ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 8 จากทั้งหมด 6032 หน้า แสดงรายการที่ 141 - 160 จากข้อมูลทั้งหมด 120629 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
141 | ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 | สธ. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ
พ.ศ. ๒๕๖๐ ออกไปอีก ๑ ปี ตั้งแต่วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
142 | รายงานกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน ตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เรื่อง มาตรการด้านความปลอดภัยของรถรับ-ส่งนักเรียน | สผผ. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน
ตามหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
เรื่อง มาตรการด้านความปลอดภัยของรถรับ-ส่งนักเรียน ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
143 | รายงานสถานะของหนี้สาธารณะตามมาตรา 35 (1) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม | กค. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานะหนี้สาธารณะตามมาตรา ๓๕ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ณ วันที่
๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ โดยมีหนี้สาธารณะคงค้างจำนวน ๑๑,๐๒๗,๙๘๐.๐๒ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
๖๑.๗๘ ของ GDP
ซึ่งยังอยู่ในกรอบการบริหารหนี้สาธารณะที่กำหนดให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP
ไม่เกินร้อยละ ๗๐ ตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
144 | ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในกฎหมายที่กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบ | กห. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในกฎหมายที่กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบ
ออกไปอีก ๑ ปี ตั้งแต่วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
145 | ร่างพิธีสารการเจรจาทวิภาคีไทยและติมอร์ - เลสเต เพื่อการภาคยานุวัติเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของติมอร์ - เลสเต | พณ. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในสารัตถะของร่างพิธีสารการเจรจาทวิภาคีไทยและติมอร์-เลสเต
เพื่อการภาคยานุวัติเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ของติมอร์-เลสเต
ซึ่งเป็นตราสารที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงถึงผลการเจรจาทวิภาคีระหว่างประเทศไทยและติมอร์-เลสเต
เพื่อนำไปสู่การบรรลุข้อตกลงในเรื่องสิทธิประโยชน์ทางการค้าที่ติมอร์-เลสเต
จะให้ในกรอบ WTO ตามกระบวนการภาคยานุวัติเป็นสมาชิก WTO
โดยผลการเจรจาระหว่างประเทศไทยกับติมอร์-เลสเต
ในการลดภาษีสินค้านำเข้าและข้อผูกพันเฉพาะรายสาขาการค้าบริการของติมอร์-เลสเต
ต่อไทยที่บรรจุในร่างพิธีสารฯ จะนำไปรวมกับผลการเจรจาระหว่างติมอร์-เลสเตกับประเทศสมาชิกอื่น
ๆ และจะกลายเป็นส่วนต่อท้าย (addendum)
ของพิธีสารภาคยานุวัติ (Protocol of Accession) เข้าเป็นสมาชิก
WTO ของติมอร์-เลสเต และมอบหมายให้เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำ WTO
และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างพิธีสารฯ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างพิธีสารการเจรจาทวิภาคีไทยและติมอร์-เลสเต
เพื่อการภาคยานุวัติเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของติมอร์-เลสเต
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
146 | ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-คงคา ครั้งที่ 12 | กต. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-คงคา
ครั้งที่ ๑๒ (12th Mekong-Ganga Cooperation
Foreign Ministers’ Meeting: 12th MGC FMM) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ที่โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล
กรุงเทพฯ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐอินเดีย
และรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เป็นประธานร่วมในรูปแบบการประชุมผสมผสาน (hybrid) และมีนายดอน
ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศขณะนั้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และที่ปรึกษาอาวุโสของรัฐบาลในฐานะผู้แทนรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา (เทียบเท่ารัฐมนตรี)
เข้าร่วมด้วยตนเองและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเข้าร่วมผ่านระบบการประชุมทางไกล
โดยผลการประชุมฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันระหว่างรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือฯ
ในการติดตามความคืบหน้าความร่วมมือ
และกำหนดแนวทางการดำเนินความร่วมมือร่วมกันในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม
ซึ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการและติดตามความคืบหน้าในส่วนของภารกิจที่เกี่ยวข้อง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าประเด็นการเร่งรัดขยายเส้นทางต่อไปยังกัมพูชา สปป.ลาว และเวียดนาม
