ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 6004 หน้า แสดงรายการที่ 41 - 60 จากข้อมูลทั้งหมด 120074 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
41 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ) | รง. | 13/09/2566 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง
นายธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ เป็นข้าราชการการเมือง ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๓ กันยายน ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอ
|
||||||||||||||||||
42 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (1. นายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | กค. | 13/09/2566 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
จำนวน ๓ ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๓ กันยายน ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑. นายมานะศักดิ์
จันทร์ประสงค์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) ๒.
นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ๓.
นายณัฏฐ์พัฒน์ รัฐไผท ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์
อมรวิวัฒน์)
|
||||||||||||||||||
43 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายณณัฏฐ์ หงษ์ชูเวช และนายกิตติ เชาวน์ดี) | กก. | 13/09/2566 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
จำนวน ๒ ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๓ กันยายน ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ดังนี้ ๑. นายณณัฏฐ์
หงษ์ชูเวช ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ๒.
นายกิตติ เชาวน์ดี ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
|
||||||||||||||||||
44 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (พลเอก สมศักดิ์ รุ่งสิตา และพลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์) | กห. | 13/09/2566 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
จำนวน ๒ ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๓ กันยายน ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเสนอ ดังนี้ ๑. พลเอก
สมศักดิ์ รุ่งสิตา ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่ากระทรวงกลาโหม
|
||||||||||||||||||
45 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายสุทธิเกียรติ วีระกิจพานิช และนายวัลลภ รุจิรากร) | ดศ. | 13/09/2566 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
จำนวน ๒ ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๓ กันยายน ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ดังนี้ ๑. นายสุทธิเกียรติ
วีระกิจพานิช ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ๒.
นายวัลลภ รุจิรากร ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
|
||||||||||||||||||
46 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (1. นายสมคิด เชื้อคง ฯลฯ จำนวน 4 ราย) | นร.04 | 13/09/2566 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
จำนวน ๔ ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๓ กันยายน ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. นายสมคิด
เชื้อคง ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายการเมือง ๒.
นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายการเมือง ๓.
นายพงศ์ศรัณย์ อัศวชัยโสภณ ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายการเมือง ๔. นายชัย
วัชรงค์ ดำรงตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
|
||||||||||||||||||
47 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายวิชาญ มีนชัยนันท์ และนาวาอากาศตรี พลเทพ สุนทโร) | สธ. | 13/09/2566 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
จำนวน ๒ ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๓ กันยายน ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้ ๑. นายวิชาญ
มีนชัยนันท์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ๒.
นาวาอากาศตรี พลเทพ สุนทโร ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
|
||||||||||||||||||
48 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายสมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ และนางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล) | มท. | 13/09/2566 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
จำนวน ๒ ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๓ กันยายน ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้ ๑. นายสมเจตน์
ลิมปะพันธุ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ๒.
นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
|
||||||||||||||||||
49 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายพงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ และนายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์) | คค. | 13/09/2566 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
จำนวน ๒ ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๓ กันยายน ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคมเสนอ ดังนี้ ๑. นายพงศ์กวิน
จึงรุ่งเรืองกิจ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ๒.
นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
|
||||||||||||||||||
50 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว) | นร.04 | 13/09/2566 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง
นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง
ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบแล้ว ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||
51 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (1. นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | กต. | 13/09/2566 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
จำนวน ๓ ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๓ กันยายน ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑. นายมาริษ
เสงี่ยมพงษ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ ๒.
