่าวเป็นไปตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.
๒๕๓๔ ที่คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
และเมื่อคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์ ศิรินิล)
เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแล้ว
ก็เป็นผู้สั่งและปฏิบัติราชการในกรมสอบสวนคดีพิเศษและสามารถเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษในฐานะผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
146 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาวจิตรา ณีศะนันท์) | กค. | 20/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางสาวจิตรา ณีศะนันท์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการสูง) กองมาตรฐานการกำกับและตรวจสอบภาษี
กรมสรรพากร ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ)
กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
147 | แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (นายสุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ) | สธ. | 20/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายสุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๘) เป็นต้นไป
และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
148 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายกิตติวัฒน์ ปัจฉิมนันท์) | พณ. | 20/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายกิตติวัฒน์ ปัจฉิมนันท์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งรองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
149 | แต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล) | นร.04 | 20/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
แทนประธานกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๘) เป็นต้นไป และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธานกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
150 | ผลการพิจารณา เรื่อง ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร | อว. | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณา เรื่อง
ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่
..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยได้สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการ เช่น ๑) การจัดสรรงบประมาณกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาให้แก่สถาบันอุดมศึกษา
ควรคำนึงถึงจุดมุ่งหมาย ศักยภาพ และการดำเนินการที่ผ่านมาของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำเอาจุดเด่นและศักยภาพในการจัดการศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมมาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการพัฒนาประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างยั่งยืน
๒) การรับเงินอุดหนุนการพัฒนาการอุดมศึกษาระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสถาบันอุดมศึกษาซึ่งได้รับการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
ต้องมีการกำหนดผลสัมฤทธิ์และตัวชี้วัดที่ตรวจสอบได้ ๓) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปรับปรุงแผนด้านการอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๗๐ ให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมที่สำคัญในช่วง พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ และกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๗๐ และ ๔) การจัดทำรายงานประจำปีของสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม จะนำรายงานทางการเงินและการบริหารกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษามาใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำรายงานประจำปีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี
และรัฐสภาต่อไป ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
151 | ผลการพิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร | นร.53 | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง
การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ
สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้พิจารณาข้อสังเกตร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยสรุปผลการดำเนินงานได้ ดังนี้ ๑) ปัญหาด้านการเงินและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
สสว. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการส่งเสริมให้ SME เข้าถึงแหล่งเงินทุน
การจัดให้มีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และการค้ำประกันสินเชื่อสำหรับ SME การพิจารณาสินเชื่อจากข้อมูลด้านที่ไม่ใช่การเงิน (Non-financial Data) เช่น ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าและน้ำประปา
ข้อมูลการใช้โทรศัพท์ (Telco) เป็นต้น
และได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลของ SME ระหว่างหน่วยงานด้วย SME
One ID เพื่ออำนวยความสะดวกให้ SME สามารถใช้หมายเลข
ID เดียวกันในการเข้ารับบริการต่าง ๆ ๒) ปัญหาด้านแรงงาน
สสว. ได้บรรจุประเด็นด้านการสร้างความพร้อมของแรงงานไว้ในแผนการส่งเสริม SME
ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) และแผนปฏิบัติการส่งเสริม SME ประจำปี เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่มีบทบาทภารกิจนำไปจัดทำแผนงานหรือโครงการส่งเสริม
SME เพื่อขอรับงบประมาณประจำปี
โดยรูปแบบของการส่งเสริมมีทั้งการสร้างอาชีพ การพัฒนาทักษะแรงงานใหม่ ๆ
เพื่อให้สอดรับกับอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น นอกจากนี้
ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS (Business
Development Service) ๓) ปัญหาด้านภาษี สสว.
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการ อาทิ การให้สิทธิประโยชน์กับ SME กรมสรรพากรได้ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และให้ความรู้ความเข้าใจด้านภาษี ๔)
ปัญหาด้านข้อจำกัดของกฎหมาย ปัจจุบัน สสว. ได้มีการช่วยเหลือและส่งเสริม SME
ให้เข้าสู่ระบบอย่างต่อเนื่อง และ ๕)
ปัญหาด้านอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานกำกับดูแล ปัจจุบัน สสว.
