ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 7 จากทั้งหมด 5981 หน้า แสดงรายการที่ 121 - 140 จากข้อมูลทั้งหมด 119609 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
121 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลศึกษา และการกีฬา ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการกีฬาแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย | กก. | 25/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลศึกษา
และการกีฬา ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการกีฬาแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
และอนุมัติให้นายนภินทร ศรีสรรพางค์
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
โดยสาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ เป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านพลศึกษาและการกีฬาระหว่างกัน
อาทิ การส่งเสริมหลักการแยกการกีฬาออกจากการเมือง
หลักการไม่ยอมรับการเลือกปฏิบัติในวงการกีฬาทุกรูปแบบ
ตลอดจนการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามในวงการกีฬา ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารับข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศในประเด็นด้านสารัตถะและถ้อยคำ
รวมทั้งประเด็นด้านกฎหมาย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย ๒.
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
122 | ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - รัสเซีย ครั้งที่ 8 | กต. | 25/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-รัสเซีย
(Joint Thai-Russian Commission on Bilateral
Cooperation : JC) ครั้งที่ ๘
และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมรับรองเอกสารดังกล่าวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาภูมิภาคตะวันออกไกลและอาร์กติกสหพันธรัฐรัสเซีย
โดยไม่มีการลงนาม โดยร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบกำหนดแนวทางการดำเนินการความร่วมมือระหว่างไทยกับรัสเซีย
โดยระบุความร่วมมือที่สำคัญใน ๑๒ สาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจและเป็นประโยชน์ร่วมกัน
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินความร่วมมือทวิภาคีด้วยความรอบคอบ รัดกุม
โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของชาติและการรักษาดุลยภาพของการดำเนินความสัมพันธ์และความมั่นคงของไทยกับประเทศอื่น
ๆ ในภาพรวมด้วย
รวมทั้งให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
กระทรวงการต่างประเทศจำเป็นต้องวิเคราะห์และประเมินผลความร่วมมือทวิภาคีดังกล่าว
เพื่อนำไปสู่การขยายผลความร่วมมือในมิติอื่น ๆ รวมทั้งสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
123 | นายกรัฐมนตรีลากิจในวันที่ 20 - 21 เมษายน 2566 และวันที่ 24 เมษายน 2566 | นร.05 | 25/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งว่านายกรัฐมนตรีได้ลากิจในวันพฤหัสบดีที่
๒๐-วันศุกร์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๖ และวันจันทร์ที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๖
ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้จัดทำหนังสือเวียนแจ้งให้รัฐมนตรีทุกท่านทราบแล้ว
ทั้งนี้ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๔๑
กำหนดให้การลาทุกประเภทของนายกรัฐมนตรี ให้อยู่ในดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี
และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
124 | มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 6/2565 | ทส. | 18/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ครั้งที่ ๖/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๕ จำนวน ๓ เรื่อง ประกอบด้วย (๑)
รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (จำนวน ๘ โครงการ) เช่น โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าให้พื้นที่เกาะต่าง
ๆ [เกาะกระเต็น (แตน)
จังหวัดสุราษฎร์ธานี] ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
โครงการถนนตามผังเมือง ผังเมืองรวมเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
ของกรมทางหลวงชนบท โครงการปรับปรุงท่าอากาศยานบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ของกรมท่าอากาศยาน (๒) ร่างแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5
ภายใต้แผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษฝุ่นละออง ปี ๒๕๖๖ และ (๓) แผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาปนเปื้อนสารตะกั่วบริเวณห้วยคลิตี้
ระยะที่ ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๘ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
125 | ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 9 | กค. | 18/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน
ครั้งที่ ๙ และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
โดยร่างแถลงการณ์ฯ จัดทำขึ้นบนพื้นฐานของการเป็นประชาคมอาเซียน
คือการส่งเสริมความร่วมมือและให้ความช่วยเหลือระหว่างกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภูมิภาคอาเซียน
และการรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียน
เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ตลอดจนการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน
ครั้งที่ ๙
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการคลังดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
126 | ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. .... | คค. | 11/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข
๗ และทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ภายในระยะเวลาที่กำหนด
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข
๗ และทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา
๐๐.๐๑ นาฬิกา ของวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ถึงเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๑๘
เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖
เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเดินบนทางหลวงพิเศษในช่วงเทศกาลดังกล่าว
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม ที่เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมกำกับดูแลให้กรมทางหลวง
เร่งศึกษาความเหมาะสมและความคุ้มครองของระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมค่าผ่านทางแบบไม่มีไม้กั้น
(M-Flow) ในเส้นทางนำร่อง
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการลงทุนพัฒนา/ปรับปรุงรูปแบบของระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและทางหลวงพิเศษในอนาคต ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้ใช้ทาง
รวมถึงแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณหน้าด่าน
ตลอดจนภาระภาครัฐในการยกเว้นค่าธรรมเนียมผ่านทางระหว่างวันหยุดต่อเนื่องในระยะยาวต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
127 | รายงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | สผผ. | 11/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
128 | รายงานประจำปีคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | ยธ. | 11/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปีคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.)
