ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 7 จากทั้งหมด 6108 หน้า แสดงรายการที่ 121 - 140 จากข้อมูลทั้งหมด 122145 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
121 | แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขอรับร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาพิจารณาก่อนรับหลักการ | นร.05 | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๗ (เรื่อง
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขอรับร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาพิจารณาก่อนรับหลักการ)
ต่อไป ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ๒. ให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเป็นผู้ชี้แจงผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณาก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะลงมติรับหลักการต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร
เพื่อเป็นข้อมูลและเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
122 | การมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อนุมัติ ให้ความเห็นชอบ หรือมีคำสั่งแทนคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกาที่ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญในความสัมพันธ์กับรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการอันจำกัด ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 | นร.05 | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๘ มกราคม ๒๕๖๓ (เรื่อง
การมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อนุมัติ ให้ความเห็นชอบ
หรือมีคำสั่งแทนคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกาที่ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญในความสัมพันธ์กับรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการอันจำกัดตามมาตรา ๗
แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘) ต่อไป ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
123 | การจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐคีร์กีซว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางพิเศษ/หนังสือเดินทางราชการ | กต. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อการจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐคีร์กีซว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางพิเศษ/หนังสือเดินทางราชการ
โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในร่างความตกลงฯ
ทั้งนี้ ในกรณีมอบหมายผู้แทนให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนามที่ได้รับมอบหมายดังกล่าว
และให้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีผลใช้บังคับของความตกลงฯ
โดยร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการยกเว้นการตรวจลงตราแก่บุคคลที่ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางพิเศษ/หนังสือเดินทางราชการของแต่ละฝ่ายในการเดินทางเข้า
ออก ผ่าน หรือพำนักอยู่ในดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่งโดยจะไม่ต้องรับการตรวจลงตราเป็นระยะเวลาไม่เกิน
๙๐ วัน นับจากวันเดินทางเข้า โดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องไม่ทำงานใด ๆ
ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินกิจการของตนเองหรือกิจกรรมส่วนตัวอื่น ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างความตกลงฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ที่เห็นว่าหน่วยงานความมั่นคงควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
และหากพบพฤติการณ์ที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคง อาจเสนอให้ทบทวนความตกลงฯ ดังกล่าว
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
124 | การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 3 | กค. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ครั้งที่ ๓ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่
๒/๒๕๖๗ เมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗ สรุปได้ ดังนี้ ๑) แผนการก่อหนี้ใหม่ ปรับเพิ่ม ๑๑๒,๐๐๐ ล้านบาท จากเดิม ๑,๐๓๐,๕๘๐.๗๑ ล้านบาท เป็น ๑,๑๔๒,๕๘๐.๗๑
ล้านบาท โดยเป็นแผนการก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล (รัฐบาลกู้มาใช้โดยตรง) ปรับเพิ่ม ๑๑๒,๒๐๐ ล้านบาท และ ๒) แผนการบริหารหนี้เดิม ปรับลด ๑๒,๖๐๓.๘๗
ล้านบาท จากเดิม ๒,๐๔๒,๓๑๔.๐๖ ล้านบาท
เป็น ๒,๐๒๙,๗๑๐.๑๙ ล้านบาท
เนื่องจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรปรับลดแผนการบริหารหนี้เดิมจาก ๔๙,๐๕๔.๐๐ ล้านบาท เป็น ๓๖,๔๕๐.๑๓ ล้านบาท ตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะเสนอ ให้คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ
กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและข้อสังเกตของธนาคารแห่งประเทศไทยไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง สำนักงบประมาณ เห็นควรกำกับ ติดตาม
และเร่งรัดหน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการและเบิกจ่ายเงินกู้ให้สอดคล้องและบรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนที่กำหนดไว้
เพื่อให้การใช้จ่ายเงินกู้เป็นไปอย่างโปร่งใส คุ้มค่า ประหยัด เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างแท้จริง ธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นว่าภายใต้ภาวะตลาดการเงินที่อาจมีความผันผวนสูงขึ้น
รัฐบาลควรมีการบริหารจัดการเครื่องมือในการระดมทุนให้เหมาะสม
กระจายการระดมทุนไม่ให้กระจุกตัว ควบคู่กับการสื่อสารกับตลาดอย่างชัดเจนและสม่ำเสมอ
