ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 9 จากทั้งหมด 5949 หน้า แสดงรายการที่ 161 - 180 จากข้อมูลทั้งหมด 118962 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
161 | การรับรองแผนปฏิบัติการด้านการศึกษาอาเซียน-สหพันธรัฐรัสเซีย พ.ศ. 2565-2569 (ASEAN-Russian Federation Plan of Action on Education 2022-2026) | ศธ. | 03/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการรับรองแผนปฏิบัติการด้านการศึกษาอาเซียน-สหพันธรัฐรัสเซีย
พ.ศ. 2565-2569 (ASEAN-Russian Federation Plan of
Action on Education 2022-2026)
และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
รับรองแผนปฏิบัติการด้านการศึกษาอาเซียน-สหพันธรัฐรัสเซีย
พ.ศ. 2565-2569 (ASEAN-Russian Federation Plan of
Action on Education 2022-2026) โดยแผนปฏิบัติการฯ มีสาระสำคัญ ประกอบด้วย
การเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างอาเซียนกับสหพันธรัฐรัสเซีย อาทิ
ส่งเสริมความร่วมมือทางการศึกษา
พัฒนาและส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนและทางวิชาการ
ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน
การสร้างเครือข่ายทางการศึกษาเพื่อยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ และเสริมสร้างยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างอาเซียนและรัสเซีย
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติการด้านการศึกษาอาเซียน-สหพันธรัฐรัสเซีย
พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เห็นว่าหากขยายโอกาสให้เยาวชนทุกกลุ่มได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมภายใต้แผนงานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
162 | รัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชาเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาประจำประเทศไทย (นายฮุน ซาเรือน) | กต. | 03/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายฮุน ซาเรือน (Mr. Hun Saroeun) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นายอูก ซอร์พวน (Mr. Ouk Sorphorn) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
163 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นางอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล) | สธ. | 03/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศก์
(นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
164 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาวอลินี ธนะวัฒน์สัจจะเสรี และนางสาววราภรณ์ ตั้งตระกูล) | นร.10 | 03/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒ ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ดังนี้ ๑. นางสาวอลินี
ธนะวัฒน์สัจจะเสรี ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากร บุคคลทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ก.พ. ตั้งแต่วันที่
๒๘ กันยายน ๒๕๖๕
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
165 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายจาตุรนต์ ภักดีวานิช) | กก. | 03/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นายจาตุรนต์ ภักดีวานิช ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งรองอธิบดีกรมการท่องเที่ยว ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีการท่องเที่ยว
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
166 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายอรรถพล อรรถวรเดช) | กค. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายอรรถพล อรรถวรเดช ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการคลัง (นักวิชาการคลังทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๕ เป็นต้นไป
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
167 | สถานะของรัฐวิสาหกิจตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 9 ตุลาคม 2555 (เรื่อง กรอบและงบประมาณของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2556) | นร.11 สศช | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า โดยที่พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๑
ส่งผลให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีหน้าที่และอำนาจประการหนึ่งในการจัดทำข้อเสนองบประมาณประจำปีของรัฐวิสาหกิจเฉพาะรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งมิใช่บริษัทมหาชนจำกัด ดังนั้น
เพื่อให้เกิดความชัดเจนและความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันเกี่ยวกับสถานะของรัฐวิสาหกิจตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๙ ตุลาคม ๒๕๕๕ (เรื่อง กรอบและงบประมาณของรัฐวิสาหกิจ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๖)
จึงขอแจ้งยืนยันให้คณะรัฐมนตรีทราบว่า รัฐวิสาหกิจตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙
ตุลาคม ๒๕๕๕ ดังกล่าว ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจซึ่งมีสถานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วลงมติรับทราบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงาน
และมอบให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแจ้งให้ส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
168 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) ของคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา | สว. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental
Assessment : SEA) ของคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วุฒิสภา ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
สรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้ (๑)
ปัญหานโยบายและการดำเนินการการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ได้นำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อทราบถึงความก้าวหน้าในการดำเนินการการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
รวมทั้งได้ยกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
พ.ศ. .... เพื่อเป็นแนวทางและกำหนดแผนในการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
(๒)
ปัญหากฎหมายและระเบียบที่รองรับหรือบังคับให้หน่วยงานหรือเจ้าของแผนงานต้องจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
พ.ศ. ....
เสนอคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนพิจารณาและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป (๓)
ปัญหาหน่วยงานรับผิดชอบหลักการดำเนินการและพัฒนาระบบการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ได้พัฒนาความรู้และประสบการณ์ด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศผ่านการจัดทำโครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
(๔) ปัญหากระบวนการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ได้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เรื่องการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และจัดทำคู่มือเพื่อการสื่อสารสาธารณะ
เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ และ
(๕)
ปัญหาขีดความสามารถของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ได้เตรียมการรองรับภารกิจและสร้างความพร้อมของหน่วยงานในการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
โดยจัดฝึกอบรมทางวิชาการด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
และหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
เป็นต้น ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
169 | รายงานผลการให้บริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2564 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพและการรถไฟแห่งประเทศไทย และรายงานผลการให้บริการสาธารณะ ประจำงวดครึ่งปีงบประมาณ 2565 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย | กค. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
170 | การเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงสาธารณรัฐคาซัคสถาน | กต. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงของสาธารณรัฐคาซัคสถาน จาก
กรุงนูร์-ซุลตัน (Nur-Sultan) กลับไปเป็น กรุงอัสตานา (Astana) และการดำเนินการที่จำเป็นในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศเพื่อเปลี่ยนชื่อเป็นสถานเอกอัครราชทูต
ณ กรุงนูร์-ซุลตัน เป็นสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอัสตานา
เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของการเปลี่ยนแปลงชื่อเมืองหลวงของสาธารณรัฐคาซัคสถานดังกล่าว
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
171 | สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 19 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 31 ตุลาคม 2565) | นร.04 | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
ครั้งที่ ๑๙ (ระหว่างวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๔-๓๐
ตุลาคม ๒๕๖๕) สรุปได้ ดังนี้ (๑) ผลการดำเนินงานตามนโยบายหลัก ๑๐ ด้าน เช่น การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ
การทำนุบำรุงศาสนา การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก
การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย
การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย
การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม
การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ
การป้องกันปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบและกระบวนการยุติธรรม และ (๒)
นโยบายเร่งด่วน ๗ เรื่อง เช่น การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน
การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม การยกระดับศักยภาพแรงงาน
การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต คนไทยสู่ศตวรรษที่ ๒๑
การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย
ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
172 | มาตรการช่วยเหลือเงินพิเศษแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประจำเดือนมกราคม 2566 | กค. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเงินพิเศษแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ประจำเดือนมกราคม ๒๕๖๖
ตามที่คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมเสนอ
และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน ๒,๖๔๓,๐๘๘,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินมาตรการดังกล่าว ทั้งนี้
ให้กระทรวงการคลัง (สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง)
โดยกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมตรวจสอบสถานะเงินกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม
และประมาณการใช้จ่ายจนถึงสิ้นปีงบประมาณ หากมีเพียงพอให้ใช้จ่ายจากเงินกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมในโอกาสแรก
กรณีไม่เพียงพอเมื่อทราบภาระตามจ่ายจริงแล้ว
ให้ทำความตกลงในการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๖/๒๔๘๘
ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๕) ๒.