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (๑)
ภาพรวมสถานการณ์กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๓ เช่น
ข้อมูลสถิติจำนวนคดีที่รับแจ้งความและการจับกุมผู้ต้องหา (๒) ผลการดำเนินงานของ
กพยช. และคณะอนุกรรมการภายใต้ กพยช. จำนวน ๖ คณะ เช่น การจัดทำร่างพระราชบัญญัติประวัติอาชญากรรม
พ.ศ. .... (๓) ผลการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของ กพยช. ตามพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙ (มาตรา ๑๐) เช่น จัดทำร่างแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่
๔ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๙) และจัดทำร่างแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม
ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๙) (๔)
การขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๕)
เช่น รายงานผลการดำเนินการโครงการสำคัญภายใต้แผนแม่บทฯ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
มีการดำเนินโครงการทั้งสิ้น ๑๖๔ โคงการ และใช้งบประมาณทั้งสิ้น ๔,๘๑๘.๔๖ ล้านบาท และ (๕)
ผลการดำเนินงานของฝ่ายเลขานุการเพื่อสนับสนุนภารกิจของ กพยช. เช่น
พัฒนาข้อมูลและสถิติที่สำคัญต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรม
และประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานยุติธรรม
โดยนำเสนอผ่านรูปภาพและภาษาที่เข้าใจได้ง่ายในรูปแบบอินโฟกราฟิก โมชั่นกราฟิก วิดีโอ
และบทความ รวมถึงช่องทางออนไลน์ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
129 | ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | อว. | 11/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาตรีในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ
เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (ฉบับที่..) พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม
เพิ่มขึ้น ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมรับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่
๘ กันยายน ๒๕๔๑ ให้ถือเป็นหลักการว่าเมื่อมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาได้อนุมัติหลักสูตรวิชาใดแล้ว
จะต้องเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดปริญญาในสาขาวิชานั้นเสียก่อน แล้วจึงจะเปิดทำการสอนในสาขาวิชานั้นได้ แต่โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต
(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๓) เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๓
และได้มีการเปิดการเรียนการสอนสาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ในปี ๒๕๖๓
โดยจะมีผู้สำเร็จการศึกษาในปี ๒๕๖๖ ดังนั้น กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ควรดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวอย่างเคร่งครัด
เมื่อมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาใดอนุมัติหลักสูตรวิชาใดแล้ว
จึงต้องเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดปริญญาในสาขาวิชานั้นเสียก่อนแล้วจึงจะเปิดทำการสอนในสาขาวิชานั้นได้
เพื่อให้พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับก่อนเปิดทำการสอน
ซึ่งจะรองรับศักดิ์และสิทธิ์แห่งปริญญาให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
130 | รายงานสรุปผลการเข้าร่วมการประชุมใหญ่คณะกรรมการนโยบายด้านกฎหมาย (Regulatory Policy Committee - RPC) ครั้งที่ 27 ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) และการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง | นร.09 | 11/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการเข้าร่วมการประชุมใหญ่คณะกรรมการนโยบายด้านกฎหมาย
(Regulatory Policy
Committee-RPC) ครั้งที่ ๒๗ ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา
(OECD) และการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ ๔-๖
ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยได้รายงานสรุปผลการเข้าร่วมประชุม
ดังนี้ (๑) สรุปผลการประชุมใหญ่คณะกรรมการนโยบายด้านกฎหมาย (Regulatory
Policy Committee-RPC) ครั้งที่ ๒๗
มีหัวข้อการประชุม ๓ หัวข้อ ได้แก่ ๑) การออกกฎหมายเพื่อผลลัพธ์ที่ดี
โดยมีประเด็นอภิปราย ๔ ประเด็น คือ การพิจารณาว่าด้วยกฎระเบียบเป็นทรัพย์สิน
ความเชื่อมั่นในกฎระเบียบและหน่วยงานกำกับดูแล การกำกับดูแลเพื่อผลลัพธ์
และการกำกับดูแลเพื่ออนาคต ๒)
ความท้าทายในการส่งเสริมนโยบายการกำกับดูแลในระดับต่าง ๆ ของรัฐ และ ๓)
ความคืบหน้าการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของ OECD และ( ๒) สรุปผลการหารือระดับทวิภาคีกับเจ้าหน้าที่ของ
OECD
เพื่อขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กับ OECD ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
131 | สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 | กษ. | 11/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ โดยมีประเด็นสำคัญ ได้แก่ (๑)