เพื่อลดผลกระทบที่จะมีต่อตลาดการเงิน และต้นทุนการกู้ยืมของภาครัฐและเอกชน และให้ความสำคัญกับการชำระคืนต้นเงินกู้
เนื่องจากหากมีการชำระหนี้ในระดับที่ต่ำเกินไปอาจทำให้ความเสี่ยงทางการคลังในระยะต่อไปเพิ่มขึ้นได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
125 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร วันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2567 | นร. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันจันทร์ที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๗ ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแนวทางการปฏิบัติงานของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรและมีมติ
ดังนี้ ๑) กำหนดประชุมวิปรัฐบาล ๒) กำหนดลำดับการยื่นกระทู้ถามสด ๓)
ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองร่างกฎหมายในกระบวนการนิติบัญญัติ และ ๔)
สัดส่วนการปรึกษาหารือของสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๖ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๒๔ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันพุธที่ ๑๘
กันยายน ๒๕๖๗ และพิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๖ ปีที่ ๒
ครั้งที่ ๒๕ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๗ ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
126 | ร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร กับคณะ นางสาวศิริวรรณ ปราศจากศัตรู กับคณะ และนายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ กับคณะ เป็นผู้เสนอ) รวม 3 ฉบับ (สรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร วันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2567) | ปสส. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้รับร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร กับคณะ นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู กับคณะ
และนายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ กับคณะ
เป็นผู้เสนอ) รวม ๓ ฉบับ ไปพิจารณาก่อนรับหลักการภายใน ๖๐ วัน
นับแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
127 | โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ | กค. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี ๒๕๖๗
ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ โดยมอบหมายกระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินโครงการฯ
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมบังคับคดี
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา) ให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการฯ
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการฯ
ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ธนาคารแห่งประเทศไทย และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น สำนักงบประมาณ เห็นควรให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมุ่งเน้นการกำกับดูแลการดำเนินการในเรื่องต่าง
ๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
รวมถึงรักษากรอบวินัยการเงินการคลังอย่างรอบคอบ เคร่งครัด
และจัดให้มีระบบการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ และรายงานปัญหา อุปสรรคและแนวทางการแก้ไข
การดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เห็นว่าในส่วนของกลุ่มเป้าหมายคนพิการ ปี ๒๕๖๖
สำนักงานสถิติแห่งชาติมีการสำรวจความพิการ พบว่า มีผู้พิการ ๔.๑๙ ล้านคน
แต่มีคนพิการขึ้นทะเบียนและมีบัตรประจำตัวคนพิการเพียง ๒.๒ ล้านคน
เห็นควรให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พิจารณาใช้โอกาสนี้ในการจัดทำบัตรประจำตัวคนพิการให้ครอบคลุมคนพิการทุกกลุ่ม
เพื่อป้องกันการตกหล่นในการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการที่พึงจะได้รับในระยะยาวต่อไป ๒. เห็นชอบในหลักการการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่กลุ่มเป้าหมายได้รับตามโครงการฯ
และมอบหมายให้กระทรวงการคลัง (กรมสรรพากร)
พิจารณาดำเนินการยกร่างกฎหมายและเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
128 | การปรับปรุงกฎและระเบียบในการปฏิบัติราชการเพื่อให้การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างรวดเร็วทันการณ์ | นร. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. มอบหมายให้กระทรวงการคลังร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงอื่น
ๆ ที่มีรัฐวิสาหกิจในสังกัด และรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง
รับไปพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการกำหนดให้รัฐวิสาหกิจออกระเบียบ
หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการค่าบริการสาธารณูปโภคในพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติไว้ล่วงหน้าเพื่อถือปฏิบัติต่อไป ๒.
มอบหมายให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่มีหน่วยงานในภูมิภาคพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการมอบอำนาจให้หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ประสบภัยสามารถพิจารณาตัดสินใจในเรื่องใด
ๆ ที่จำเป็นเพื่อการป้องกันและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ต้องประสบกับภัยธรรมชาติให้เท่าทันสถานการณ์
เช่น
กรณีการปิดโรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการและสถาบันการศึกษาของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ๓. มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.
