ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 10 จากทั้งหมด 6189 หน้า แสดงรายการที่ 181 - 200 จากข้อมูลทั้งหมด 123771 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
181 | รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย-รวันดา | คค. | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้ ๑. รับทราบบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย - รวันดา ไทย
- โมร็อกโก และไทย - เนปาล และบันทึกการหารือระหว่างไทย - ซาอุดีอาระเบีย มีสาระสำคัญเป็นเอกสารสรุปผลการเจรจาหารือร่วมกันระหว่างคู่ภาคี ๒. เห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างไทย
- รวันดา, ไทย - โมร็อกโก, ไทย - เนปาล และไทย - ซาอุดีอาระเบีย มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดสิทธิ และข้อบทต่าง
ๆ ในการดำเนินการบริการเดินอากาศระหว่างประเทศไทยกับประเทศดังกล่าว ๓. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามร่างความตกลงฯ และให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม
(Full Powers) ให้แก่ผู้ที่ได้รับมอบหมาย ๔. ในส่วนของรวันดา โมร็อกโก และเนปาล :
เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของฝ่ายไทยเพื่อยืนยันการมีผลใช้บังคับของบันทึกความเข้าใจฯ/ร่างความตกลงฯ
รวมถึงมอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูต โดยให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถปรับถ้อยคำตามความเหมาะสมที่ไม่กระทบกับสาระสำคัญ ๕. ในส่วนของซาอุดีอาระเบีย : มอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแจ้งเป็นหนังสือผ่านช่องทางทางการทูต
เพื่อให้ร่างความตกลงฯ ระหว่างไทย - ซาอุดีอาระเบีย มีผลใช้บังคับ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
182 | รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบีย | คค. | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
ดังนี้ ๑.
รับทราบบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย - รวันดา ไทย - โมร็อกโก และไทย - เนปาล และบันทึกการหารือระหว่างไทย
- ซาอุดีอาระเบีย ฉบับลงนามเมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๖ ๒.
เห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างไทย - รวันดา ไทย - โมร็อกโก ไทย
- เนปาล และไทย - ซาอุดีอาระเบีย ๓.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามร่างความตกลงฯ
และให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวด้วย ๔.
เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของฝ่ายไทย เพื่อยืนยันการมีผลใช้บังคับของบันทึกความเข้าใจฯ/ร่างความตกลงฯ
ระหว่างไทย - รวันดา ไทย - โมร็อกโก และไทย – เนปาล รวมถึงมอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตดังกล่าว
โดยให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถปรับถ้อยคำตามความเหมาะสมที่ไม่กระทบกับสาระสำคัญ ๕. มอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแจ้งเป็นหนังสือผ่านช่องทางทางการทูตดำเนินการตามกระบวนการเสร็จสิ้นเพื่อให้ร่างความตกลงฯ
ระหว่างไทย - ซาอุดีอาระเบีย มีผลใช้บังคับ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
183 | การบูรณาการการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ | นร. | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการหารือเกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกับผู้บัญชาการทหารบก
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงมหาดไทย
เพื่อกำหนดแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะยาว
ซึ่งนอกจากจะมุ่งเน้นการดำเนินงานด้านความมั่นคงการดูแลความสงบเรียบร้อย
และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและใกล้ชิดระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนในพื้นที่แล้ว
ยังต้องให้ความสำคัญกับการดูแลและสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชนในด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วย
โดยให้ถือเป็นหน้าที่ของทุกหน่วยงานที่ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับงานด้านความมั่นคงอย่างบูรณาการ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่มีบุคลากรประจำอยู่ในพื้นที่ เช่น กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงศึกษาธิการ ดังนั้น จึงขอมอบหมายการดำเนินการ ดังนี้ ๑.
ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกำชับให้หน่วยงาน
และเจ้าหน้าที่ในสังกัดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ [จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา
(อำเภอจะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย)] ปฏิบัติงานตามหน้าที่และอำนาจอย่างเต็มที่ภายใต้การกำกับและบูรณาการการดำเนินงานในภาพรวมของผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละจังหวัด
ทั้งนี้ ให้น้อมนำหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในเรื่อง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาเป็นหลักในการปฏิบัติงานร่วมกันด้วย ๒. ให้กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการศึกษา
และการเรียนการสอนให้แก่เด็กและเยาวชนในโรงเรียนและสถานศึกษาต่าง ๆ
รวมถึงการสื่อสารและสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ แก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ให้ถูกต้อง ชัดเจน น่าเชื่อถือ เพื่อปลูกฝังทัศนคติที่ดีและถูกต้อง ในการเป็นพลเมืองของชาติ
โดยไม่ถูกหลอกลวงหรือครอบงำด้วยข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่าง ๆ อันเป็นเท็จ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
184 | การเตรียมการจัดประชุมทูตไทยประจำปี | นร. | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่กระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดจัดการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลกและกระทรวงพาณิชย์มีกำหนดจัดการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ
(การประชุมทูตพาณิชย์ทั่วโลก) ขึ้นเป็นประจำทุกปี นั้น
เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายด้านการต่างประเทศและการพาณิชย์ของไทยมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นเอกภาพ
จึงขอให้กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงพาณิชย์จัดการประชุมประจำปีดังกล่าวในปีต่อ
ๆ ไปร่วมกัน
โดยให้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่มีสำนักงาน/ผู้แทนประจำอยู่ในต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมด้วยให้ครบถ้วน
เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เพื่อจะได้ร่วมกันพิจารณากำหนดแนวทางและกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนนโยบายต่างประเทศของทีมประเทศไทย
(Team Thailand) ให้ชัดเจน เหมาะสม ครบถ้วน
และเป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยยึดผลประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับนานาประเทศในมิติต่าง
ๆ การดึงดูดการลงทุน การส่งออก และการแสวงหาตลาดใหม่ ๆ ให้แก่สินค้าไทย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
185 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบการค้าข้าว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | พณ. | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบการค้าข้าว
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมอัตราค่าธรรมเนียมการประกอบการค้าข้าว
โดยปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกทั่วไปและผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อ
และยกเว้นค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตและการต่ออายุหนังสืออนุญาตดังกล่าวแก่เกษตรกร
กลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์ ซึ่งได้จดทะเบียนรับรองไว้กับหน่วยงานราชการ
เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.ร.
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย เช่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เห็นควรมีการกำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมโอกาสทางการตลาดและความสามารถในการส่งออกข้าวไปจำหน่ายต่างประเทศสำหรับเกษตรกร
กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ และผู้ประกอบการ SMEs ที่มีศักยภาพควบคู่กับการบังคับใช้กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมฯ ดังกล่าว |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
186 | สรุปผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะ กรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 (เรื่อง ปัญหาการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา) | พน. | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบสรุปผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะ
กรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ (เรื่อง
ปัญหาการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา) ซึ่งมีผลการดำเนินการในด้านต่าง ๆ เช่น ๑)
ด้านแนวปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒) ด้านการกำหนดมาตรฐานแผงโซลาร์เซลล์ ๓) ด้านมาตรฐานผู้ติดตั้ง
และ ๔) ด้านการสื่อสารสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และแจ้งให้ผู้ตรวจการแผ่นดินทราบต่อไป ๒. ให้กระทรวงพลังงาน กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามหน้าที่และอำนาจของแต่ละหน่วยงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
187 | รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | นร.02 | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบสรุปรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น ๑) การสร้างความตระหนักรู้
ความเข้าใจเรื่องสื่อสารที่สำคัญของประเทศและเกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม
เสริมสร้างค่านิยมที่ดีในสังคม ๒) การสร้างการรับรู้ภาพลักษณ์เชิงบวกของประเทศไทยต่อประชาคมโลก ๓) การส่งเสริมให้ประชาชนมีทักษะการรู้เท่าทันสื่อและข่าวปลอม
(Fake News) สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องผ่านช่องทางที่น่าเชื่อถือ
เช่น จัดตั้งกลุ่มไลน์ “๒๐ กระทรวง ชี้แจงประเด็น” ๔)
การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศที่เหมาะสมกับยุคดิจิทัล
และ ๕) ผลการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาภายใต้นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติในระดับจังหวัด ๒.