สถานการณ์สับปะรดโรงงาน เช่น การผลิตในปี ๒๕๖๖ ลดลงเนื่องจากเกษตรกรลดพื้นที่ปลูก
ส่วนการตลาดและการส่งออกเพิ่มขึ้นเนื่องจากสินค้าสับปะรดยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก
และแนวทางการดำเนินการบริหารจัดการสับปะรด ปี ๒๕๖๖ เช่น เชื่อมโยงตลาดล่วงหน้า
โดยมีการประชุมบริหารจัดการผลิตและการตลาดสับปะรดในพื้นที่
กระจายผลิตผ่านเครือข่านร้านธงฟ้า (๒)
รับทราบผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านสับปะรด ปี ๒๕๖๔-๒๕๖๕ โดยในปี ๒๕๖๔
มีแผนงาน/โครงการบรรลุเป้าหมาย ๒๓ โครงการ ๓ กิจกรรม (จาก ๒๔ โครงการ ๙ กิจกรรม)
ซึ่งมีการยกเลิกโครงการเนื่องจากสถานการณ์โควิด-๑๙ และในปี ๒๕๖๕
มีแผนงาน/โครงการบรรลุเป้าหมาย ๑๖ โครงการ ๑๒ กิจกรรม (จาก ๑๗ โครงการ ๑๓ กิจกรรม)
ซึ่งมีโครงการที่ไม่บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากมีสหกรณ์ เพียง ๔ แห่ง
ที่เข้าร่วมโครงการ โดยสหกรณ์ส่วนใหญ่ต้องใช้เงินทุนของตนเองในการรวบรวบ
ส่งผลให้ปริมาณการรวบรวมผลผลิตสับปะรดไม่เป็นไปตามเป้าหมาย (๓) เห็นชอบ (ร่าง)
แผนพัฒนาด้านสับปะรด พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนและพัฒนาสับปะรดให้สามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจ
รวมถึงสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร และ (๔) การเสนอให้มีกฎหมายพืชสับปะรดเป็นการเฉพาะ
เพื่อแก้ไขปัญหาสับปะรด
โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนพัฒนาสับปะรดพิจารณาข้อเสนอดังกล่าวต่อไป ตามที่คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
132 | ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... | อว. | 11/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาตรีในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ
เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (ฉบับที่..) พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
รวมทั้งกำหนดสีประจำสาขาวิชาดังกล่าว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมรับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่
๘ กันยายน ๒๕๔๑ ให้ถือเป็นหลักการว่าเมื่อมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาได้อนุมัติหลักสูตรวิชาใดแล้ว
จะต้องเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดปริญญาในสาขาวิชานั้นเสียก่อน
แล้วจึงจะเปิดทำการสอนในสาขาวิชานั้นได้ แต่โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๓) เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๓
และได้มีการเปิดการเรียนการสอนสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ในปี ๒๕๖๓ โดยจะมีผู้สำเร็จการศึกษาในปี
๒๕๖๖ ดังนั้น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ควรดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวอย่างเคร่งครัด
เมื่อมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาใดอนุมัติหลักสูตรวิชาใดแล้ว
จึงต้องเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดปริญญาในสาขาวิชานั้นเสียก่อนแล้วจึงจะเปิดทำการสอนในสาขาวิชานั้นได้
เพื่อให้พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับก่อนเปิดทำการสอน
ซึ่งจะรองรับศักดิ์และสิทธิ์แห่งปริญญาให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
133 | ผลการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี ค.ศ. 2022 (ITU Plenipotentiary Conference 2022: PP-22) | กสทช. | 11/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี ค.ศ. 2022 (ITU Plenipotentiary Conference 2022 : PP-22) ระหว่างวันที่ ๒๖ กันยายน-๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๕
ณ กรุง บูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย และรับทราบการแสดงเจตจำนงของประเทศไทย
โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติในการเป็นจ้าภาพจัดการประชุมระดับโลกว่าด้วยการพัฒนาโทรคมนาคม
ปี ค.ศ. ๒๐๒๕ (World Telecommunication Development
Conference 2025 : WTDC-25) โดยที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นสำคัญต่าง
ๆ เช่น ผลการเลือกตั้ง การกล่าวถ้อยแถลงเชิงนโยบาย การแก้ไขข้อมติต่าง ๆ
การลงนามในกรรมสารสุดท้าย บทบาทของคณะผู้แทนไทย การหารือทวิภาคีระหว่างการประชุมฯ
และแสดงเจตจำนงเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม WTDC-25 ณ กรุงเทพมหานคร ในปี ๒๕๖๘ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
134 | รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ครั้งที่ 18 (เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565) | นร.11 สศช | 11/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา
๒๗๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ครั้งที่ ๑๘ (เดือนตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๕) ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ
และให้เสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ๑. สรุปภาพรวมการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ สศช.