ร่วมกับคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ เช่น
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษารับไปพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการออกกฎ
ระเบียบ และแนวทางปฏิบัติเพื่ออนุญาตให้บุคลากรในสังกัดสามารถเดินทางไปให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติได้ตามความจำเป็นเหมาะสมและความสมัครใจโดยไม่ถือเป็นวันลา ทั้งนี้
ให้พิจารณาดำเนินการดังกล่าวข้างต้นให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
129 | ขอความเห็นชอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 | มท. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี ๒๕๖๗ และอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
กรณีอุทกภัย จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน ๓,๐๔๕,๕๑๙,๐๐๐ บาท เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี ๒๕๖๗
ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี
๒๕๖๗
โดยให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยรับงบประมาณและจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยผ่านธนาคารออมสิน
ให้เบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป รวมทั้งให้สามารถถัวจ่ายข้ามจังหวัดได้
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี ๒๕๖๗
รวมทั้งขั้นตอนการดำเนินการแนวทางการปฏิบัติงาน และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ
ให้เหลือเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
เพื่อให้สามารถดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัยได้เร็วที่สุดและเท่าทันสถานการณ์ ทั้งนี้
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด
ที่ นร ๐๗๐๔/๑๐๗๐๑ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๗)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ สำนักงบประมาณ เห็นควรเร่งดำเนินการตรวจสอบกลุ่มเป้าหมายผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยอย่างชัดเจน
ครอบคลุมในทุกพื้นที่ และปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี
และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน โดยการใช้จ่ายและเบิกจ่ายงบประมาณในช่วงปลายปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
ให้เป็นไปตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๐๒.๕/ว ๑๔๔
ลงวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๗ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขอกันเงินงบประมาณ
ปี ๒๕๖๗ ไว้เบิกเหลื่อมปี รวมถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณต่อไปด้วย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เห็นควรให้ความสำคัญกับการกำหนดอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในปี ๒๕๖๗
ให้มีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและความเสียหายในปัจจุบัน
เนื่องจากพื้นที่ประสบอุทกภัยอยู่ในเขตเมือง ซึ่งมีภาคธุรกิจและพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชนที่ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก
และควรเร่งรัดขั้นตอนการสำรวจและตรวจสอบครัวเรือนเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยอย่างชัดเจน
ครอบคลุมพื้นที่ประสบอุทกภัย และกระบวนการจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
โดยปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี
และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยได้อย่างทันสถานการณ์
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
130 | ขออนุมัติเพิ่มวงเงินและขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการก่อสร้างหอผู้ป่วยใน 7 ชั้น (จำนวน 156 เตียง) เป็นอาคาร คสล. 7 ชั้น พื้นที่ใช้สอยประมาณ 6,184 ตารางเมตร โรงพยาบาลสีคิ้ว ตำบลมิตรภาพ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 1 หลัง | สธ. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างรายการหอผู้ป่วยใน ๗
ชั้น (จำนวน ๑๕๖ เตียง) เป็นอาคาร คสล. ๗ ชั้น พื้นที่ใช้สอยประมาณ ๖,๑๘๔ ตารางเมตร โรงพยาบาลสีคิ้ว ตำบลมิตรภาพ อำเภอสีคิ้ว
จังหวัดนครราชสีมา ๑ หลัง จำนวนเงิน ๕๑,๔๖๓,๗๐๐ บาท ซึ่งจากเดิมได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
จำนวน ๑๐๖.๓ ล้านบาท เป็นวงเงินก่อสร้างรวมทั้งสิ้น ๑๕๗,๗๒๕,๒๐๐ บาท โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ จำนวน
๑๕,๙๓๙,๓๐๐ บาท ที่ได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้แล้ว
ส่วนที่เหลือ จำนวน ๑๔๑,๗๘๕,๓๐๐ บาท ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ - พ.ศ. ๒๕๗๐ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้กระทรวงสาธารณสุข
(สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข) เร่งรัดติดตามการดำเนินการก่อสร้างอาคารหอผู้ป่วยใน
๗ ชั้น โรงพยาบาลสีคิ้ว ตำบลมิตรภาพ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปดำเนินการด้วย
เช่น กระทรวงการคลัง เห็นควรเร่งรัดดำเนินการเพื่อให้สามารถเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างได้โดยเร็ว
เพื่อไม่ให้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ พับไปโดยผลของกฎหมาย และขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เห็นควรมีการเร่งรัดและกำกับการดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องและข้อกำหนดในสัญญา
เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
131 | การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี | นร.04 | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้
คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้ ๑.