ภายใต้โครงการพัฒนาถนนสามฝ่าย อินเดีย-เมียนมา-ไทย นั้น
กระทรวงคมนาคมขอเรียนว่าที่ประชุมคณะทำงานย่อยด้านทางหลวงอาเซียน (ASEAN
Highways Sub-Working Group : AHSWG) มีมติให้รอความชัดเจนอย่างเป็นทางการจากอินเดีย
ก่อนนำประเด็นดังกล่าวหารือแนวทางการดำเนินการต่อไป และควรวิเคราะห์และติดตามประเมินผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์ให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับทราบถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
147 | ขอความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | คค. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน
ครั้งที่ ๒๙ และการประชุมอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ ๙-๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ณ เมืองหลวงพระบาง
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ต่อคณะรัฐมนตรี รวม ๑๘ ฉบับ
โดยแบ่งเป็นเอกสารที่รัฐมนตรีขนส่งอาเซียนจะร่วมกันรับรอง (adopt) จำนวน ๑๗ ฉบับ
และเอกสารที่รัฐมนตรีขนส่งอาเซียนจะลงนาม จำนวน ๑ ฉบับ และให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม
(Full Powers) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมอบหมาย
สำหรับการลงนามร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงอาเซียน โดยร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ
มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศในภูมิภาครวมถึงประเทศคู่เจรจาที่สำคัญ
และเป็นการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์และแผนงานฉบับต่าง ๆ ของอาเซียน รวมทั้งสอดคล้องกับแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน
(ASEAN Connectivity) เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน
และการเชื่อมโยงระหว่างประชาชน
ให้มีประสิทธิภาพอย่างครอบคลุมและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
อันจะนำไปสู่การสร้างประชาคมอาเซียนให้มีความเข้มแข็ง
และเจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน
ครั้งที่ ๒๙ และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑๘ ฉบับ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
148 | เอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปค และการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2023 | กต. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค
ครั้งที่ ๓o (Joint Ministerial
Statement of the 30th APEC Finance
Ministers’ Meeting) จะจัดขึ้นในวันที่
๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ณ นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
โดยร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคในการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเงินการคลังระหว่างกัน
เพื่อขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของภูมิภาคเอเปคอย่างครอบคลุมและยั่งยืน โดยมีประเด็นสำคัญที่ต้องการผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างเขตเศรษฐกิจเอเปคอย่างเป็นรูปธรรม
เช่น (๑) การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการเติบโตของเศรษฐกิจโลก (๒)
เศรษฐศาสตร์อุปทานสมัยใหม่ (๓) การพัฒนานวัตกรรมและสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีความรับผิดชอบ
และ (๔) การเงินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวมทั้งข้อสังเกตของธนาคารแห่งประเทศไทย
เช่น ย่อหน้า ๒
น่าจะสามารถเพิ่มถ้อยคำเพื่อย้ำความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายกรุงเทพมหานคร
ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพเศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Economy) เพื่อสะท้อนการสานต่อผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมของการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปี
๒๕๖๕ และย่อหน้า ๓
ถ้อยคำเรื่องสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์และผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อเขตเศรษฐกิจเอเปค
ซึ่งคาดว่าน่าจะหมายถึงสถานการณ์รัสเชีย-ยูเครน กระทรวงการต่างประเทศไม่มีข้อขัดข้องหากจะมีการใช้ถ้อยคำเดิม
(Agreed Language) ในประเด็นดังกล่าวตามที่ปรากฏในร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีเอเปค
และปฏิญญาผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี ค.ศ. ๒๐๒๒ และร่างเอกสารดังกล่าวปรากฏการใช้คำว่า
“Commit” ที่มีลักษณะผูกมัดการดำเนินนโยบายของประเทศ
ซึ่งอาจเกินกว่าแนวทางความร่วมมือภายใต้กรอบ APEC ที่ผ่านมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล
และการเงินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงอาจพิจารณาปรับถ้อยคำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อรองรับการพัฒนาของเรื่องดังกล่าวในอนาคต ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค
ครั้งที่ ๓๐ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการคลังดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
149 | รายงานผลการจัดสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาไทยตามกฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ ประจำปี พ.ศ. 2566 | พณ. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการจัดสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาไทยตามกฎหมายการค้าสหรัฐอเมริกาว่าด้วยว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
มาตรา ๓๐๑ พิเศษ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ และมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ
ดำเนินการส่งเสริมการคุ้มครองและป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาให้มีประสิทธิภาพ
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ ๑. หน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย ได้แก่
กระทรวงกลาโหม (กองทัพบกและกองทัพเรือ) กระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร)
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม (กรมสอบสวนคดีพิเศษ)
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการพอกเงิน
และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติกวดขันปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจังและเต็มประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในท้องตลาดและช่องทางออนไลน์และเร่งดำเนินคดีกับผู้ผลิตสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาต้นน้ำ
การละเมิดลิซสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในภาคเอกชนและการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ผ่านอุปกรณ์หรือแอปพลิเคชันสำหรับการสตรีมและดาวน์โหลด ๒. หน่วยงานภาครัฐปฏิบัติตาม “แนวทางการจัดซื้อจัดจ้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์
(Software : ซอฟต์แวร์)
และการใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ”
อย่างเคร่งครัดตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๔ ๓.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการ่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเร่งรัดการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
เพื่อนำไปสู่การออกกฎหมายให้เท่าทันกับสถานการณ์และรองรับการเข้าเป็นภาคีความตกลงกรุงเฮกว่าด้วยการจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระหว่างประเทศต่อไป ๔.
กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเร่งรัดการพิจารณากำหนดให้ตำแหน่งผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรเป็นตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้ได้รับเงินเพิ่ม ๕. กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับกรมบัญชีกลาง
กระทรวงการคลังพิจารณาแนวทางการขอหักเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องส่งเข้าเงินคงคลังไว้เป็นค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรเพื่อช่วยสะสางงานค้างสะสม โดยให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงยุติธรรม และสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นว่ากรณีการขอหักเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องส่งเข้าเงินคงคลังไว้เป็นค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรเพื่อช่วยสะสางงานค้างสะสม
นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ.
๒๔๙๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๔ วรรคสอง กำหนดข้อบังคับกระทรวงการคลังว่าด้วยการหักเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
พ.ศ. ๒๕๔๙ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม อนุญาตให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาหักเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาก่อนนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการส่งเสริมและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาได้ตามหลักเกณฑ์
เงื่อนไข และวงเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด ควรให้มีการบูรณาการและประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง
และการมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ
ส่งเสริมการคุ้มครองและป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาให้มีประสิทธิภาพ นั้น
ในขั้นตอนการปฏิบัติ หน่วยงานต่าง ๆ จะต้องพิจารณาดำเนินการ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับกฎหมาย
ระเบียบ หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
150 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (นายจำนงค์ ไชยมงคล) | นร.04 | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายจำนงค์ ไชยมงคล
เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง
ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
151 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นางสาวขนิษฐา สหเมธาพัฒน์ ) | กค. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางสาวขนิษฐา สหเมธาพัฒน์
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(นักวิชาการคอมพิวเตอร์ทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพากร ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
152 | การแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 (ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการหรือหน่วยงานอย่างอื่นหรือในระดับต่ำลงไปในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ....) | ตช. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแบ่งส่วนราชการในระดับกองบัญชาการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ
โดยตัดส่วนราชการสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ ซึ่งโอนไปเป็นส่วนราชการในพระองค์
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์และพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์
พ.ศ. ๒๕๖๐ ออก จึงคงเหลือส่วนราชการ จาก ๓๑ หน่วย เป็น ๓๐ หน่วย
และเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของหน่วยงาน และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการหรือหน่วยงานอย่างอื่นหรือในระดับต่ำลงไปในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการหรือหน่วยงานอย่างอื่น
หรือในระดับต่ำลงไป และกำหนดหน้าที่และอำนาจ โดยคงจำนวนส่วนราชการดังกล่าวไว้เท่าเดิม
และกำหนดเพิ่มเติมหน่วยงานที่มีระดับต่ำกว่ากองบังคับการ
ที่มิได้ปรากฏอยู่ในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเดิมแต่อยู่ในประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติลงไป
รวมทั้งปรับเปลี่ยนชื่อหน่วยงานสายการบังคับบัญชา ทั้งนี้
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๔ รวม ๒ ฉบับ
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
โดยให้ตัดบทของร่างกฎกระทรวงเกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการของกองบังคับการตำรวจรถไฟ
(ร่างข้อ ๒ (๑๒) (ง) ร่างข้อ ๓ ๒.กองบังคับการ (๑๑) (ง) และบทเฉพาะกาล ร่างข้อ ๗)
ออก เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๑๖๓ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๕ แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
153 | มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 | กษ. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก
ปีการผลิต ๒๕๖๖/๖๗ และโครงการภายใต้มาตรการดังกล่าวของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และให้ดำเนินการ ดังนี้ ๑.๑
โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต ๒๕๖๖/๖๗ วงเงิน ๑๐,๑๒๐.๗๑ ล้านบาท และ ๑.๒ โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
ปี ๒๕๖๖/๖๗ วงเงิน ๔๘๑.๒๕ ล้านบาท ทั้งนี้
การชดเชยต้นทุนเงินและดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
รวมทั้งให้คงหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการชดเชยอัตราต้นทุนทางการเงินที่ต้องขอรับชดเชยจากภาครัฐในอัตราต้นทุนทางการเงินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรประจำไตรมาส
บวก ๑ เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา หากจะมีการเปลี่ยนแปลงอัตราการชดเชย
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์หารือร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนการดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก
ปีการผลิต ๒๕๖๖/๖๗ จำนวน ๒ โครงการดังกล่าว
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณและกระทรวงการคลัง ๒. ให้กำหนดระยะเวลาดำเนินโครงการของทั้ง ๒
โครงการดังกล่าวข้างต้น เป็นตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖) เป็นต้นไป ๓. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น
ควรมีการสนับสนุนให้เกษตรกรได้ขายข้าวในช่วงที่ราคาข้าวอยู่ในระดับสูงแทนการให้สินเชื่อเพื่อยืดเวลาการขายข้าวเปลือก
เพื่อให้เกิดการใช้กลไกตลาดในการบริหารจัดการให้เป็นประโยชน์สูงสุด
จะต้องบริหารจัดการระบายข้าวให้เหมาะสมตามช่วงเวลา สอดคล้องกับสถานการณ์
รวมทั้งพิจารณากำหนดมาตรการการบริหารจัดการการผลิต การระบายและการค้าข้าว
เพื่อกำจัดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
ตลอดจนจัดทำระบบการติดตามและการประเมินผลสัมฤทธิ์
และประโยชน์ที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวจะได้รับจากการดำเนินโครงการ
ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรไทยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
และการยกระดับให้สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจในการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ใช้วัตถุดิบจากข้าวเป็นหลัก
ซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันควบคู่ไปกับการเพิ่มศักยภาพในการแปรรูปเพิ่มมูลค่าตลอดห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมข้าวของประเทศได้อย่างเหมาะสม
และควรดำเนินการเพื่อป้องกันความเสี่ยง อาทิ
กำหนดเพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันให้สอดคล้องกับความเสี่ยงด้านราคาและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร
และกำหนดวิธีการควบคุมการเก็บและตรวจสอบความมีอยู่จริงของผลผลิตทางการเกษตรที่นำมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
154 | ร่างพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจ่ายเงินเดือน
เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ
และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า
“เงินเดือน” และปรับเงื่อนไขการจ่ายเงินเดือนของข้าราชการโดยสามารถแบ่งจ่ายเป็น ๒
รอบ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗ เป็นต้นไป
เพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้แก่ข้าราชการ
รวมทั้งเป็นการเพิ่มอัตราเงินหมุนเวียนซึ่งจะช่วยเศรษฐกิจของประเทศ
อีกทั้งเพื่อให้เป็นการเบิกจ่ายเงินเดือนของข้าราชการมีความคล่องตัว รวดเร็ว
และสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงแรงงาน
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานศาลปกครอง ที่เห็นว่าข้อสังเกตตามร่างมาตรา
๓ ที่แก้ไขเพิ่มเติมนิยามคำว่า “เงินเดือน” หมายความว่า
เงินเดือนและเงินอื่นที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายเดือน
หรือที่มีกำหนดจ่ายเป็นอย่างอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ... คำว่า “หรือที่มีกำหนดจ่ายเป็นอย่างอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด”
อาจทำให้เกิดการตีความได้ว่าให้สามารถจ่ายเป็นอย่างอื่นที่มิใช่ตัวเงินได้
เพื่อให้เกิดความชัดเจนอาจปรับปรุงถ้อยคำดังกล่าวเป็น “หรือที่กำหนดจ่ายตามรอบระยะเวลาอื่นภายในแต่ละเดือนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด”
การใช้ถ้อยคำในมาตรา ๒๐ ที่บัญญัติให้ “การจ่ายเงินเดือนข้าราชการประจำเดือน... ทั้งนี้
กรมบัญชีกลางจะกำหนดวันจ่ายหรือวิธีการจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้” ควรมีการ
การปรับถ้อยคำเป็น “การจ่ายเงินเดือนข้าราชการประจำเดือน... ทั้งนี้
กรมบัญชีกลางจะกำหนดวันจ่ายและหรือวิธีการจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้” เพื่อให้ครอบคลุมทั้งกรณีที่จะมีการปรับเปลี่ยนกำหนดวันจ่ายและวิธีการจ่ายอย่างอื่นในอนาคตด้วย
และการแก้ไขมาตรา ๒๐ ควรจะเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับระยะเวลาการจ่ายเงินเดือนก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือน
ซึ่งอาจกำหนดให้มากหรือน้อยกว่าสามวันทำการก็ได้
และเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการและเหตุผลในการแก้ไขร่างพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน
เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ..) พ.ศ .... และนิยามในมาตรา ๔ การกำหนดวันจ่ายหรือวิธีการจ่ายเป็นอย่างอื่นโดยกรมบัญชีกลางจึงควรได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
๒.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงาน ก.พ.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เช่น การแบ่งจ่ายเงินเดือนของข้าราชการเป็น ๒ รอบ
ควรเป็นไปด้วยความสมัครใจของข้าราชการแต่ละราย
เนื่องจากภาระหนี้สินของข้าราชการแต่ละรายมีบริบทที่แตกต่างกัน ควรพิจารณาวิธีการดำเนินการจ่ายเงินเดือนที่เหมาะสมและรอบคอบ
และมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับข้าราชการ
รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องด้วย ในกรณีคณะรัฐมนตรีจะกำหนดจ่ายเงินเดือนเป็นอย่างอื่นที่มิใช่กำหนดจ่ายเป็นรายเดือน
หรือในกรณีกรมบัญชีกลางจะกำหนดวันจ่ายหรือวิธีการจ่ายเป็นอย่างอื่นที่มิใช่กำหนดจ่ายเป็นรายเดือนในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนสามวันทำการ
เห็นควรขอให้คณะรัฐมนตรีหรือกรมบัญชีกลางพิจารณาในประเด็นว่า
ข้าราชการจะขอแจ้งความประสงค์ต่อหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อให้มีการจ่ายเงินเดือน ๑
รอบ หรือ ๒ รอบ ให้แก่ตน ได้หรือไม่ อย่างไร ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าการแบ่งจ่ายเงินเดือน
๒ รอบนั้น ควรเป็นภาคสมัครใจ
และวิธีการจะต้องไม่เป็นการสร้างภาระเกินควรให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการหักชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของข้าราชการ
เป็นต้นไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
155 | มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566/67 | พณ. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.รับทราบสถานการณ์การผลิตและการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ปี ๒๕๖๖/๖๗ เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการ นบมส.