ได้รวบรวมและประมวลผลข้อมูลการดำเนินการปฏิรูปประเทศทั้ง ๑๓ ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเมือง
ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมาย ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้านเศรษฐกิจ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านสาธารณสุข เป็นต้น ๒. สรุปผลการดำเนินการจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมายปฏิรูปประเทศ โดยเป็นกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ
(ฉบับปรับปรุง) จำนวน ๔๕ ฉบับ ณ สิ้นเดือนธันวาคม ๒๕๖๕ ประกอบด้วย (๑) กฎหมายที่ดำเนินการแล้วเสร็จ
๑๐ ฉบับ และ (๒) กฎหมายที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ ๓๕ ฉบับ
(ซึ่งมีความคืบหน้ากว่ารอบที่ผ่านมา) ๓. การดำเนินการในระยะต่อไป หลังจากแผนปฏิรูปประเทศสิ้นสุดลงเมื่อวันที่
๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ โดยได้ดำเนินการปฏิรูปประเทศให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของรัฐธรรมนูญฯ
ที่กำหนดแล้ว เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของผลสัมฤทธิ์ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ
หน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานร่วมดำเนินการจะต้องนำประเด็นร่วมปฏิรูปประเทศมาดำเนินการอย่างต่อเนื่องผ่านกลไกของแผนระดับที่
๒ แผนระดับที่ ๓ และการดำเนินการต่าง ๆ ของหน่วยงานได้เชื่อมโยงประเด็นปฏิรูปประเทศกับเป้าหมายแผนแม่บทย่อย
(Y๑) ของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
และเป้าหมายระดับหมุดหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓
เพื่อใช้เป็นกรอบในการขับเคลื่อน ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการในประเด็นปฏิรูปต่าง
ๆ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน เพื่อให้เกิดการดำเนินการที่ต่อเนื่องและเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืน
ส่งผลให้การพัฒนาประเทศบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
135 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. .... | มท. | 11/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนทองผาภูมิ
จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่ตำบลท่าขนุน
อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท
ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ
ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การค้าชายแดน การบริการ
และรักษาสภาพแวดล้อมของชุมชน อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า (๑) การใช้ประโยชน์ที่ดินต้องไม่ขัดต่อการจัดสรรที่ดินภายใต้พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ
พ.ศ. ๒๕๑๑
และเพื่อกำหนดพื้นที่การใช้ประโยชน์เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(๒)
ขอแก้ไขถ้อยคำในรายการประกอบแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว
ข้อ ๑๐.๑๐ จากเดิม “หมวดการทางทองผาภูมิ” แก้ไขเป็น “หมวดทางหลวงทองผาภูมิ” (๓)
ควรคำนึงถึงกฎ ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และการกำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้
นั้น หากพบว่ามีการส่งมอบพื้นที่กลับคืนกรมป่าไม้ในภายหลัง
เห็นควรพิจารณากำหนดประเภทที่ดินให้เป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้
(สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว) (๔)
การพิจารณาอนุญาตกิจการต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
และ (๕)
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
เพื่อรักษาพื้นที่เกษตรกรรมและสภาพแวดล้อม
รวมถึงพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
136 | รายงานประจำปี 2558 และปี 2559 ของกองทุนการออมแห่งชาติ | กค. | 11/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปี ๒๕๕๘ และปี ๒๕๕๙
ของกองทุนการออมแห่งชาติ โดยรายงานดังกล่าวประกอบด้วยผลการดำเนินงานของกองทุนการออมแห่งชาติ
ประจำปี ๒๕๕๘ และประจำปี ๒๕๕๙ และรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงิน ปี ๒๕๕๘ และปี
๒๕๕๙ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ และสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม
๒๕๕๙ ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว
โดยเห็นว่ารายงานการเงินของกองทุนการออมแห่งชาติดังกล่าวมีความถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
