ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 4 จากทั้งหมด 6004 หน้า แสดงรายการที่ 61 - 80 จากข้อมูลทั้งหมด 120074 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
61 | การจัดผลัดเวรเฝ้าฯ ของคณะรัฐมนตรีในงานพระราชพิธี รัฐพิธี และพิธีสำคัญในโอกาสต่าง ๆ | นร 05 | 06/09/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการจัดผลัดเวรเฝ้าฯ
ของคณะรัฐมนตรีในงานพระราชพิธี รัฐพิธี และพิธีสำคัญในโอกาสต่าง ๆ โดยแบ่งออกเป็น
๑๑ ผลัด ผลัดละ ๓ คน ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||
62 | การมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวง | นร.05 | 06/09/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔
ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ประกอบด้วย ๑. กรณีที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ๒. กรณีที่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหลายคน ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ๓. กรณีไม่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
|
|||||||||||||||||||||
63 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) | นร.04 | 06/09/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีเห็นชอบแต่งตั้ง นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๑๓ กันยายน ๒๕๖๖) เป็นต้นไป ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||
64 | ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... | มท. | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
ในท้องที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
แปลง “ที่เลี้ยงสัตว์เขาบายสี” บางส่วนในท้องที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ
จังหวัดชลบุรี
เพื่อให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินใช้เป็นที่ตั้งศูนย์พัฒนาวิชาชีพตรวจสอบของประเทศ
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงกลาโหม ที่เห็นว่าแผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ไม่ปรากฎแนวเขตท่อส่งน้ำของฐานทัพเรือสัตหีบกำหนดไว้รวมถึงในหลักการ
เหตุผล หรือเนื้อหาที่กำหนดสงวนแนวเขตท่อส่งน้ำดังกล่าวไว้ในร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้แต่อย่างใด
จึงขอสงวนพื้นที่แนวเขตท่อส่งน้ำใช้ประโยชน์ในราชการของกองทัพเรือในร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นว่าสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและกองทัพเรือได้มีการหารือและได้ข้อยุติร่วมกันเกี่ยวกับการใช้ที่ดินของกองทัพเรือบางส่วนในบริเวณที่ที่จะถอนสภาพ
เพื่อประโยชน์ในการวางท่อส่งน้ำของฐานทัพเรือสัตหีบตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว
โดยที่การเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นการปฏิบัติราชการตามปกติเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายแม่บทบัญญัติให้อำนาจไว้
และมิได้เป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีมิได้เป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีกระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ
หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามมาตรา ๑๖๙ (๑)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๖
(เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร)
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||
65 | การปรับบทบาทภารกิจ หน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต และข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต | นร.12 | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการแก้ไขร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
และส่วนราชการไม่สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง
ในส่วนของหน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) รวม ๓๖ ฉบับ
และมอบหมายสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงต่อไป รวมทั้ง
ข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต
และมอบหมายให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
และสำนักงาน ก.พ. พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ๒.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
และส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงหรือทบวงในส่วนของหน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต รวม
๓๖ ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงแก้ไขหน้าที่และอำนาจของ ศปท.
เพื่อปรับปรุงบทบาทภารกิจให้ครอบคลุมงานด้านส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม
การเสริมสร้างวินัย การส่งเสริมธรรมาภิบาล และการต่อต้านการทุจริต
และมอบหมายสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงต่อไป
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงบประมาณ
และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เช่น ควรแก้ไขข้อความเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของ
ศปท. เป็น “ของส่วนราชการในสังกัด รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน
และหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กฎหมายกำหนด” เพื่อให้ครอบคลุมหน่วยงานของรัฐทุกประเภท
และควรมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้ ศปท.
ร่วมกับหน่วยงานของรัฐในสังกัดนำผลการดำเนินงานด้านคุณธรรมและความโปร่งใสไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐในสังกัดอย่างเป็นระบบและเกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม
ควรกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลและคำนึงถึงภัยคุกคามด้านความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๓. ให้สำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร.
รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เช่น
ควรมีการกำหนดโครงสร้าง และกรอบอัตรากำลัง
แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
การป้องกันการทุจริตและการติดตามประเมินผลของ ศปท.