นายภูมิธรรม เวชยชัย ๒.
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ๓.
นายอนุทิน ชาญวีรกูล ๔.
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๕.
นายพิชัย ชุณหวชิร ๖.
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
132 | การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตรวจพิจารณาร่างมติคณะรัฐมนตรีและกลั่นกรองเรื่องก่อนเสนอนายกรัฐมนตรี | นร.05 | 07/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นายชูศักดิ์ ศิรินิล)
เป็นผู้ตรวจพิจารณาร่างมติคณะรัฐมนตรีที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ๒. มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นายชูศักดิ์ ศิรินิล) เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองเรื่องดังต่อไปนี้ก่อนนำเสนอนายกรัฐมนตรีต่อไป ๒.๑
เรื่องการดำเนินคดีในศาลปกครองในกรณีที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีถูกฟ้องในคดีปกครองที่เกี่ยวข้องกับมติคณะรัฐมนตรี ๒.๒
เรื่องการดำเนินคดีในศาลรัฐธรรมนูญในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถูกร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ๒.๓
เรื่องเกี่ยวกับกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
133 | คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา | นร.05 | 07/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา
ทั้งนี้ มอบหมายให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรีร่วมกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดำเนินการปรับแก้ไขร่างคำแถลงนโยบายฯ
ให้ถูกต้อง ครบถ้วน
เป็นไปตามผลการประชุมคณะรัฐมนตรีก่อนดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒. มอบหมายให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรับไปประสานเพื่อแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบว่าคณะรัฐมนตรีมีความพร้อมที่จะแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาได้ตั้งแต่วันที่
๑๒ กันยายน ๖๕๖๗ เป็นต้นไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
134 | แนวทางการประชุมคณะรัฐมนตรีและการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี | นร.05 | 07/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. รับทราบการกำหนดวิธีการประชุมคณะรัฐมนตรี
ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑.๑ วัน
เวลา และสถานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ๑.๑.๑
จัดการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการกรณีปกติในทุกวันอังคาร ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐
น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุม ๕๐๑ ตึกบัญชาการ ๑ ทำเนียบรัฐบาล ๑.๑.๒
การประชุมคณะรัฐมนตรีกรณีปกติอาจเปลี่ยนแปลงวัน เวลา
และสถานที่ได้ตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ๑.๑.๓
การประชุมคณะรัฐมนตรีกรณีปกติจะดำเนินการโดยเชิญรัฐมนตรีมาเข้าร่วมประชุม ณ
สถานที่ที่กำหนดตามข้อ ๑.๑.๑ หรือข้อ ๑.๑.๒ ๑.๒
องค์ประกอบของการประชุมคณะรัฐมนตรี ๑.๒.๑
องค์ประชุมคณะรัฐมนตรี ๑.๒.๑.๑
การประชุมคณะรัฐมนตรีในกรณีปกติให้ดำเนินการได้เมื่อมีรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนคณะรัฐมนตรีทั้งหมดที่มีอยู่โดยจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมให้รวมถึงผู้เข้าร่วมประชุมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งสามารถปรึกษาหารือกันได้แม้จะมิได้อยู่ในสถานที่เดียวกัน
๑.๒.๑.๒
ในกรณีจำเป็นเพื่อเป็นการรักษาประโยชน์สำคัญของประเทศหรือมีกรณีฉุกเฉินหรือเพื่อประโยชน์ในการรักษาความลับ
นายกรัฐมนตรีอาจพิจารณาเรื่องใดกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องตามที่นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อมีมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นได้
และเมื่อมีการประชุมเป็นกรณีปกติให้นายกรัฐมนตรีแจ้งให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีทราบมติของคณะรัฐมนตรีดังกล่าวด้วย ๑.๒.๒
ผู้เข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย
๑.๒.๒.๑ ข้าราชการการเมืองได้แก่ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
๑ ๒.๒.๒ ข้าราชการประจำระดับสูง ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้ดำรงตำแหน่งตำแหน่งอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ๑.๒.๓
ฝ่ายเลขานุการ ประกอบด้วย
๑.๒.๓.๑ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
๑.๒.๓.๒ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ตามที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมอบหมาย) ปฏิบัติหน้าที่ในการนำเสนอระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมกับเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
๑.๒.๓.๓ เจ้าหน้าที่ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ตามที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมอบหมาย)
ปฏิบัติหน้าที่ในห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ๑.๓ ระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี
ประกอบด้วย ๑.๓.๑
เรื่องที่ประธานแจ้งที่ประชุม ๑.๓.๒
เรื่องวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ถ้ามี) ๑.๓.๓
เรื่องเพื่อพิจารณา ๑.๓.๔
เรื่องเพื่อทราบ (หากไม่มีข้อทักท้วงให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ) ๑.๓.๕
เรื่องเพื่อทราบ ๑.๓.๖
เรื่องอื่น ๆ ๑.๔
ประเภทแฟ้มระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย ๑.๔.๑
เรื่องเพื่อพิจารณา แฟ้มสีชมพู ๑.๔.๒
เรื่องเพื่อทราบ (หากไม่มีข้อทักท้วงฯ) แฟ้มสีส้ม ๑.๔.๓
เรื่องเพื่อทราบ แฟ้มสีฟ้า ๑.๕
การจัดส่งระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จะจัดส่งระเบียบวาระการประชุมฯ
พร้อมด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องให้คณะรัฐมนตรีทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑ วัน ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี
โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะจัดส่งระเบียบวาระการประชุมฯ ให้คณะรัฐมนตรี ดังนี้ ๑.๕.๑
การประชุมคณะรัฐมนตรีในกรณีปกติทุกวันอังคาร จะจัดส่งระเบียบวาระการประชุมฯ (ปกติ) ให้คณะรัฐมนตรีภายในวันศุกร์
และจัดส่งระเบียบวาระการประชุมฯ (เพิ่มเติม) ภายในวันจันทร์ ส่วนระเบียบวาระการประชุมฯ
(วาระจร)
จะจัดส่งในวันประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบเรียกดูระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีด้วยเครื่องแท็บเล็ต
(M-VARA) เท่านั้น ๑.๕.๒
กรณีที่มีการเลื่อนวันประชุมคณะรัฐมนตรี จะจัดส่งระเบียบวาระการประชุมให้คณะรัฐมนตรีล่วงหน้าไม่น้อยกว่า
๑ วันก่อนวันประชุมคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะจัดส่งระเบียบวาระการประชุมฯ ในระบบ M-VARA อีกช่องทางหนึ่งด้วย ๑.๖
คณะกรรมการรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีจะแต่งตั้งคณะบุคคลประกอบด้วย รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและบุคคลอื่นที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องที่จะพิจารณาเพื่อพิจารณากลั่นกรองเรื่องใดก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีก็ได้
เพื่อให้เรื่องที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีได้มีการพิจารณาอย่างละเอียด รอบคอบ และประหยัดเวลาการประชุมคณะรัฐมนตรี ๑.๗
การลาประชุมคณะรัฐมนตรี
ให้รัฐมนตรีแจ้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อแจ้งให้นายกรัฐมนตรีและที่ประชุมคณะรัฐมนตรีทราบ
ซึ่งรวมถึงกรณีการลาประชุมเป็นช่วงเวลาหรือกรณีที่ไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมจนการประชุมสิ้นสุดได้ ๑.๘
สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีโดยเปิดเผย สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะจัดทำสรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีทุกครั้งที่มีการประชุม
โดยจะจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และถ่ายโอนข้อมูลไปยังระบบ M-VARA แล้วแจ้งให้รัฐมนตรีทราบ กรณีมีข้อทักท้วงหรือแก้ไขประการใด
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องโดยเร็ว ๒.