และช่วยเหลือสภาพคล่องของสถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกรโดยไม่เร่งระบายผลผลิต
เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
ซึ่งจะส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ๒.
อนุมัติในหลักการมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี ๒๕๖๖/๖๗ และโครงการภายใต้มาตรการดังกล่าวของกระทรวงพาณิชย์
และให้ดำเนินการ ดังนี้ ๒.๑
โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต็อกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต ๒๕๖๖/๖๗ วงเงิน
๒๖,๖๗๐,๐๐๐ บาท
ให้กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายในใช้จ่ายจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ในโอกาสแรกก่อน
หากไม่เพียงพอให้กระทรวงพาณิชย์เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.๒
โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
ปี ๒๕๖๖/๖๗ วงเงิน ๓๘,๕๐๐,๐๐๐ บาท
ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
โครงการในส่วนที่ใช้เงินทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและรัฐบาลได้มีการชดเชยให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในการดำเนินโครงการดังกล่าว
ให้กระทรวงพาณิชย์และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรร่วมกันพิจารณาอัตราการชดเชยให้สอดคล้องกับราคาต้นทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการดังกล่าวข้างต้นอย่างแท้จริง
โดยอยู่ในอัตราที่เท่ากันกับอัตราการชดเขยของมาตรการที่มีการดำเนินการในลักษณะเดียวกันในสินค้าเกษตรอื่นและไม่ควรมากกว่าอัตราการชดเชยในอดีตที่ผ่านมาของโครงการในลักษณะเดียวกันเพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐในภาพรวมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ๓. ให้กำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินโครงการของทั้ง ๒
โครงการดังกล่าวข้างต้น เป็นตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖)
เป็นต้นไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
156 | มาตรการรักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลัง ปี 2566/67 | พณ. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.รับทราบสถานการณ์การผลิตและการตลาดมันสำปะหลัง ปี
๒๕๖๖/๖๗ เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการ นบมส.
และช่วยเหลือสภาพคล่องของสถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการรับซื้อมันสำปะหลังโดยไม่เร่งระบายผลผลิตรวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกและสร้างศักยภาพการแปรรูปของเกษตรกร
ในการเพื่อรักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลังโดยเฉพาะในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
ซึ่งจะส่งผลให้ราคามันสำปะหลังที่เกษตรกรขายได้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ๒.
อนุมัติในหลักการมาตรการรักษาเสถียรภาพราคามันสำะหลัง ปี ๒๕๖๖/๖๗
และโครงการภายใต้มาตรการดังกล่าวของกรมการค้าภายในและของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและให้ดำเนินการ
ดังนี้ ๒.๑ โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต็อกมันสำปะหลังปี
๒๕๖๖/๖๗ วงเงิน ๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้กระทรวงพาณิชย์
โดยกรมการค้าภายในใช้จ่ายจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในโอกาสแรกก่อน หากไม่เพียงพอให้กระทรวงพาณิชย์เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.๒
โครงการยกระดับศักยภาพการแปรรูปมันสำปะหลัง
ให้กรมการค้าภายในพิจารณาถึงหน้าที่และอำนาจและภารกิจของหน่วยดำเนินการ และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจและภารกิจหลักให้เป็นผู้ดำเนินการ
เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรด้านปัจจัยการผลิต
ดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
ลดภาระค่าใช้จ่ายและความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.๓
โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลังและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี
๒๕๖๖/๖๗ วงเงิน ๑๙,๒๕๐,๐๐๐ บาท
และ ๒.๔ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลังปี
๒๕๖๖/๖๗ วงเงิน ๔๑,๔๐๐,๐๐๐ บาท ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณร่ายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริง
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
โครงการในส่วนที่ใช้เงินทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและรัฐบาลได้มีการชดเชยให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในการดำเนินโครงการดังกล่าวให้กระทรวงพาณิชย์และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรร่วมกันพิจารณาอัตราการชดเชยให้สอดคล้องกับภาระต้นทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างแท้จริง
โดยอยู่ในอัตราที่เท่ากันกับอัตราการชดเชยของมาตรการที่มีการดำเนินการในลักษณะเดียวกันในสินค้าเกษตรอื่นและไม่ควรมากกว่าอัตราการชดเชยในอดีตที่ผ่านมาของโครงการในลักษณะเดียวกันเพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐในภาพรวมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ๓.