ที่ชัดเจนเพื่อให้ส่วนราชการขับเคลื่อนการปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม ควรพิจารณากำหนดกรอบโครงสร้างอัตรากำลังของ
ศปท. ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับปริมาณงาน ควรพิจารณาจัดสรรอัตรากำลัง
เพื่อรองรับการดำเนินการในส่วนดังกล่าวด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๔. ให้สำนักงาน ก.พ.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐและสำนักงานคระกรรมการป่องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่เห็นควรพิจารณากำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลและคำนึงถึงภัยคุกคามด้านความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||
66 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดระยอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | มท. | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดระยอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙
กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำหนดเขตอันมีปริมณฑลจำกัดในท้องที่ใดเพื่อการอนุญาตหรืองดอนุญาตใหตั้งสถานบริการโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดระยอง
เพิ่มเติม เพื่อให้การตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดระยอง
เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สอดรับกับนโยบายสำคัญของรัฐบาลและคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ในการกำหนดสิทธิประโยชน์ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เมืองการบินภาคตะวันออก
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||
67 | รัฐบาลสาธารณรัฐฝรั่งเศสเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำประเทศไทย (นายฌ็อง-โกลด ปวงเบิฟ) | กต. | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายฌ็อง-โกลด ปวงเบิฟ (Mr. Jean-Claude Poimboeuf)
ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นายตีแยรี มาตู (Mr.Thierry Mathou) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||
68 | แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร | กษ. | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
รวม ๖ คน
เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๖) เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
ดังนี้ ๑. นายชวลิต ชูขจร ประธานกรรมการ ๒. นางดาเรศร์ กิตติโยภาส กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเกษตร ๓. นายสรรเสริญ อัจจุตมานัส กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ๔. นายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์ ๕.
นางสาวเสริมสุข สลักเพชร์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และนวัตกรรม ๖. นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหาร
|
|||||||||||||||||||||
69 | รายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชน ประจำปี 2563 และ 2564 | พม. | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชน
ประจำปี ๒๕๖๓ และ ๒๕๖๔
โดยคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติได้ประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๕ มีมติเห็นชอบรายงานดังกล่าวแล้ว สรุปสาระสำคัญได้
ดังนี้ (๑) แนวโน้มสถานการณ์ประชากรเด็กและเยาวชนที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
(๒) สภาพการณ์และแนวโน้มของปัญหาเด็กและเยาวชน แบ่งตามประเภทของเด็กและเยาวชน
ได้แก่ ช่วงเด็กปฐมวัย ๐-๖ ปี ช่วงเด็กวัย ๗-๑๒ ปี ช่วงเยาวชน ๑๓-๑๗ ปี ช่วงเยาวชน
๑๘-๒๕ ปี เด็กและเยาวชนที่ต้องการการคุ้มครองเป็นพิเศษ
และเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษ (๓)
การมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการพัฒนาเด็กและเยาวชน (๔)
บทบาทและผลการดำเนินงานของภาคประชารัฐต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน (๕) งบประมาณในการพัฒนาเด็กและเยาวชน
และ (๖) บทสรุปและวิเคราะห์ในเชิงข้อเสนอด้านนโยบายในภาพรวม
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||
70 | ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. …. | นร.09 | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันพระบรมราชชนก
กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์เป็นส่วนราชการภายในสถาบันพระบรมราชชนก
กระทรวงสาธารณสุข ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ |
|||||||||||||||||||||
71 | รายงานตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 ประจำปี 2565 | สสส. | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานตามมาตรา
๓๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ประจำปี ๒๕๖๕
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑) ผลงานเด่นในปี ๒๕๖๕ เช่น สานพลังสู้ภัย “สิ่งเสพติด”
โดยขับเคลื่อนการคงมาตรการห้ามนำเข้าและห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าของประเทศไทย
และเสริมพลังปัญญา สร้างทักษะ “เด็กปฐมวัย”
โดยสนับสนุนการพัฒนากระบวนการสื่อสารส่งเสริมการอ่าน (๒) ผลการดำเนินงานสำคัญตามเป้าประสงค์
๖ ประการ เช่น เป้าประสงค์ที่ ๑ ลดปัจจัยเสี่ยงหลักทางสุขภาพ
โดยพัฒนาองค์ความรู้ประเด็นการควบคุมและป้องกันผลกระทบจากยาสูบ และสนับสนุนการพัฒนาร่างแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ระยะที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐ เป้าประสงค์ที่ ๒ พัฒนากลไกที่จำเป็นเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพอื่น
ๆ โดยจัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ
ซึ่งเป็นภัยด้านสิ่งแวดล้อมที่คุกคามสุขภาพของประชาชน
และสนับสนุนให้คนไทยที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียนให้สามารถเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพและสวัสดิการขั้นพื้นฐาน
และ (๓) การตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการทำงานในปี ๒๕๖๕
ซึ่งรวมถึงรายงานผลการตรวจสอบงบการเงินของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำหรับปีสิ้นสุด ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรับรองแล้วเห็นว่า
ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเสนอ
|
|||||||||||||||||||||
72 | บัญชีรายชื่อแผนปฏิบัติการด้าน... เพื่อเข้าสู่การพิจารณากลั่นกรองของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (เดือนเมษายน - มิถุนายน 2566) | นร.11 สศช | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบบัญชีรายชื่อแผนปฏิบัติการด้าน...