มอบหมายหน่วยงานภาครัฐรับข้อเสนอของประชาชนไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ได้แก่
กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงยุติธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ๓. มอบหมายกระทรวงมหาดไทยแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัด
๗๖ จังหวัด ให้ความสำคัญกับงานประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนในพื้นที่และสั่งการให้หน่วยงานในระดับจังหวัดสนับสนุนและประสานการดำเนินงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนและพัฒนางานประชาสัมพันธ์ในภาพรวมของประเทศให้เกิดประสิทธิภาพ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
188 | การบริหารจัดการปริมาณผลไม้ฤดูการผลิตปี 2568 | นร. | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่ได้รับรายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า
ปริมาณผลไม้ของไทยหลายชนิด เช่น ทุเรียน มังคุด มะม่วง ลำไย ในฤดูกาลผลิตปี ๒๕๖๘
นี้ จะมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากกว่าหลายปีที่ผ่านมาในอัตราร้อยละ ๑๐ - ๓๐
ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำได้
จึงขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งบูรณาการการดำเนินการในเรื่องต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อบริหารจัดการปริมาณผลผลิตให้เหมาะสม
โดยกระจายผลผลิตให้สมดุลกับความต้องการของตลาดทั้งเพื่อการบริโภคภายในประเทศและเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศเพื่อไม่ให้เกิดภาวะสินค้าล้นตลาดและสามารถรักษาเสถียรภาพด้านราคาของผลผลิตไว้ได้
โดยให้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อผลักดันการส่งออกผลไม้ไทยไปยังประเทศที่มีความต้องการผลไม้ไทยให้รวดเร็วและแพร่หลาย
โดยจะต้องตรวจสอบคุณภาพของผลไม้ให้ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยตามข้อกำหนดของประเทศปลายทางอย่างเคร่งครัดด้วย
นอกจากนี้ ให้พิจารณาดำเนินการส่งเสริมให้มีการเพิ่มมูลค่าทางการตลาดของผลไม้ดังกล่าวข้างต้น
เช่น การแปรรูปผลผลิต รวมทั้งการขยายและเพิ่มช่องทางการตลาดในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น
การใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
189 | เหตุเพลิงไหม้โรงงานอุตสาหกรรม | นร. | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ในช่วงที่ผ่านมาได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นในหลายพื้นที่
โดยล่าสุดเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๘ ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้โรงงานเฟอร์นิเจอร์ในเขตลาดกระบังอย่างรุนแรงและต้องใช้เวลายาวนานในการระงับเหตุเพลิงไหม้ดังกล่าว
จึงขอให้กระทรวงมหาดไทย (กรุงเทพมหานคร) ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการตรวจสอบหาสาเหตุของการเกิดเหตุเพลิงไหม้
ความถูกต้องของการขออนุญาตก่อสร้างและการใช้ประโยชน์ของสิ่งก่อสร้าง
ความมั่นคงปลอดภัยของอาคารหลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ ตลอดจนผลกระทบในด้านต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่กระจายของสารเคมีอันตรายและควันไฟ
รวมทั้งให้เร่งดำเนินการสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้ดังกล่าวให้เหมาะสมและรวดเร็วด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
190 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | ยธ. | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อกำหนดให้คดีความผิดทางอาญาเป็นคดีพิเศษเพิ่มเติมจำนวน ๓ คดีความผิด
ดังนี้ ๑) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ๒)
คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และ ๓)
คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
191 | รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย - โมร็อกโก | คค. | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้ ๑. รับทราบบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย - รวันดา ไทย
– โมร็อกโก และไทย - เนปาล และบันทึกการหารือระหว่างไทย - ซาอุดีอาระเบีย
ฉบับลงนามเมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๖ ๒.