นายธนรัช จงสุทธานามณี ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ๓.นายรัศม์
ชาลีจันทร์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงการต่างประเทศ
|
||||||||||||||||||
52 | แนวทางปฏิบัติในการรักษาความลับของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรี และการให้ข่าวสารแก่สื่อมวลชน | นร 05 | 13/09/2566 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางปฏิบัติในการรักษาความลับของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรี
และการให้ข่าวสารแก่สื่อมวลชน ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๒ (เรื่อง
การปรับปรุงแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับการรักษาความลับของทางราชการ
และการให้สัมภาษณ์หรือให้ข่าวสารแก่สื่อมวลชน) วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗ (เรื่อง
การรักษาความลับของทางราชการ) และวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ (เรื่อง
การรักษาความลับในการประชุมคณะรัฐมนตรี) ๒. แนวทางปฏิบัติในการรักษาความลับของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรีและการให้ข่าวสารแก่สื่อมวลชน
โดยให้รัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ซึ่งเข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคระรัฐมนตรีถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
ดังนี้ ๒.๑
ให้รักษาความลับหรือเอกสารของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรี
โดยแบ่งออกเป็น ๓ ชั้น คือ ลับที่สุด ลับมาก และลับ
ตามชั้นความลับที่ได้กำหนดไว้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งหากความลับดังกล่าวทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนรั่วไหลไปถึงบุคคลผู้ไม่มีหน้าที่ได้ทราบ
จะทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงและประโยชน์แห่งรัฐ ทั้งนี้
กรณีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรี
เลขาธิการคณะรัฐมนตรีหรือรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจสั่งให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวตามเงื่อนไขที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำหนดตามนัยมาตรา
๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติจข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ๒.๒
การพิจารณาหารือหรืออภิปรายของคณะรัฐมนตรีในการประชุมคณะรัฐมนตรีไปถือเป็นความลับของทางราชการ
ดังนั้น รัฐมนตรี ผู้เข้าร่วมการประชุม และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรี
พึงระมัดระวังและไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ
เกี่ยวกับเรื่องที่พิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ๒.๓ ในการจัดทำระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี
หากหน่วยงานเจ้าของเรื่องเห็นว่าเรื่องที่เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่มีชั้นความลับ
มีความอ่อนไหว และมีผลกระทบสูงเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ
ความมั่นคง ประโยชน์สาธารณะ หรือประโยชน์ของประเทศชาติ หากถูกนำไปเปิดเผยต่อสาธารณชนแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลประโยชน์ของชาติอย่างร้ายแรง
ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องระบุไว้ในหนังสือนำส่งเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีให้ชัดเจนว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่มีชั้นความลับ
มีความอ่อนไหว และมีผลกระทบสูงอย่างไร
หรือหากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นเรื่องที่เข้าลักษณะดังกล่าว
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะจัดทำระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยจะแจกเอกสารระหว่างการพิจารณาเรื่องดังกล่าวในระบบเรียกดูระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีด้วยเครื่องแท็บเล็ต
(M-VARA) และหลังจากคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเสร็จจะถอนเรื่องออกจากระบบ
M-VARA ทันที ๒.๔ ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐดูแล
และระมัดระวังมิให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเอกสารการประชุมคณะรัฐมนตรีเปิดเผยเอกสารดังกล่าวก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี ๒.๕
กรณีมีผู้นำเอกสารหรือข้อความซึ่งเป็นความลับของทางราชการไปเผยแพร่จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
หรือเกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องที่ได้รับความเสียหายพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย เช่น
กรณีข้าราชการพลเรือนฝ่าฝืนข้อปฏิบัติตามมาตรา ๘๒ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งบัญญัติให้ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาความลับของทางราชการ
โดยหากฝ่าฝืน ข้าราชการพลเรือนผู้นั้นถือเป็นผู้กระทำผิดวินัยตามมาตรา ๘๔
และหากการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงกรณีจะถือว่าข้าราชการพลเรือนผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา
๘๕ (๗) ทั้งนี้ จะต้องถูกดำเนินการทางวินัยตามมาตรา ๙๗ กล่าวคือ
ให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี อนึ่ง
ตามประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๔
ได้วางหลักเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมในเรื่องการรักษาความลับของทางราชการไว้เช่นเดียวกันตามข้อ
๗ (๓) กล่าวคือ ข้าราชการการเมืองต้องยึดถือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ
โดยอย่างน้อยต้องไม่นำข้อมูลข่าวสารอันเป็นความลับของทางราชการซึ่งตนได้มาในระหว่างอยู่ในตำแหน่งไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เอกชนทั้งในระหว่างการดำรงตำแหน่งและเมื่อพ้นจากตำแหน่ง
และข้อ ๘ (๕) กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องรักษาความลับของทางราชการ
เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจตามกฎหมาย ๒.๖
เรื่องใดที่มีผลกระทบต่อประชาชนหรือประเทศชาติโดยส่วนรวม
เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติแล้ว
ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องที่รับผิดชอบเป็นหน่วยงานหลักชี้แจงต่อสาธารณชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงเพิ่มเติมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
กรณีเป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหรืออนุมัติตามมติของคณะกรรมการต่าง ๆ
แล้ว ให้ประธานกรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการชี้แจงในทำนองเดียวกันด้วย ๒.๗
ให้โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่และอำนาจให้ข่าวสารเกี่ยวกับการประชุมคณะรัฐมนตรี
มติคณะรัฐมนตรี การดำเนินงานของคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือกระทรวง กรม
ตลอดจนชี้แจงต่อสาธารณชนเมื่อปรากฎว่ามีการเสนอข่าวคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงหรือไม่ถูกต้องครบถ้วนอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคลากรหรือรัฐบาล
หรือการปฏิบัติผิดพลาดได้ ทั้งนี้ อาจขอให้โฆษกกระทรวงเป็นผู้แถลงข่าว หรือออกคำชี้แจงเอง
หรือร่วมกันแถลงข่าว หรือชี้แจงด้วยก็ได้
|
||||||||||||||||||
53 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (1. นายกองตรี พิสิษฏ์ พิพัฒน์วิไลกุล ฯลฯ จำนวน 4 ราย) | พณ. | 13/09/2566 | |||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
54 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นางสาวเพชรดาว โต๊ะมีนา) | อว. | 13/09/2566 | |||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
55 | คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี | นร.05 | 13/09/2566 | |||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
56 | แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | กต. | 13/09/2566 | |||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
57 | การจัดทำคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา | นร.05 | 06/09/2566 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาและมอบหมายให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.