เห็นชอบแนวทางปฏิบัติในการรักษาความลับของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรี
และการให้ข่าวสารแก่สื่อมวลชน ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ โดยให้รัฐมนตรี
เจ้าหน้าที่ซึ่งเข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรีถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด
ดังนี้ ๒.๑
ให้รักษาความลับหรือเอกสารของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรีตามประเภทชั้นความลับที่ได้กำหนดไว้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยแบ่งออกเป็น ๓ ชั้น คือ ลับที่สุด ลับมาก และลับ
ซึ่งหากความลับดังกล่าวทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนรั่วไหลไปถึงบุคคลผู้ไม่มีหน้าที่ได้ทราบจะทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งรัฐ
ดังนั้น กรณีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรี เลขาธิการคณะรัฐมนตรีหรือรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจสั่งให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวตามเงื่อนไขที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำหนดตามนัยมาตรา
๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ ๒.๒
การพิจารณาหารือหรืออภิปรายของคณะรัฐมนตรีในการประชุมคณะรัฐมนตรีให้ถือเป็นความลับของทางราชการ
ดังนั้น รัฐมนตรีทุกท่าน ผู้เข้าร่วมการประชุม
และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรี
พึงระมัดระวังและไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ
เกี่ยวกับเรื่องที่พิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ๒.๓
ในการจัดทำระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี
หากหน่วยงานเจ้าของเรื่องเห็นว่าเรื่องที่เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่มีชั้นความลับ
มีความอ่อนไหวและมีผลกระทบสูงเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ
ความมั่นคง ประโยชน์สาธารณะ หรือประโยชน์ของประเทศชาติ หากถูกนำไปเปิดเผยต่อสาธารณชนแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลประโยชน์ของชาติอย่างร้ายแรงให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องระบุไว้ในหนังสือนำส่งเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีให้ชัดเจนว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่มีชั้นความลับ
มีความอ่อนไหว และมีผลกระทบสูงอย่างไร หรือหากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่า
เป็นเรื่องที่เข้าลักษณะดังกล่าว
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะจัดทำระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีโดยจะแจกเอกสารระหว่างการพิจารณาเรื่องดังกล่าวในระบบ
M-VARA และหลังจากพิจารณาแล้วเสร็จจะถอนเรื่องดังกล่าวออกจากระบบ
M-VARA ทันที ๒.๔ ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐดูแลและระมัดระวังมิให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเอกสารการประชุมคณะรัฐมนตรีเปิดเผยเอกสารดังกล่าวก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี ๒.๕
กรณีมีผู้นำเอกสารหรือข้อความซึ่งเป็นความลับของทางราชการไปเผยแพร่จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
หรือเกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องที่ได้รับความเสียหายพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
(เช่น
กรณีข้าราชการพลเรือนฝ่าฝืนข้อปฏิบัติและถือเป็นผู้กระทำผิดวินัยหรือกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง)
อนึ่ง ตามประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๔
ได้วางหลักเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมในเรื่องการรักษาความลับของทางราชการไว้เช่นเดียวกัน
กล่าวคือ ตามข้อ ๗ (๓)
กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องยึดถือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ
โดยอย่างน้อยต้องไม่นำข้อมูลข่าวสาวอันเป็นความลับของทางราชการซึ่งตนได้มาในระหว่างอยู่ในตำแหน่งไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เอกชนทั้งในระหว่างการดำรงตำแหน่งและเมื่อพ้นจากตำแหน่ง
และข้อ ๘ (๕) กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องรักษาความลับของราชการ
เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจตามกฎหมาย ๒.๖ เรื่องใดที่มีผลกระทบต่อประชาชนหรือประเทศชาติโดยส่วนรวม
เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติแล้ว ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องที่รับผิดชอบเป็นหน่วยงานหลักชี้แจงต่อสาธารณชนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงเพิ่มเติมให้เป็นใปในทิศทางเดียวกัน
กรณีเป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหรืออนุมัติตามมติของคณะกรรมการต่าง ๆ
แล้ว
ให้ประธานกรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการชี้แจงในทำนองเดียวกันด้วย ๒.๗
ให้โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่และอำนาจในการให้ข่าวสารเกี่ยวกับการประชุมคณะรัฐมนตรี
มติคณะรัฐมนตรี การดำเนินงานของคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือกระทรวง กรม ตลอดจนชี้แจงเมื่อปรากฏว่ามีการเสนอข่าวคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริง
หรือไม่ถูกต้อง ครบถ้วน อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคลากรหรือรัฐบาล
หรือการปฏิบัติผิดพลาดได้ ทั้งนี้ อาจขอให้โฆษกกระทรวงเป็นผู้แถลงข่าวหรือออกคำชี้แจงเอง
หรือร่วมกันแถลงข่าว หรือชี้แจงด้วยก็ได้ ๓.