เพื่อเข้าสู่การพิจารณากลั่นกรองของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (เดือนเมษายน-มิถุนายน ๒๕๖๖) ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ๑. สรุปบัญชีรายชื่อแผนปฏิบัติการด้าน...
เพื่อเข้าสู่การพิจารณากลั่นกรองของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยมีแผนปฏิบัติการด้าน...
ที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณากลั่นกรองระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน
๒๕๖๖ จำนวน ๑๓ แผน และมีแผนปฏิบัติการด้าน...
ที่เข้าสู่กระบวนการพิจารณากลั่นกรองของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่
๔ ธันวาคม ๒๕๖๐ จำนวนทั้งสิ้น ๑๙๓ แผน ๒.
การนำเข้าแผนระดับที่ ๓ ในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๖ พบว่า
มีหน่วยงานนำเข้าข้อมูลแผนระดับที่ ๓ รวมจำนวน ๑,๐๘๕ แผน แบ่งเป็น (๑)
แผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี จำนวน ๔๖๒ แผน (๒) แผนปฏิบัติราชการรายปี จำนวน ๔๘๑ แผน
และ (๓) แผนปฏิบัติการด้าน... จำนวน ๑๔๒ แผน ทั้งนี้
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เร่งรัดให้หน่วยงานนำเข้าแผนปฏิบัติราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ในระบบ eMENSCR ให้แล้วเสร็จและรายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนระดับที่
๓ รายปี ภายในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ/ปีปฏิทินถัดไป
เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เรื่อง การติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ ๓.
การดำเนินการในระยะต่อไป
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอยู่ระหว่างการวิเคราะห์ช่องว่างประเด็นการพัฒนาที่จำเป็นต้องมีการจัดทำแผนปฏิบัติการด้าน...
เพื่อให้มีการจัดทำแผนมีความครอบคลุมประเด็นการพัฒนาเฉพาะเท่าที่จำเป็น
โดยให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาทบทวนกฎหมายที่มีการกำหนดให้จัดทำแผนปฏิบัติการด้าน...
เพื่อยกเลิกแผนปฏิบัติการด้าน...