ให้คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
173 | การจัดประกันภัยฟรีสำหรับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี 2566 | นร.04 | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการจัดประกันภัยฟรีสำหรับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในช่วงเทศกาลปีใหม่
ปี ๒๕๖๖ ที่บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
และสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ได้นำเสนอประกันภัยฟรีอุบัติเหตุกลุ่ม ระยะสั้น ทิพย เพื่อคุณ (ไมโครอินชัวรันส์)
คุ้มครอง ๑๐๐,๐๐๐ บาท โดยให้สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั่วประเทศในช่วงเทศกาลปีใหม่
ปี ๒๕๖๖ สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ฟรี ตั้งแต่วันที่ ๒๕-๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕
ระยะเวลาประกัน ๓๐ วัน นับจากวันที่ลงทะเบียนรับสิทธิ์
ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
174 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน เพิ่มเติม | นร.01 | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่
พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้แก่ประชาชน เพิ่มเติม.เช่น มาตรการ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา
เรื่อง ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. ๒๕๖๕ และร่างประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา
เรื่อง.ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. .... เป็นต้น ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค)
เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
175 | ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2565 | ดศ. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
พ.ศ. ๒๕๖๕ สรุปได้ ดังนี้ (๑) ประชาชนส่วนใหญ่ไม่พบเห็นและไม่ทราบว่ามีปัญหายาเสพติดในชุมชน/หมู่บ้าน
(ร้อยละ ๕๖.๐) (๒) ประชาชนส่วนใหญ่ไม่พบเห็นแต่ทราบว่ามีการซื้อขายยาเสพติด
(ร้อยละ ๗๓.๙) ไม่พบเห็นแต่ทราบว่ามีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดที่ในชุมชน/หมู่บ้าน
(ร้อยละ ๘๔.๑) ยาบ้าเป็นยาเสพติดที่แพร่ระบาดมากที่สุดในชุมชน/หมู่บ้าน (ร้อยละ
๘๒.๔) และผู้ที่มีอายุ ๒๐-๒๔ ปี เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากที่สุด (ร้อยละ ๔๙.๔) (๓)
ประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการดำเนินงานในการป้องกัน ปราบปราม
และบำบัดยาเสพติดในระดับมาก-มากที่สุด (ร้อยละ ๔๙.๓)
มีความเชื่อมั่นต่อนโยบายการป้องกัน ปราบปราม
และบำบัดยาเสพติดในระดับมาก-มากที่สุด (ร้อยละ ๔๘.๑)
มีความเชื่อมั่นต่อนโยบายยึดทรัพย์ผู้ค้ายาเสพติดสามารถช่วยแก้ไขปัญหาหรือลดจำนวนผู้ค้ายาเสพติด
(ร้อยละ ๔๘.๘)
และให้คะแนนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากสถานการณ์ปัญหายาเสพติดมาก-มากที่สุด
(ร้อยละ ๖๘.๑) และ (๔) ประชาชนเห็นควรปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจัง/ต่อเนื่อง
และควรให้กฎหมายลงโทษผู้เกี่ยวข้องอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ ได้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
เช่น การประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้
และสร้างภูมิคุ้มกันให้สามารถป้องกันตนเองและครอบครัวจากยาเสพติด ผ่านสื่อต่าง ๆ
โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์
สร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยให้กับผู้แจ้งเบาะแส และติดตามและแก้ไขปัญหาการร้องเรียนอย่างจริงจัง
ตามที่กระทรวงดิจทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
176 | ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมตามมาตรการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2565 | ดศ. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมตามมาตรการปฏิรูปประเทศ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งได้มีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ ๑๘
ปีขึ้นไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ จำนวน ๙,๘๘๐ คน ระหว่างวันที่ ๑๑-๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๕
สรุปได้ ดังนี้ (๑) แหล่งข้อมูลที่รับรู้ข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐ
ประชาชนส่วนใหญ่รับรู้ข่าวสารจากโทรทัศน์ (ร้อยละ ๘๔.๙) (๒)
การมีบทบาทของประชาชนในพื้นที่/ชุมชน/หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีบทบาทในพื้นที่/ชุมชน/หมู่บ้าน
(ร้อยละ ๘๗.๓) (๓) การมีส่วนร่วมในการใช้สิทธิเลือกตั้ง ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการใช้สิทธิเลือกตั้งในช่วงเวลาที่ผ่านมาทุกครั้ง
(ร้อยละ ๖๕.๔) (๔) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในรอบปี ๒๕๖๔
พบว่าประชาชนส่วนใหญ่พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมืองในกลุ่มเพื่อน/ญาติ/คนในครอบครัว/คนรู้จัก
(ร้อยละ๘๔.๑) (๕) ความเชื่อมั่นต่อระบบธรรมาภิบาลในภาพรวม
ประชาชนส่วนใหญ่ค่อนข้างเชื่อมั่น (ร้อยละ ๓๙.๖) (๖) การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง-มากที่สุด
(ร้อยละ ๖๒.๓) (๗) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาประเทศ
โดยประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง-มากที่สุด (ร้อยละ ๖๕.๑) และ
(๘) ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานภาครัฐในการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดในเรื่องการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกระดับมากขึ้น