ได้ดำเนินการตามบทบาทภารกิจดังกล่าวโดยการจัดทำนโยบายและแผนการส่งเสริม SME
ในภาพรวมของประเทศ และใช้แผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประจำปี
(Action Plan) เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงและบูรณาการโครงการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
152 | รายงานการเงินประจำปีพร้อมกับรายงานผลการตรวจสอบของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2567 | ลต. | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการเงินประจำปีพร้อมกับรายงานผลการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗ ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน
และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรับรองแล้ว
เห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
153 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2567 (กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา) | สผ. | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗ (กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา) ประกอบด้วย
งบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว
เห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
154 | ผลการพิจารณา เรื่อง ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของวุฒิสภา | อว. | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณา เรื่อง
ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่
..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยได้สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการ เช่น ๑) การจัดสรรงบประมาณกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาให้แก่สถาบันอุดมศึกษา
ควรคำนึงถึงจุดมุ่งหมาย ศักยภาพ และการดำเนินการที่ผ่านมาของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำเอาจุดเด่นและศักยภาพในการจัดการศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมมาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการพัฒนาประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างยั่งยืน
๒) การรับเงินอุดหนุนการพัฒนาการอุดมศึกษาระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสถาบันอุดมศึกษาซึ่งได้รับการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
ต้องมีการกำหนดผลสัมฤทธิ์และตัวชี้วัดที่ตรวจสอบได้ ๓) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปรับปรุงแผนด้านการอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๗๐ ให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมที่สำคัญในช่วง พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ และกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๗๐ และ ๔) การจัดทำรายงานประจำปีของสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม จะนำรายงานทางการเงินและการบริหารกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษามาใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำรายงานประจำปีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี
และรัฐสภาต่อไป ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
155 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2567 | ปช. | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน
งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรับรองแล้ว
เห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
156 | การขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีต่อร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาเอเปค ครั้งที่ 7 (7th APEC Education Ministerial Meeting-AEMM) | ศธ. | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาเอเปค
ครั้งที่ ๗ (7th APEC
Education Ministerial Meeting - AEMM) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองแถลงการณ์ร่วมฯ
ในวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๘ ณ จังหวัดเชจู สาธารณรัฐเกาหลี โดยร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
มีสาระสำคัญ เช่น
สมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคยืนยันบทบาทสำคัญของการศึกษาในการขับเคลื่อนความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของภูมิภาค
การเน้นย้ำความสำคัญของการบูรณาการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังนี้ กระทรวงการต่างประเทศ เห็นว่าร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เห็นว่ารายละเอียดถ้อยคำอาจพิจารณาปรับถ้อยคำร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
เป็น เชื่อมโยง นวัตกรรม และมั่งคั่ง ให้มีความต่อเนื่องทั้งร่างเอกสารฯ
หากเห็นว่าเหมาะสม ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
157 | ขออนุมัติใช้เงินบำรุงเพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก 9 ชั้น เป็นอาคาร คสล. 9 ชั้น พื้นที่ใช้สอยประมาณ 8,810 ตารางเมตร โรงพยาบาลระยอง จังหวัดระยอง 1 หลัง | สธ. | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติใช้เงินบำรุงโรงพยาบาลระยอง
จังหวัดระยอง ก่อสร้างอาคารศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิค ๙ ชั้น เป็นอาคาร คสล.
๙ ชั้น พื้นที่ใช้สอยประมาณ ๘,๘๑๐
ตารางเมตร โรงพยาบาลระยอง จังหวัดระยอง ๑ หลัง วงเงิน ๑๖๘,๕๕๔,๒๐๐ บาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ให้กระทรวงสาธารณสุข (สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงมหาดไทย เห็นควรปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
158 | การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการหารือทวิภาคีทางการเมืองระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐเซอร์เบีย | กต. | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการหารือทวิภาคีทางการเมืองระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐเซอร์เบีย
และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เป็นผู้ลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าว โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญเป็นการจัดการประชุมหารือทวิภาคีระหว่างผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายเป็นประจำ
เพื่อทบทวนและพิจารณาความสัมพันธ์ทวิภาคีและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นระดับภูมิภาค
และประเด็นระหว่างประเทศที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เห็นว่าที่ผ่านมายังไม่ปรากฏข้อห่วงกังวลด้านความมั่นคงระหว่างไทย
และ เซอร์เบีย ทั้งในปัญหาระดับทวิภาคีหรือในเวทีระหว่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
หน่วยงานความมั่นคงควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
และหากพบพฤติการณ์ที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคงอาจเสนอให้ทบทวนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ดังกล่าว ต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
159 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. .... | มท. | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนคอนสาร
จังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลทุ่งนาเลา ตำบลคอนสาร และตำบลดงบัง อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา การดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท
ในด้านการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ
และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และกระทรวงอุตสาหกรรมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เห็นว่าการใช้ประโยชน์ในที่ดินประเภทต่าง ๆ ควรคำนึงถึง กฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
160 | การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งกลไกการประชุมปรึกษาหารือทางการเมืองระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศและกิจการชาวต่างชาติแห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน | กต. | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งกลไกการประชุมปรึกษาหารือทางการเมืองระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศและกิจการชาวต่างชาติแห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน
โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญเป็นการจัดตั้งกรอบความร่วมมือในการประชุมปรึกษาหารือทางการเมือง
เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่ากระทรวงการต่างประเทศควรสื่อสารผลลัพธ์ของการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับทราบถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับด้วย
และหากมีการแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจฯ ให้กระทรวงการต่างประเทศรวบรวมผลการปรับแก้บันทึกความเข้าใจฯ
พร้อมทั้งผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องรายงานต่อคณะรัฐมนตรีทราบในคราวเดียวกัน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|