มอบหมายให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรับไปประสานเพื่อแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบว่าคณะรัฐมนตรีมีความพร้อมที่จะแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาได้ตั้งแต่วันที่
๑๑ กันยายน ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ๓.
มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแปลคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีเป็นภาษาอังกฤษ
|
||||||||||||||||||
58 | แนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐในการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี | นร.05 | 06/09/2566 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐในการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี
ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ (เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการเสนอเรื่องทั่วไปต่อคณะรัฐมนตรี) ๒. การเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี
หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องจะต้องถือปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี
พ.ศ. ๒๕๔๘ และระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ.
๒๕๔๘ อย่างเคร่งครัด ดังนี้ ๒.๑ ผู้ลงนามในหนังสือเสนอเรื่องดังกล่าว
ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องดำเนินการให้เป็นไปตามนัยมาตรา ๖
แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘
ที่บัญญัติให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้ลงนามเสนอเรื่อง ๒.๒
กรณีเรื่องที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่จะต้องได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติจากหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นก่อน
(ตามระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๙)
ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องขอความเห็นชอบหรือขออนุมัติจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้เสร็จสิ้นก่อน
แล้วจึงส่งเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพร้อมกับความเห็นชอบหรืออนุมัตินั้น ๓.
กรณีเรื่องที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่มีกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการอย่างชัดเจน
ซึ่งหน่วยงานเจ้าของเรื่องทราบล่วงหน้าอยู่แล้ว เช่น
เรื่องเกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมนานาชาติ เป็นต้น
ให้เสนอเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดระยะเวลาของเรื่องนั้น
ๆ อย่างน้อย ๑๕ วัน สำหรับกรณีเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน
ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องส่งเรื่องให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอย่างน้อย ๗
วัน ก่อนวันประชุมคณะรัฐมนตรี
|
||||||||||||||||||
59 | การมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้ตรวจพิจารณาร่างมติคณะรัฐมนตรีและกลั่นกรองเรื่องก่อนเสนอนายกรัฐมนตรี | นร.05 | 06/09/2566 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์)
เป็นผู้ตรวจพิจารณาร่างมติคณะรัฐมนตรีที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ๒.
มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์)
เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองเรื่องดังต่อไปนี้ก่อนนำเสนอนายกรัฐมนตรีต่อไป ๒.๑
การดำเนินคดีในศาลปกครองในกรณีที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี
หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีถูกฟ้องในคดีปกครอง ๒.๒ การดำเนินคดีในศาลรัฐธรรมนูญในกรณีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถูกร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ๒.๓
เรื่องเกี่ยวกับกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ
|
||||||||||||||||||
60 | การกำหนดวิธีการประชุมคณะรัฐมนตรี | นร.05 | 06/09/2566 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการกำหนดวิธีการประชุมคณะรัฐมนตรี
ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. วัน
เวลา และสถานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ๒. องค์ประกอบของการประชุมคณะรัฐมนตรี ๓.
ระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี ๔.
ประเภทแฟ้มระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี ๕.
การส่งระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี ๖.
คณะกรรมการรัฐมนตรี ๗.
การลาประชุมคณะรัฐมนตรี ๘.
สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี
|