(ร้อยละ ๔๕.๑) ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
177 | การดำเนินการตามข้อสังเกต (Concluding Observations) ของคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ต่อรายงานประเทศฉบับที่ 4-8 ของประเทศไทย | ยธ. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบข้อสังเกต
(Concluding Observations)
ของคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ
ต่อรายงานประเทศฉบับที่ ๔-๘ ของประเทศไทย
และตารางหน่วยงานรับผิดชอบเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามข้อสังเกตของคณะกรรมการสหประชาชาติฯ
และพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ
ดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมการสหประชาชาติฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและข้อเสนอแนะของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่เห็นว่าการดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
สามารถเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยป้องกันคนในสังคมให้หลีกเลี่ยงการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์และโซเซียลมีเดียในทางที่ผิด
หรือนำมาเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ Hate Speech และ Hate
Crime ทางเชื้อชาติได้ และในประเด็นที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบ จำนวน ๓ ประเด็น ประกอบด้วย ๑)
ประเด็นที่ดิน อาณาเขต และทรัพยากรของกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม ๒)
ประเด็นการค้ามนุษย์ และ ๓) ประเด็นย่อหน้าที่มีความสำคัญเป็นการเฉพาะ
พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในประเด็นแรงงานข้ามชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
178 | โครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย (ระยะที่ 2) | กค. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย
ออกไปอีก ๓ ปี จากเดิมสิ้นสุดวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
เป็นสิ้นสุดวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๘ ภายใต้กรอบงบประมาณการชดเชยดอกเบี้ยที่ได้รับอนุมัติไว้แล้วตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๙ มกราคม ๒๕๖๑ และเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ จำนวน ๕,๒๕๐ ล้านบาท ขยายระยะเวลาการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีจากรัฐบาลเพื่อชดเชยดอกเบี้ยออกไปอีก
๓ ปี จากเดิมสิ้นสุดวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๘ เป็นวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๗๑
และเห็นชอบการปรับชื่อโครงการจาก โครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย เป็น
โครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย (ระยะที่ ๒) โดยขยายขอบเขต วัตถุประสงค์
เพิ่มกลุ่มเป้าหมาย และการดำเนินการตามแนวทาง BCG Model ภายใต้หลัก
SDGs และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือโครงการพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งน้ำ
เพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืนภายใต้ความร่วมมือภาครัฐหรือเอกชน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เช่น ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ ให้ความสำคัญกับการประเมินเพื่อหารูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
และทำการขยายผลเพื่อสนับสนุนให้การปรับโครงสร้างการผลิตและบริการภาคเกษตรของไทยไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและการเปลี่ยนผ่านการผลิตและบริโภคไปสู่ความยั่งยืนต่อไป
ควรกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการให้สินเชื่อที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของโครงการ โดยใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณามากขึ้น
เพื่อกำหนดกลุ่มลูกหนี้ที่ควรได้รับสินเชื่อให้ชัดเจน
กำหนดเงื่อนไขการให้สินเชื่อตามวัตถุประสงค์ของลูกหนี้แต่ละกลุ่มที่สามารถวัดผลได้ชัดเจน
และมีกระบวนการในการติดตามผลสัมฤทธิ์
ให้ความสำคัญและกำหนดแนวทางในการเสริมสร้างความเข้มแข็งโดยรวมของลูกหนี้อย่างยั่งยืน
ควบคู่ไปกับการให้สินเชื่อ
ควรประชาสัมพันธ์และสื่อสารทำความเข้าใจกับลูกหนี้เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโครงการและเร่งสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่กลุ่มลูกหนี้เป้าหมายตามศักยภาพ
เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว และควรพัฒนาระบบการขอสินเชื่อให้ทันสมัย
และปรับลดระยะเวลาการพิจารณาสินเชื่อให้รวดเร็วขึ้น
โดยให้บริการสินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล
และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการขอสินเชื่อ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
179 | การมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบติดตามและเร่งรัดการดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ | นร.04 | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีเห็นว่า
ในระยะที่ผ่านมาได้เกิดเหตุการณ์และการกระทำผิดกฎหมายในหลายกรณีที่เป็นเรื่องสำคัญอยู่ในความสนใจของสาธารณชน
และปรากฏเป็นข่าวในสื่อมวลชนต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
สมควรที่หน่วยงานรับผิดชอบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งติดตามการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้มีความคืบหน้า
ชัดเจน และเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในแต่ละกรณี ดังนี้ ๑.