เห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างไทย - รวันดาไทย - โมร็อกโก ไทย
- เนปาล และไทย - ซาอุดีอาระเบีย ๓. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามร่างความตกลงฯ
และให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวด้วย ๔.
เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของฝ่ายไทย เพื่อยืนยันการมีผลใช้บังคับของบันทึกความเข้าใจฯ/ร่างความตกลงฯ ระหว่างไทย -
รวันดา ไทย - โมร็อกโก และไทย - เนปาล รวมถึงมอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตดังกล่าว โดยให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถปรับถ้อยคำตามความเหมาะสมที่ไม่กระทบกับสาระสำคัญ ๕. มอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแจ้งเป็นหนังสือผ่านช่องทางทางการทูตดำเนินการตามกระบวนการเสร็จสิ้นเพื่อให้ร่างความตกลงฯ
ระหว่างไทย - ซาอุดีอาระเบีย มีผลใช้บังคับ ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
ที่เห็นควรพิจารณาหารือกับฝ่ายรวันดาและเนปาลอีกครั้ง ถึงความจำเป็นในการจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรโมร็อกโกและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของไทย
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
192 | ร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | นร 05 | 13/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ไปดำเนินการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. ๒๕๖๒ และเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
193 | ผลการเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรี สมัยที่ 69 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา | พม. | 06/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรี
สมัยที่ ๖๙ (Commission on the Status
of Women - CSW 69) ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๘ ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก
สหรัฐอเมริกา โดยผลการเข้าร่วมประชุมฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ๑)
การรับรองเอกสารผลลัพธ์ปฏิญญาทางการเมืองเนื่องในโอกาสครบรอบ
๓๐ ปี ของการประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องสตรี ครั้งที่ ๔ [คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ (๓ มีนาคม ๒๕๖๘)
ให้ความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้การรับรองร่างเอกสารดังกล่าว] โดยฉันทามติและไม่มีการลงนาม เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๘ โดยปฏิญญาที่ได้รับการรับรองดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงจากร่างปฏิญญาฯ
ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ซึ่งเป็นการตัดถ้อยคำที่ซ้ำซ้อนและมีการจัดลำดับความสำคัญให้สอดคล้องกับปฏิญญาปักกิ่งและแผนปฏิบัติการ
โดยเน้นย้ำความสำคัญของการมีส่วนร่วมและความเป็นผู้นำของสตรี ๒)
การประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีโดยร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนประเด็นมาตรการและกลไกทางสถาบันระดับชาติด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ
รวมทั้งแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของสตรีและเด็กหญิงที่เผชิญกับการเลือกปฏิบัติในหลายมิติ
๓) การกล่าวถ้อยแถลงในนามประเทศไทย ถึงการครบรอบ ๓๐ ปี ของปฏิญญาปักกิ่งและการตระหนักถึงการดำเนินการตามปฏิญญาฯ
โดยไทยได้ขับเคลื่อนนโยบายภายใต้ปฏิญญาฯ เช่น การจ้างงาน การส่งเสริมคุ้มครองสิทธิของสตรี
เด็กหญิง การออกกฎหมาย สมรสเท่าเทียม การจัดการกับความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศ
และ ๔) การหารือทวิภาคีกับผู้แทนระดับสูงและองค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่
ผู้บริหารโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติและหัวหน้าคณะสาธารณรัฐสิงคโปร์ในประเด็นการให้ความสำคัญกับการลงทุนทางสังคม
โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ปัญหาวิกฤตประชากร
อัตราการเกิดต่ำและการร่วมมือเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
194 | ผลการพิจารณา เรื่อง ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา | ปปท. | 06/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณา เรื่อง
ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยสรุปความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาสำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบในการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเขตอำนาจการพิจารณาคดีประพฤติมิชอบ
ดังนี้ ๑) สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานศาลยุติธรรม และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
มีความเห็นสอดคล้องกันว่าการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเขตอำนาจการพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเพื่อให้ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบมีเขตอำนาจพิจารณาคดีที่ปัจจุบันอยู่ในเขตอำนาจศาลทหารมีความเหมาะสมแล้วเพื่อให้การพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบที่ใช้ระบบไต่สวนมีมาตรฐานการพิจารณาเดียวกัน
๒) กระทรวงกลาโหม เห็นว่าการให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบแก่บุคคลที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทหารมีความเหมาะสมแล้ว
เนื่องจากศาลทหารได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบให้มีมาตรฐานเช่นเดียวกับการพิจารณาคดีในระบบไต่สวนของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบแล้ว
และ ๓) สำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่มีความเห็นหรือข้อสังเกตเพิ่มเติม ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