ให้กำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินโครงการของโครงการต่าง ๆ
ดังกล่าวข้างต้นเป็นตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
157 | การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 17 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 10 | กห. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน
ครั้งที่ ๑๗ และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา
ครั้งที่ ๑๐ มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๕
ถึงวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งจะมีการพิจารณาร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ
โดยแบ่งเป็นร่างเอกสารที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะร่วมรับรอง (Adopt) จำนวน ๕ ฉบับ อนุมัติ (Approve) จำนวน ๒ ฉบับ และรับทราบ (Note) จำนวน ๑ ฉบับ รวม ๘
ฉบับ ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน
ครั้งที่ ๑๗ และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา
ครั้งที่ ๑๐ จำนวน ๘ ฉบับ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
และให้กระทรวงกลาโหมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรวิเคราะห์ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้ง พิจารณาใช้ช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม
เพื่อให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับทราบถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
158 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 เรื่อง ขออนุมัติปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโคนม | กษ. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอเพิ่มเติมว่า
เนื่องจากสถานการณ์ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ในตลาดโลกรวมถึงค่าบริหารและขนส่งมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลให้เกษตรกรโคนมรายย่อย (ฟาร์มขนาดเล็ก) ต้องรับภาระต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
จึงเห็นว่าการให้ความช่วยเหลือเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรโคนมกลุ่มดังกล่าว
แทนการปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบจะเป็นผลดีกับกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า
รวมทั้งจะช่วยผลกระทบกับราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม โครงการอาหารเสริม (นม)
โรงเรียนด้วย และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม)
พิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
159 | ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออกและห้ามนำผ่านราชอาณาจักรไปยังบุคคลหรือองค์กรที่กำหนด กรณีสาธารณรัฐเฮติ พ.ศ. .... | พณ. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง
ให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออกและห้ามนำผ่านราชอาณาจักรไปยังบุคคลหรือองค์กรที่กำหนด
กรณีสาธารณรัฐเฮติ พ.ศ. ....
ที่คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ ๔
ตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออกและห้ามนำผ่านราชอาณาจักรไปยังนาย Jimmy Cherizier หรือ Barbeque
และบุคคลหรือองค์กร ตามที่คณะกรรมการของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
(UNSC) กำหนด
เพื่อให้เป็นไปตามข้อมมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ ๒๖๕๓ (ค.ศ.๒๐๒๒)
กรณีสาธารณรัฐเฮติ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
160 | ร่างความตกลงประเทศเจ้าบ้านระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพและนวัตกรรม และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเอกสิทธิ์และความคุ้มกันสำหรับศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและนวัตกรรม พ.ศ. .... | สธ. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างความตกลงประเทศเจ้าบ้านระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพและนวัตกรรม
มีสาระสำคัญเป็นการให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันแก่ ACAI
รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของ ACAI โดยมีถ้อยคำและบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับข้อกฎหมายระหว่างประเทศ
ดังนั้น ร่างความตกลงประเทศเจ้าบ้านฯ จึงเป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ซึ่งจะต้องขอความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก่อนการลงนามและดำเนินการให้มีผลผูกพัน
แต่ไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าส่วนของการสนับสนุนพื้นที่สำนักงานในประเทศไทยและการบริจาคเงินสนับสนุนควรพิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสมกับภารกิจที่เป็นการสร้างความรู้
การวิจัย และพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามในร่างความตกลงประเทศเจ้าบ้านระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพและนวัตกรรม
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างความตกลงประเทศเจ้าบ้านระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพและนวัตกรรม
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย ๓. ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม
(Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามในร่างความตกลงประเทศเจ้าบ้านระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพและนวัตกรรม ๔. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเอกสิทธิ์และความคุ้มกันสำหรับศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและนวัตกรรม
พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|