กรณีเรือหลวงสุโขทัยประสบเหตุอับปาง ให้กระทรวงกลาโหม
โดยกองทัพเรือระดมสรรพกำลังค้นหากำลังพลที่ประสบเหตุเรือหลวงสุโขทัยอับปางในอ่าวไทย
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเร่งให้ความช่วยเหลือเยียวยากำลังพลที่ประสบเหตุบาดเจ็บ
เสียชีวิต หรือสูญหายให้เป็นไปตามกฎระเบียบของทางราชการ
รวมทั้งเร่งตรวจสอบสาเหตุของการอับปางให้ได้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนโดยเร็ว ๒.
กรณีครูโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัยมีพฤติกรรมจาบจ้วงบุคคลสำคัญและปลูกฝังการรับรู้ของเด็กนักเรียนด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ
ให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว
ซึ่งมีพฤติกรรมจาบจ้วงบุคคลสำคัญ เช่น พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ และปลูกฝังความเชื่อที่ถูกบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริงให้แก่นักเรียนและผู้ปกครอง
จนอาจก่อให้เกิดความเกลียดชังหรือขัดแย้งในสังคมในวงกว้าง ๓. กรณีนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือบอส ต้องคดีข้อหาขับรถโดยประมาท
เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิตในขณะปฏิบัติหน้าที่แล้วหลบหนีไป
ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเร่งรัดติดตามผู้ต้องหาที่อยู่ระหว่างหลบหนีไปพำนักในต่างประเทศ
รวมทั้งเร่งตรวจสอบเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือผู้กระทำความผิดเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดทั้งหมดมาดำเนินคดีตามกฎหมายให้ทันเวลาก่อนคดีจะหมดอายุความ ๔. กรณีการตรวจและจับกุมเครือข่ายกลุ่มทุนต่างชาติที่ประกอบธุรกิจผิดกฎหมาย
(คดีเครือข่ายธุรกิจกลุ่มทุนจีนสีเทา)
ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดตรวจสอบและดำเนินคดีกับกลุ่มทุนจีนสีเทากับพวก
ซึ่งมีพฤติกรรมกระทำความผิดในลักษณะอาชญากรรมข้ามชาติ
โดยให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างเต็มกำลังความสามารถ ทั้งนี้
ให้หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวข้างต้นรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินการในแต่ละกรณี
ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่ (อาจ) เกิดขึ้น ให้นายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะทุก ๑๕ วัน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
180 | การลงนามร่างพิธีสารเพื่อแก้ไขข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมรายสาขาของอาเซียนสำหรับการตรวจประเมินตามมาตรฐานวิธีการในการผลิตยา (Protocol to Amend the ASEAN Sectoral Mutual Recognition Arrangement for Good Manufacturing Practice (GMP) Inspection of Manufacturers of Medicinal Products) | สธ. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|