195 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ประเภทน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล | กค. | 06/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ๔๑)
พ.ศ. ๒๕๖๘ โดยปรับขึ้นอัตราภาษีสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
ประเภทน้ำมันเบนซินและดีเซล ๑ บาทต่อลิตร
เพื่อส่งผลให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นอันจะทำให้ฐานะการคลังมีความมั่นคงและรักษาเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงพลังงาน
สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อให้มีการปรับลดเงินนำส่งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเท่ากับภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อราชการส่วนท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้น
เพื่อไม่ให้การปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลในครั้งนี้มีผลกระทบต่อราคาขายปลีกของน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล ๓.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาระยะเวลาการดำเนินการบังคับใช้กฎกระทรวงในเรื่องนี้ให้มีความเหมาะสม
โดยมิให้ส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลของประชาชน และรับความเห็นของกระทรวงพลังงานและสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ กระทรวงพลังงาน เห็นว่าหากเกิดสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลจนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงขาดสภาพคล่อง
ให้กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพสามิต พิจารณาปรับลดอัตราภาษีและน้ำมันดีเซลลง
เพื่อรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
196 | สรุปผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง การศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์) ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่ง ระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์) สภาผู้แทนราษฎร | คค. | 06/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง การศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน
(โครงการแลนด์บริดจ์) ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน
(โครงการแลนด์บริดจ์) สภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว สรุปประเด็นได้ เช่น ๑) ด้านการศึกษา
ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ของปริมาณตู้สินค้าที่จะผ่านโครงการดังกล่าว
สำรวจออกแบบ และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงชุมพร -
ท่าเรือน้ำลึกระนอง ซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
เพื่อคาดการณ์ปริมาณสินค้า โดยจัดทำแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ทั้งกรณีไม่มีโครงการ และมีโครงการ
พบว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๗๓ จะมีปริมาณสินค้าส่งผ่านเส้นทางรถไฟทางคู่สายนี้
๑.๓๔ แสน TEU/ปี
และเพิ่มเป็น ๒.๖๒ ล้าน TEU/ปี ในปี พ.ศ. ๒๖๐๒ ๒) ด้านความมั่นคง
ได้มีการหารือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมีการประเมินความเสี่ยง ผลกระทบ
และเตรียมความพร้อมในมิติความมั่นคงและการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ประกอบด้วยประเด็นทางกฎหมาย
ความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาชญากรรมข้ามชาติ
ภูมิรัฐศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศ
และการส่งเสริมขีดความสามารถด้านสมุทราภิบาล ๓) ด้านกฎหมาย
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่าการนำพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.
๒๕๖๑ มาเป็นต้นแบบในการยกร่างพระราชบัญญัติระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ พ.ศ. ....
เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอเนื่องจากมีบริบทที่แตกต่างกัน
จึงควรนำปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ มาประกอบการพิจารณาด้วย ๔) ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
ได้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อเผยแพร่ข้อมูลของโครงการดังกล่าวให้เกิดการรับรู้และเกิดความเข้าใจที่เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย
และ ๕) ด้านเศรษฐกิจ ได้มีการคาดการณ์ถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจของการพัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์จะทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่
และจะเป็นส่วนช่วยให้ GDP ของประเทศไทยมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น
เป็นต้น ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
197 | ผลการพิจารณาข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2559 เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2559 พ.ศ. .... | สผ. | 06/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณาข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
(ศอ.บต.) ได้พิจารณาข้อสังเกตร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยสรุปผลการดำเนินงานได้ ดังนี้ ๑) การสนับสนุนให้ ศอ.บต. จัดโครงสร้างองค์กร
มอบหมายผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้และเข้าใจกระบวนการทำงานของประชาชน
และจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็น ๒)
การพิจารณาเสนอชื่อสมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. ๒๕๕๓ ๓) การเร่งรัดจัดทำระเบียบที่จำเป็นและสำคัญต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
๔) การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.
