ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 6 จากทั้งหมด 6004 หน้า แสดงรายการที่ 101 - 120 จากข้อมูลทั้งหมด 120074 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
101 | แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์) | สลค. | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ราย
นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่
๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
102 | แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาวมัทนา เจริญศรี) | สลค. | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
ราย นางสาวมัทนา เจริญศรี ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่
๘ สิงหาคม ๒๕๖๖ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
103 | แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายกิติพงษ์ มหารัตนวงศ์) | นร.05 | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ราย นายกิติพงษ์ มหารัตนวงศ์ ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่
๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
104 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. .... | กค. | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก
๑๐๐ ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว
(ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคา ๒๐ บาท เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
105 | การขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 | มท. | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
ดังนี้ ๑.
ให้ขยายระยะเวลาในการออกกฎ ซึ่งออกตามความในมาตรา ๖ ประกอบมาตรา ๔๔
แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง
และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ ออกไปอีก ๑ ปี ตั้งแต่วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
106 | รายงานผลการดำเนินงานของระบบประกันภัยและพัฒนาการที่สำคัญ รอบ 12 เดือน ปี 2565 | กค. | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของระบบประกันภัยและพัฒนาการที่สำคัญ
รอบ ๑๒ เดือน ปี ๒๕๖๕
ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.)
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑) ภาพรวมธุรกิจประกันภัยของไทยรอบ ๑๒ เดือน ปี ๒๕๖๕
ขยายตัวร้อยละ ๐.๗๖ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและคาดการณ์ว่าในปี ๒๕๖๖
ธุรกิจประกันภัยจะมีอัตราการเติบโตร้อยละ-๐.๑๓ ถึง ๑.๘๗ (๒)
การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ สำนักงาน คปภ. ระยะ ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๖)
และตามนโยบายของรัฐบาล เช่น
พัฒนาเครื่องมือและเพิ่มมิติการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย
ยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านการประกันภัย ส่งเสริมและสนับสนุนให้ไทยเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการประกันภัย
และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้บริษัทมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ ๆ และพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพและสมรรถนะ (๓)
มาตรการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากโควิด-๑๙ ต่อผู้เอาประกันภัย
ประชาชน ภาคธุรกิจประกันภัย และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง เช่น การอนุโลมจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยรายวันให้แก่ผู้เอาประกันภัยที่รักษาตัวในศูนย์แยกกักตัวในชุมชนหรือสถานที่กักตัวในโรงแรมและมาตรการบรรเทาผลกระทบสำหรับบริษัทประกันวินาศภัยที่มีค่าสินไหมทดแทนโควิด-๑๙
(๔) การประเมินผลการดำเนินงานปี ๒๕๖๕ มีค่าคะแนนถ่วงน้ำหนักรวมอยู่ที่ ๔.๖๑
จากคะแนนเต็ม ๕ คะแนน และ (๕) ผลสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการปี ๒๕๖๕
มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดร้อยละ ๙๓.๖๐ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
107 | ผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ สมัยที่ 14 (Ramsar COP 14) | ทส. | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ
สมัยที่ ๑๔ (Ramsar COP 14) และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
โดยการประชุมดังกล่าวได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๕-๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ แบบผสมผสาน ณ
นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส และเมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่ประชุมได้มีการร่วมรับรองปฏิญญาอู่ฮั่น
(Wuhan Declaration) ซึ่งเป็นการให้คำมั่นที่เน้นย้ำว่าการอนุรักษ์
การฟื้นฟู และการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาด ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของอนุสัญญาฯ ที่ต้องเร่งดำเนินการร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
และความตกลงพหุภาคีระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ และได้รับรองข้อมติ จำนวน
๒๒ เรื่อง และได้เลื่อนข้อมติ จำนวน ๒ เรื่อง
ไปพิจารณาในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ สมัยที่ ๑๕ ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในปี
๒๕๖๘ (สาธารณรัฐซิมบับเวเสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม) โดยข้อมติที่ได้มีการรับรองดังกล่าวจะใช้เป็นกรอบความร่วมมือในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและยับยั้งการสูญหายของระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำในโลก
ตลอดจนเพื่อให้ประเทศภาคีอนุสัญญาดังกล่าวนำไปใช้เป็นแนวทางดำเนินงาน
และเพื่อให้มีการบูรณาการให้บรรลุเป้าหมายการดำเนินงานของไทยทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมที่เห็นควรจัดทำรายการพื้นที่ชุ่มน้ำระดับชาติอย่างเป็นระบบ
พื้นที่ชุ่มน้ำขนาดเล็กที่มีความซับซ้อนตามเกณฑ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ
และมีการดำเนินงานที่บูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงาน รวมทั้งให้พิจารณาปรับแก้ข้อความข้อมติเกี่ยวกับการศึกษาพื้นที่ชุ่มน้ำในภาคการศึกษาในระบบ
เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานร่วมดำเนินการ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
108 | รายงานประจำปี 2565 ของกองทุนการออมแห่งชาติ | กค. | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปี ๒๕๖๕ ของกองทุนการออมแห่งชาติ
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑) ผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์
ของ กอช. พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๕ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ เพิ่มจำนวนสมาชิกอย่างทั่วถึงและส่งเสริมการออมอย่างต่อเนื่อง ยุทธศาสตร์ที่ ๒
มุ่งบริหารเงินลงทุนและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเลิศ ยุทธศาสตร์ที่ ๓
ถ่ายทอดค่านิยมสังคมการออมด้วยภาพลักษณ์ที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล และยุทธศาสตร์ที่ ๔
มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง (๒)
แผนการดำเนินงานในปี ๒๕๖๖ จะดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของ กอช. ระยะ ๕ ปี (พ.ศ.
๒๕๖๖-๒๕๗๐) ภายใต้กรอบวงเงินคำของบประมาณที่เสนอขอรับการจัดสรรจำนวน ๑,๒๑๒.๘๙๕๑ ล้านบาท และเป้าหมายสมาชิกสะสมเป็น ๒.๕๔ ล้านคน (๓)
รายงานการกำกับดูแลกิจการ ประจำปี ๒๕๖๕ โดยคณะกรรมการ กอช.
ได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการของ กอช. เช่น
การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวของ กอช. (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) และแผนปฏิบัติการประจำปี
พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมายขององค์กร การดำเนินการตามหลักในการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล
๘ ประการ ดำเนินการตามนโยบายการลงทุน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการลงทุน (Investment
Policy and Guideline) ที่คณะกรรมการอนุมัติ ทบทวนนโยบายการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน
และคู่มือการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน เป็นต้น และ (๔)
รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินปี ๒๕๖๕ สิ้นสุด ณวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ โดยภาพรวมมีสินทรัพย์และรายได้รวมเพิ่มขึ้น
จากค่าธรรมเนียมในการรับสมัครสมาชิกและการส่งเงินออมของสมาชิก
มีหนี้สินรวมและค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น
จากค่าใช้จ่ายของบุคลากรและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งนี้ รายงานประจำปี ๒๕๖๕
ของกองทุนการออมแห่งชาติ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจแล้ว
อันเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
109 | การพิจารณารับรองวัดคาทอลิก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564 | วธ. | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการรับรองวัดคาทอลิกเป็นวัดคาทอลิก
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๔๙ วัด
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
110 | การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง | กต. | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดอาเซียน
ครั้งที่ ๔๓ และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง และให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสาร
ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามร่างเอกสาร
รวมทั้งให้กระทรวงการต่างประเทศแจ้งให้ความเห็นชอบต่อเลขาธิการอาเซียนในการลงนามร่างเอกสารในนามของอาเซียน
โดยร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ
มีสาระสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของประเทศสมาชิกอาเซียนที่มุ่งเสริมสร้างให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางการเจริญเติบโต
โดยให้ความสำคัญกับความมั่นคงของมนุษย์ควบคู่ไปกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดอาเซียน
ครั้งท ๔๓ และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๒๑ ฉบับ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงการต่างประเทศหรือส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
111 | การร่วมรับรองเอกสารแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานรากในอาเซียน (2566 - 2570) [Plan of Action for the Promotion of Inclusive Business in ASEAN (2023-2027)] | นร.53 | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานรากในอาเซียน
(2566-2570) [Plan of Action for the Promotion of Inclusive
Business in ASEAN (2023-2027)]
และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
และผู้อำนวยการสำนักงานสงเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ให้การรับรองเอกสารแผนปฏิบัติการฯ
ในการประชุมสุดยอดธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ ๖
และการประชุมรัฐมนตรีระดับสูง ซึ่งมีกำหนดจัดระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ
เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยแผนปฏิบัติการฯ เป็นเอกสารเพื่อกำหนดแนวทางและจัดลำดับความสำคัญสำหรับความร่วมมือระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานราก
โดยครอบคลุม ๔ ด้าน ได้แก่ (๑) การสนับสนุนให้คำปรึกษาด้านนโยบาย (๒) การพัฒนาธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและยั่งยืน
การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และ (๓) ศูนย์องค์ความรู้ด้านธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานรากของอาเซียน
ตามที่สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอ และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติการฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างครบวงจร
และควรประสานการทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนที่นำทาง (Roadmap)
การส่งเสริมธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานรากที่ครอบคลุมและสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย
รวมถึงผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
ตลอดจนมีการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
112 | การรับรองร่างเอกสาร ASEAN-Japan New Environment Initiative "Strategic Program for ASEAN Climate and Environment (SPACE)" และร่างเอกสาร ASEAN-U.S. Environment and Climate Work Plan | ทส. | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างเอกสาร ASEAN-Japan New Environment Initiative
"Strategic Program for ASEAN Climate and Environment (SPACE)" และร่างเอกสาร ASEAN-U.S. Environment and Climate Work Plan และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองร่างเอกสารทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าว
ในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ ๑๗
และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ
นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยร่างเอกสารทั้ง ๒
ฉบับดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานบริหารจัดการวิกฤติสิ่งแวดล้อมโลก
การบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์
และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการสร้างขีดความสามารถของประเทศสมาชิกอาเซียน
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
รวมทั้งสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีบนพื้นฐานของความตกลงร่วมกันด้านการเงินและการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศสมาชิกอาเซียน
บนหลักการที่สอดคล้องและบูรณาการกับวิสัยทัศน์อาเซียนและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
(Sustainable Development Goals : SDGs) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าว
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้กรอบการดำเนินงานของร่างเอกสารทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าว
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายละเอียดของโครงการ
ภาระผูกพัน และผลกระทบต่าง ๆ
บนหลักการต่างตอบแทนและประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติเป็นสำคัญ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
113 | กรอบท่าทีประเทศไทยสำหรับการประชุมสมัชชากองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ครั้งที่ 7 | ทส. | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบท่าทีประเทศไทยสำหรับการประชุมสมัชชากองทุนสิ่งแวดล้อมโลก
ครั้งที่ ๗ ที่มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๒-๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ นครแวนคูเวอร์
ประเทศแคนาดา และเห็นชอบในหลักการเอกสารการปรับแก้ไขเอกสารการดำเนินงานของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก
และเอกสารการจัดตั้งและกรอบการสนับสนุนของ Global
Biodiversity Framework Fund โดยกรอบท่าทีฯ มีสาระสำคัญเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกเพื่อการดำเนินงานตามพันธกรณีของอนุสัญญาระหว่างประเทศที่กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกทำหน้าที่เป็นกลไกทางการเงิน
การสนับสนุนให้ประเทศพัฒนาแล้วและแหล่งเงินทุนต่าง ๆ ให้การสนับสนุนในรูปแบบต่าง ๆ
การเห็นชอบในหลักการต่อการปรับแก้ไข Instrument for the Establishment of a
Restructured Global Environment Facility ตามข้อเสนอของที่ประชุมคณะมนตรีกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก
ครั้งที่ ๖๓ และครั้งที่ ๖๔
เพื่อปรับปรุงแนวปฏิบัติในการดำเนินงานของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
และการเห็นชอบในหลักการต่อการจัดตั้งกองทุน Global Biodiversity Framework
Fund เพื่อสนับสนุนเป้าหมายกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก
ตามข้อมติที่ประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ ๑๕
ที่ประเทศไทยได้ร่วมให้การรับรองข้อมติดังกล่าวแล้ว ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศในประเด็นเกี่ยวกับการปรับแก้ไขเอกสารการดำเนินงานของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก
และเอกสารการจัดตั้งและกรอบการสนับสนุนของ Global Biodiversity Framework
Fund ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเอกสารการปรับแก้ไขเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
114 | รายงานการประเมินผลการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการ ประจำปี พ.ศ. 2565 และรายงานการสำรวจความพึงพอใจในการจัดประชารัฐสวัสดิการจากผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและผู้ได้รับบริการทางสังคม ประจำปี พ.ศ. 2565 | กค. | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการประเมินผลการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการ
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ และรายงานการสำรวจความพึงพอใจในการจัดประชารัฐสวัสดิการจากผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและผู้ได้รับบริการทางสังคม
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สรุปได้ ดังนี้ (๑) รายงานการประเมินผลฯ ปี ๒๕๖๕ พบว่า
ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใช้สิทธิเกี่ยวกับค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคสูงสุดที่ (ร้อยละ
๙๘.๖๘) และส่วนใหญ่มีการใช้วงเงินเกือบเต็มจำนวนในคราวเดียวกัน รองลงมาคือ
ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม (ร้อยละ ๒๔.๔๘) ในขณะที่สวัสดิการอื่น ๆ
มีจำนวนผู้ใช้สิทธิน้อย โดยเฉพาะสวัสดิการค่าโดยสารสาธารณะ เนื่องจากมีข้อจำกัด
เช่น ประเภทรถโดยสารที่ใช้กับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีจำนวนน้อย
การกำหนดวงเงินแยกรายประเภทรถโดยสารทำให้ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสูญเสียวงเงินรถโดยสารสาธารณะในส่วนที่ไม่ได้ใช้
ทั้งนี้ ในภาพรวมเกิดผลประโยชน์ที่ได้รับมากกว่าต้นทุน จำนวน ๒๖,๓๐๓.๒๔ ล้านบาท (๒) รายงานการสำรวจความพึงพอใจฯ
พบว่า กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เป็นผู้ว่างงาน ผู้ไม่มีรายได้ และผู้ที่มีอายุมากกว่า
๖๐ ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีความพึงพอใจในสวัสดิการที่ได้รับมากที่สุด
โดยรูปแบบสวัสดิการที่มีความพึงพอใจ คือ
ค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์
และหนังสือพิมพ์เป็นช่องทางที่เข้าถึงผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้น้อยที่สุด
ซึ่งอาจมาจากข้อจำกัดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร
และเห็นว่าควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐผ่านช่องทางโทรทัศน์
วิทยุ หรือเจ้าหน้าที่ในพื้นที่
ตามที่คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
115 | ร่างแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (ASEAN Action Plan for Invasive Alien Species Management) | ทส. | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (ASEAN Action Plan for Invasive Alien Species Management)
และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ให้การรับรอง (Adoption) ร่างแผนปฏิบัติการฯ
โดยร่างแผนปฏิบัติการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบแนวทางการประสานความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ในการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานในการลดผลกระทบทางลบจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศสมาชิกอาเซียน
ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแผนปฏิบัติการฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงบประมาณที่ขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
สำหรับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการภายใต้ร่างแผนปฏิบัติการฯ
เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับการจัดสรร
หรือพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรร
หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรในโอกาสแรกก่อน ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป
ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามภารกิจความจำเป็นและเหมาะสม
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
116 | (ร่าง) แถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (ASEAN Joint Statement on Climate Change to UNFCCC COP 28) | ทส. | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง)
แถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สมัยที่ ๒๘ (ASEAN Joint Statement on Climate Change to UNFCCC COP 28) และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้ความเห็นชอบ
(Endorsement) (ร่าง) แถลงการณ์ร่วมฯ
และมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรอง (Adoption)
(ร่าง) แถลงการณ์ร่วมฯ ในการประชุมสุดยอดอาเซียนต่อไป โดย (ร่าง)
แถลงการณ์ร่วมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียน
ที่มุ่งดำเนินการบรรลุเป้าหมายของกรอบอนุสัญญาฯ
และความตกลงปารีสอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การปรับตัวต่อผลกระทบด้วยกลไกทางการเงินและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศเกี่ยวกับการปรับแก้ถ้อยคำ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน (ร่าง) แถลงการณ์ร่วมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