เห็นชอบแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐในการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
ดังนี้ ๓.๑
การเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี
พ.ศ. ๒๕๔๘ และระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ.
๒๕๔๘ อย่างเคร่งครัด ดังนี้ ๓.๑.๑
ผู้ลงนามในหนังสือนำส่งเรื่อง ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องดำเนินการให้เป็นไปตามนัยมาตรา
๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘
ที่บัญญัติให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้ลงนามเสนอเรื่อง ๓.๑.๒
กรณีเรื่องที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่จะต้องได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติจากหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นก่อน
(ตามระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๙)
ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องขอความเห็นชอบหรือขออนุมัติจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้เสร็จสิ้นก่อน
แล้วจึงส่งเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพร้อมกับความเห็นชอบหรือคำอนุมัตินั้น ๓.๒
กรณีเป็นเรื่องที่มีกรอบระยะเวลาในการดำเนินการอย่างชัดเจน
ซึ่งหน่วยงานเจ้าของเรื่องทราบล่วงหน้าอยู่แล้ว เช่น
เรื่องเกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมนานาชาติ ให้เสนอเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีก่อนถึงระยะเวลาที่กำหนดของเรื่องนั้น
ๆ อย่างน้อย ๑๕ วัน สำหรับกรณีที่เป็นเรื่องเร่งด่วน
ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องส่งเรื่องให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอย่างน้อย ๗
วัน ก่อนวันประชุมคณะรัฐมนตรี
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
135 | การมอบหมายการชี้แจงร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 | ปสส. | 07/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี
(นายพิชัย ชุณหวชิร) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นางมนพร เจริญศรี)
เป็นผู้แทนคณะรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ ต่อที่ประชุมวุฒิสภาในวันจันทร์ที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๗ โดยให้สำนักงบประมาณสนับสนุนข้อมูลประกอบการชี้แจงดังกล่าว
และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย ชุณหวชิร)
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวขอบคุณต่อวุฒิสภาเมื่อการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ เสร็จสิ้น ทั้งนี้ ตามมาตรา ๑๖๒ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
136 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) | นร.04 | 07/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๗ กันยายน ๒๕๖๗) เป็นต้นไป ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
137 | ขออนุมัติรายชื่อผู้เข้ารับการศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร ประจำปีการศึกษา 2567-2568 | กห. | 03/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร
(วปอ.) รุ่นที่ ๖๗ ให้เข้ารับการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗ - ๒๕๖๘ ห้วงเวลาการศึกษาตั้งแต่เดือนตุลาคม
๒๕๖๗ - กันยายน ๒๕๖๘ ทั้งนี้ หากมีผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการศึกษาหลักสูตร
วปอ. แจ้งความประสงค์สละสิทธิ์ หรือหากการตรวจสอบคุณสมบัติในภายหลัง พบว่าผู้ที่ได้รับการคัดเลือกฯ
ขาดคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่กำหนดไว้ให้กระทรวงกลาโหม โดยสภาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ตัดรายชื่อออกจากที่ได้รับอนุมัติ รวมทั้งพิจารณาผู้ที่จะเข้ารับการศึกษาทดแทนได้ตามความเหมาะสม
โดยไม่ต้องขออนุมัติใหม่ ทั้ง ๒ กรณี ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประธานสภาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
138 | ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดในการประเมินเอกสารวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบเครื่องมือแพทย์ในการติดตาม ตรวจสอบ หรือเฝ้าระวัง เพื่อควบคุมการผลิต นำเข้า และขายเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. .... | สธ. | 03/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดในการประเมินเอกสารวิชาการ การตรวจวิเคราะห์
การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบเครื่องมือแพทย์ในการติดตาม ตรวจสอบ
หรือเฝ้าระวัง เพื่อควบคุมการผลิต นำเข้า และขายเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บในการติดตาม
ตรวจสอบ หรือเฝ้าระวัง เพื่อควบคุมการผลิต นำเข้า และขายเครื่องมือแพทย์
ซึ่งเป็นกระบวนการพิจารณาอนุญาตเครื่องมือแพทย์ในส่วนของการกำกับดูแลหลังออกสู่ตลาด
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เห็นว่าเพื่อเป็นการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการประเมินเอกสาร
การตรวจสอบเครื่องมือแพทย์ประเภทต่าง ๆ รวมถึงการตรวจสถานประกอบการ