๒๕๕๓ และ ๕)
การสนับสนุนให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติกำหนดให้มีผู้แทนจากสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้มีส่วนร่วมเป็นองค์ประกอบของคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทุกระดับ
ตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
198 | ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. .... ของรัฐสภา | สผ. | 06/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ
มีสาระสำคัญเป็นการให้ความคุ้มครองบุคคลผู้ให้ถ้อยคำ แจ้งข้อมูลหรือเบาะแสส่งพยานหลักฐานหรือแสดงความคิดเห็น
แก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือพนักงานเจ้าหน้าที่
เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
(ผู้ถูกฟ้องปิดปาก) ตามมาตรา ๑๓๒ ทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เพิ่มเติมจากที่ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ บัญญัติไว้ ซึ่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาและอยู่ระหว่างดำเนินการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย
และประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอ ๒.
ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของรัฐสภาเป็นเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ในการประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ๓. มอบหมายให้สำนักงาน ป.ป.ช. รับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของรัฐสภาดังกล่าว ที่เห็นว่า ควรแก้ไขเพิ่มเติมเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ
บางประการ และมีความจำเป็นที่ต้องจัดเตรียมความพร้อมในการกำหนดระเบียบ หลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลผู้ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา ๑๓๒
ดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมายบัญญัติไว้โดยเร็ว โดย คณะกรรมการ ป.ป.ช.
ควรจัดให้มีคณะอนุกรรมการ
คณะทำงานหรือจัดตั้งสำนักหรือสำนักงานขึ้นเป็นหน่วยงานภายใน เพื่อรับผิดชอบติดตามหรือให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับความคุ้มครองเป็นการเฉพาะ
ควรจัดสรรงบประมาณและสนับสนุนบุคลากรผู้ปฏิบัติงานตามร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แก่สำนักงาน ป.ป.ช.
และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานให้เพียงพอ รวมถึงการฝึกอบรมร่วมกับการใช้เทคโนโลยีในการจัดการข้อมูล
ควรกำหนดระเบียบ หลักเกณฑ์
หรือเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินกองทุนแก่บุคคลผู้ได้รับความคุ้มครอง
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นกรณีพิเศษโดยคำนึงถึงความสะดวก
รวดเร็ว และโปร่งใส ควรกำหนดให้นำมติคณะกรรมการ
ป.ป.ช. รวมไว้ในสำนวนเพื่อประกอบการพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องนั้น มีเจตนารมณ์เพื่อให้ศาลสามารถนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา
๑๖๑/๑ มาใช้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพื่อคุ้มครองผู้ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา ๑๓๒ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ไปพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
199 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 2,049.69 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและภัยพิบัติ (จำนวน 17 จังหวัด) ของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท | คค. | 06/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน ๒,๐๔๙.๖๙ ล้านบาท ประกอบด้วย กรมทางหลวง จำนวน ๑,๖๑๙.๙๐ ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท จำนวน ๔๒๙.๗๙
ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและภัยพิบัติ
(จำนวน ๑๗ จังหวัด) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท)
รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ กระทรวงการคลัง เห็นควรให้ความสำคัญกับการควบคุม
และกำกับดูแลการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งควรเร่งรัดการก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
200 | ขอความเห็นชอบกำหนดให้เดือนพฤษภาคมของทุกปีเป็นเดือนแห่งสุขภาพใจ (Mind Month) | สธ. | 06/05/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้กำหนดให้เดือนพฤษภาคมของทุกปีเป็นเดือนแห่งสุขภาพใจ (Mind Month)
|