117 | การร่วมรับรองร่างปฏิญญาว่าด้วยการส่งเสริมรูปแบบธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานราก: ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยเพื่อการเติบโตอย่างเท่าเทียม (Declaration on Promoting Inclusive Business Models: Empowering Micro. Small and Medium Enterprises for Equitable Growth) | นร.53 | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างปฏิญญาว่าด้วยการส่งเสริมรูปแบบธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานราก:
ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยเพื่อการเติบโตอย่างเท่าเทียม (Declaration on Promoting Inclusive Business Models :
Empowering Micro. Small and Medium Enterprises for Equitable Growth) และอนุมัติให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองร่างปฏิญญาฯ
ในการประชุมสุดยอดธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ ๖ และการประชุมรัฐมนตรี ระดับสูง
ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๖ โดยร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการสนับสนุนการดำเนินการในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง
ขนาดย่อม และรายย่อยเพื่อการเติบโตอย่างเท่าเทียม
โดยพิจารณาจากบริบทของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านความสามารถและทรัพยากรที่มีอยู่
ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒. ให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
118 | รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรณีปัญหาการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย และการจัดระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตให้แก่คนจนเมืองในชุมชนแออัดของจังหวัดภูเก็ต | สม. | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
กรณีปัญหาการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย
และการจัดระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตให้แก่คนจนเมืองในชุมชนแออัดของจังหวัดภูเก็ต
ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยมีผลสรุปในภาพรวมว่า
สิทธิในการจัดการที่ดินของรัฐและสิทธิในการเข้าถึงบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานเป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่ดูแลรักษาที่ดินของรัฐแต่ละประเภท
การแยกสิทธิในการจัดการที่ดินและสิทธิในการเข้าถึงบริการสาธารณะออกจากกัน
อาจทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการบริหารจัดการที่ดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบที่ดินแต่ละประเภท
ดังนั้น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบให้สอดคล้องกับหลักการเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ส่วนกรณีเร่งรัดการดำเนินการในการแก้ไขปัญหาตามข้อเสนอของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม
กรณีปัญหาการจัดให้มีสาธารณูปโภคในระหว่างการแก้ไขปัญหาที่ดิน
การจัดให้มีโฉนดชุมชน
และการแก้ไขปัญหาที่ดินของรัฐทุกประเภทได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบคณะทำงานแก้ไขปัญหาและศึกษาแนวทางการจัดการที่ดินทำกินให้กับชุมชนในรูปแบบโฉนดชุมชนภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติแล้ว
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
119 | ขออนุมัติการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลกับหน่วยยามฝั่งเวียดนาม ในความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายทางทะเล | นร.54 | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
สำนักนายกรัฐมนตรี แห่งราชอาณาจักรไทยกับหน่วยยามฝั่งเวียดนาม
แห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายทางทะเล
และอนุมัติในหลักการ ก่อนที่จะมีการลงนาม และอนุมัติให้รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนาม โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ
มีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายทางทะเล
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและยกระดับความปลอดภัยและความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาค
โดยไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
เป็นความตกลงงที่ไม่มีผลทางกฎหมาย จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา
๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเสนอ
โดยกระทรวงการต่างประเทศไม่ต้องออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนาม รวมทั้งให้ปรับแก้ไขชื่อและการลงนามร่างบันทึกความเข้าใจให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมาย
ตามความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงบประมาณ
ที่เห็นควรให้ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามบันทึกความเข้าใจฯ
ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลตามความจำเป็นและเหมาะสม
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
120 | ร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่ายางน้ำกลัดเหนือ และป่ายางน้ำกลัดใต้ บางส่วน ในท้องที่ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. .... | ทส. | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถอนเรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่ายางน้ำกลัดเหนือ
และป่ายางน้ำกลัดใต้ บางส่วน ในท้องที่ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. .... คืนไปได้
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|