ซึ่งต้องใช้กำลังคนผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินการตามระดับความซับซ้อนของเครื่องมือแพทย์
ในส่วนของอัตราค่าใช้จ่ายควรพิจารณาร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่าย
เช่น ภาคเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการ สำนักงบประมาณ เห็นควรที่กระทรวงสาธารณสุขจะสร้างการรับรู้และความเข้าใจตามร่างประกาศดังกล่าวให้ผู้เกี่ยวข้องทราบอย่างทั่วถึง
และแจ้งกระทรวงการคลังจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
เพื่อใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินงานทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเป็นประจำทุกสิ้นปีงบประมาณ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
139 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและการยกเว้นค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตโฆษณายาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ และค่าธรรมเนียมที่เจ้าหน้าที่ได้ให้บริการตาม (17) (18) (19) (20) และ (21) ในอัตราค่าธรรมเนียมท้ายประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. .... | สธ. | 03/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตโฆษณายาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์
และค่าธรรมเนียมที่เจ้าหน้าที่ได้ให้บริการตาม (๑๗) (๑๘) (๑๙) (๒๐) และ (๒๑)
ในอัตราค่าธรรมเนียมท้ายประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดค่าธรรมเนียมและการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตโฆษณายาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์
ตาม (๑๑) และค่าธรรมเนียมที่เจ้าหน้าที่ได้ให้บริการตาม (๑๗) (๑๘) (๑๙) (๒๐) และ
(๒๑) ได้แก่ ค่าขึ้นบัญชีที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ
หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ค่าคำขออนุญาตหรือคำขออื่น ๆ ค่าประเมินเอกสารทางวิชาการ ค่าตรวจสถานประกอบการ
และค่าดำเนินการอื่น ๆ ให้เป็นไปตามอัตราค่าธรรมเนียมท้ายประมวลกฎหมายยาเสพติด ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
เห็นสมควรที่กระทรวงสาธารณสุขจะสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้ผู้เกี่ยวข้องทราบอย่างทั่วถึง
และแจ้งกระทรวงการคลังจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินงานทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเป็นประจำทุกสิ้นปีงบประมาณ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
140 | ร่างปฏิญญาอัสตานาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความครอบคลุมและการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก | ดศ. | 03/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างปฏิญญาอัสตานาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความครอบคลุมและการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย
- แปซิฟิก และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
ร่วมรับรองร่างปฏิญญาอัสตานาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความครอบคลุมและการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย
- แปซิฟิก
ในระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความครอบคลุมและการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย
- แปซิฟิก โดยร่างปฏิญญาฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเอกสารการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อยกระดับด้านความเท่าเทียมและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย
- แปซิฟิก โดยระบุถึงการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(ICT) และดิจิทัล
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก โดยมุ่งเน้นการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในทุกกลุ่ม
เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล และกระตุ้นการเติบโตที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน
ผ่านการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล การยกระดับความเชื่อมโยงทางดิจิทัล
การสร้างความเชื่อมั่นด้านดิจิทัล และการใช้เทคโนโลยี ICT เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การส่งเสริมเกี่ยวกับดิจิทัลโซลูชั่นและนวัตกรรมดิจิทัล รวมถึงการสร้างองค์ความรู้
และให้ความช่วยเหลือเชิงนโยบายและเชิงเทคนิค โดยคำนึงถึงโอกาส ความเสี่ยง
และความท้าทายในทุกมิติ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่สมดุลและยั่งยืน
เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมพิจารณากำหนดกลไกการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบความร่วมมือแนวทางการพัฒนาดิจิทัลของประเทศต่าง
ๆ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชน โดยเฉพาะในส่วนของการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง
ซึ่งรวมถึงประชาชนเพศหญิงและกลุ่มคนเปราะบาง
เพื่อลดช่องว่างทางดิจิทัลและเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|