ที่มีความซ้ำซ้อนและไม่จำเป็นและจัดทำเฉพาะประเด็นที่จำเป็นต่อบริบทของเป้าหมายการพัฒนาประเทศ
|
|||||||||||||||||||||
73 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 108 ปี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. .... | กค. | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก
๑๐๘ ปี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล)
ชนิดราคายี่สิบบาท เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสครบ ๑๐๘ ปี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ในวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๖ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||
74 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพิจารณาศึกษา ขับเคลื่อน เร่งรัดการปฏิรูประบบทันตสาธารณสุขไทย และการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรม ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา | สว. | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง การพิจารณาศึกษา ขับเคลื่อน เร่งรัดการปฏิรูประบบทันตสาธารณสุขไทย
และการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรม ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา
โดยกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการฯ
แล้ว สรุปผลการพิจารณาว่า การจัดตั้ง “กรมทันตสุขภาพ”
อยู่ระหว่างการศึกษาพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐
และตามหลักการและแนวทางของสำนักงาน ก.พ.ร. เรื่องการยุบเลิกหรือยุบรวมหน่วยงานในสังกัดที่มีอยู่เดิม
(One-In, X-Out) โดยพิจารณาเป้าหมายที่สำคัญ
คือ การเพิ่มการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรม
เพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรมซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขไทย
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||
75 | รายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของวุฒิสภา | สว. | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของวุฒิสภา โดยกระทรวงแรงงานได้จัดทำคำชี้แจง แนวปฏิบัติ
และตัวอย่างข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างให้ลูกจ้างนำงานไปทำที่บ้านหรือทำงานผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศจากที่ใด
ๆ ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๖ และได้มีการเผยแพร่ให้นายจ้าง
ลูกจ้าง ประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
แล้ว
สำหรับประเด็นการทบทวนกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน
พ.ศ. ๒๕๔๗ กระทรวงแรงงานจะรับไปพิจารณาพร้อมกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายต่อไป
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||
76 | ผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Council: AEC Council) ครั้งที่ 22 | พณ. | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Economic Community Council : AEC
Council) ครั้งที่ ๒๒ เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ กรุงจาการ์ตา
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมีรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ (นายเอกฉัตร ศีตวรรัตน์)
เข้าร่วมการประชุม ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ๑.
ภาพรวมเศรษฐกิจและการค้า คาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน (พ.ศ.
๒๕๖๕-๒๕๖๗) จะมีการขยายตัวในระดับปานกลาง ที่ร้อยละ ๕.๖ ในปี ๒๕๖๕ เป็นร้อยละ ๔.๗
ในปี ๒๕๖๖ และคาดว่าจะขยายตัวเป็นร้อยละ ๕.๐ ในปี ๒๕๖๗
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อลดลงจากร้อยละ ๕.๐ ในปี ๒๕๖๕ เป็นร้อยละ ๔.๔ ในปี ๒๕๖๖ และคาดว่าจะลดลงเหลือร้อยละ
๓.๓ ในปี ๒๕๖๗ ๒.
ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจที่อินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จในปี
๒๕๖๖ (Priority Economic Deliverable : PEDs) มี PEDs จำนวน ๑๖ ประเด็น
โดยอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน จำนวน ๗ ประเด็น เช่น
การลงนามพิธีสาร ฉบับที่ ๒
เพื่อปรับปรุงความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และการจัดทำแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยการจัดทำกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน
เป็นต้น ๓.
วาระที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล ได้เน้นย้ำความสำคัญของวาระเศรษฐกิจดิจิทัลที่จะขับเคลื่อนอาเซียนไปสู่กลุ่มประเทศดิจิทัลชั้นนำ
โดยขอให้เร่งศึกษาประโยชน์และผลกระทบของการจัดทำกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ ๔. การรับรองและให้ความเห็นชอบต่อเอกสารผลลัพธ์
จำนวน ๒ ฉบับ ได้แก่ รับรองร่างภาคผนวกประกอบแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต
ในส่วนของเสาเศรษฐกิจ
และเห็นชอบร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาค
โดยมีประเด็นที่มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมแต่ไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่
๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖
|
|||||||||||||||||||||
77 | ร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2515) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 | มท. | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร
พุทธศักราช ๒๔๗๙ มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร
พุทธศักราช ๒๔๗๙ เนื่องจากมีการบังคับใช้มานาน ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ประกอบกับบริเวณพื้นที่ตามกฎกระทรวงดังกล่าวมีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ
พ.ศ. ๒๕๕๖ ควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินไว้แล้ว ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม ที่เห็นควรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี
และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||
78 | ร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 และตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. .... | สธ. | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท
๓ และตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไข
และอัตราค่าธรรมเนียมการขอขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓
และตำรับวัตถุออกฤทธิ์ ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่เห็นควรจะต้องคำนึงถึงคุณประโยชน์และผลกระทบของประชาชนเป็นสำคัญ
เพื่อป้องกันการนำยาเสพติดไปใช้ในทางที่ให้โทษ และบั่นทอนสุขภาพของประชาชน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขอขึ้นทะเบียนและการปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมตามร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้ประชาชนทราบอย่างทั่งถึง
และแจ้งกระทรวงการคลังจัดทำงบประมาณรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
เพื่อใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินงานทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเป็นประจำทุกสิ้นปีงบประมาณตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||
79 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2566 | นร.11 สศช | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ เห็นชอบ และรับทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม
๒๕๖๖ โดย คกง.
มีมติเกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยอนุมัติให้กรมควบคุมโรคเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย
จำนวน ๖๐,๐๐๐,๐๐๐ โดส (AstraZeneca) ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ และโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
(COVID-19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย จำนวน ๓๐,๐๐๒,๓๑๐ โดส (Pfizer) ปี พ.ศ.
๒๕๖๕ ของกระทรวงสาธารณสุข โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการจากเดือนกันยายน
๒๕๖๖ เป็นเดือนมีนาคม ๒๕๖๗ อนุมัติให้จังหวัดเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
ปี ๒๕๖๕ ของกระทรวงมหาดไทย จำนวน ๗ จังหวัด ๙ โครงการ กรอบวงเงิน ๗๔.๑๓๖๓ ล้านบาท
มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการในระบบ eMENSCR
ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับจากคณะรัฐมนตรี
รายงานผลสัมฤทธิ์และคืนเงินกู้เหลือจ่าย (ถ้ามี) ตามระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
และรับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ราย ๓ เดือน ครั้งที่ ๘ (๑ พฤษภาคม-๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖) ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้กระทรวงต้นสังกัดติดตามหน่วยงานเจ้าของโครงการในการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
และกำกับดูแลหน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนดเพื่อให้การใช้จ่ายเงินกู้เป็นไปอย่างคุ้มค่า
มีประสิทธิภาพ และบรรลุผลสัมฤทธิ์ของโครงการตามที่ได้กำหนดไว้
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ.
๒๕๖๔ ข้อ ๒๒ และ ๒๓ สำหรับโครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก
หากมีเงินกู้เหลือจ่ายของโครงการนั้น
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังภายใน ๓ เดือน
นับจากวันที่สิ้นสุดการดำเนินโครงการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖
เพื่อให้การบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๕
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องครบถ้วน เป็นไปตามหลักเกณฑ์
อัตราค่าใช้จ่าย และมาตรฐานของทางราชการอย่างประหยัด รวมทั้งเร่งรัดการใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย
ตลอดจนให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลโครงการ เพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างยั่งยืน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||
80 | สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | นร.01 | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ ๓
ของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ (เดือนเมษายน-มิถุนายน ๒๕๖๖)
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ๑.
สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ ๓
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ พร้อมผลการวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น
รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ ผ่านช่องทางการร้องทุกข์
๑๑๑๑ รวมทั้งสิ้น ๑๓,๘๗๗ เรื่อง สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ ๑๑,๗๕๗
เรื่อง โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับการประสานเรื่องร้องทุกข์ฯ มากที่สุด (๑,๒๓๒ เรื่อง) สำหรับเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด คือ
เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน (๑,๓๔๘ เรื่อง) และข้อจำกัดปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์
เช่น (๑) สถิติการใช้บริการช่องทางรับเรื่องร้องทุกข์มีจำนวนลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ และ (๒) ปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญยังเป็นปัญหาที่ประชาชนร้องเรียนเป็นจำนวนมาก
ประกอบกับปัจจุบันประชาชนมีช่องทางในการเข้าถึงการร้องเรียน ร้องทุกข์ได้ง่าย
ส่งผลให้ปัญหาดังกล่าวมีจำนวนมากในทุกไตรมาส ๒.
ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงาน เช่น (๑) ควรให้หน่วยงานส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค และระดับท้องถิ่นที่มีระบบสารสนเทศเรื่องร้องทุกข์
และมีความพร้อมกำหนดแนวทางเข้าร่วมร้องทุกข์กับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
เพื่อการแบ่งปันข้อมูลและเชื่อมโยงการทำงานและเพื่อขับเคลื่อนการบริการประชาชนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
และ (๒) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญเคร่งครัดในการตรวจสอบ
ปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อลดการเกิดเหตุในพื้นที่
และควรประชาสัมพันธ์ให้สถานประกอบการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
|