ตามที่กองทุนการออมแห่งชาติเสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
137 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 1/2566 | นร.04 | 11/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
(กตน.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
และมอบหมายให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุม กตน. ได้รายงานผลการประชุมฯ
เช่น (๑)
การบูรณาการระบบข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและจัดทำข้อมูลทางด้านการเกษตรแบบเปิดเชื่อมโยงกับศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ
เช่น ฐานข้อมูลเกษตรกรกลาง (Farmer One)
และพัฒนาแพลตฟอร์มการขึ้นทะเบียนเกษตรกรกลาง
ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม ๒๕๖๖ (๒)
โครงการดำเนินการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อการจ้างแรงงานไทยเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ
ทั้งนี้ ในช่วงปี ๒๕๖๑-๒๕๖๕ มีแรงงานไทยเดินทางไปททำงานในต่างประเทศ ๔๒๓,๔๕๑ คน สร้างรายได้ส่งกลับประเทศไทย จำนวน ๑,๐๒๐,๗๗๔ ล้านบาท (๓) รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๖๖
และรายการผูกพันใหม่ของงบรายจ่ายประจำปี ๒๕๖๖ ที่เกินกว่า ๑,๐๐๐
ล้านบาทขึ้นไป และ (๔) รายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการด้านการสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมกับประชาชนภายใต้
กตน. เช่น การส่งเสริมการนำไทยสู่เมืองหลวงสุขภาพโลก
และการเยียวยาและให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
โดยจัดตั้งศูนย์บัญชาการจัดการน้ำท่วม (ส่วนหน้า) ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ชัยนาท
หนองบัวลำภู สงขลา จันทบุรี สุราษฎร์ธานี และกาญจนบุรี ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
เช่น การจัดทำร่างบันทึกความร่วมมือด้านการจัดส่งแรงงานภาคเกษตรกรตามฤดูกาลระหว่างกรมการจัดหางานกับอำเภอจินชอน
จังหวัดซุงชองบุก สาธารณรัฐเกาหลี ให้ชะลอการพิจารณาร่างบันทึกความร่วมมือฯ ไว้ จนกว่าจะได้ร่างฉบับปรับปรุงจากฝ่ายสาธารณรัฐเกาหลี
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
138 | การของบกลางเพื่อชดเชยการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนในการชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนแบบสามัญและเฉพาะเจาะจงของกลุ่มธนาคารโลก ปี 2561 | กค. | 11/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๒๐๐,๖๐๑,๐๔๓.๔๕ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการชดเชยการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนในการชำระหุ้นเพิ่มทุนแบบสามัญและเฉพาะเจาะจงของกลุ่มธนาคารโลก ปี ๒๕๖๑ โดยเบิกจ่ายในงบรายจ่ายอื่น ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ และมอบหมายให้กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๖๙ (๓) แล้ว ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง) และสำนักงบประมาณรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทยที่เห็นควรดำเนินการให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป และเห็นควรให้มีแนวทางการบริหารความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนในระยะต่อไปอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ภาระที่อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนสูง ซึ่งอาจส่งผลให้ต้องใช้งบประมาณเพื่อดำเนินการดังกล่าวเกินกว่ากรอบวงเงินที่ได้อนุมัติไว้ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
139 | การจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงวัฒนธรรมแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย | วธ. | 11/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงวัฒนธรรมแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
(Memorandum of Understanding on Cultural
Cooperation between the Ministry of Culture of the Kingdom of Thailand and the
Ministry of Culture of the Russian Federation) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
โดยสาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ
มีเนื้อหาหลักสอดคล้องกับพิธีสารและบันทึกความเข้าใจในด้านวัฒนธรรมที่สิ้นสุดลงแล้ว
โดยมุ่งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างกันทั้งในด้านศิลปะ ภาษา วรรณกรรม
ตลอดจนความร่วมมือด้านพิพิธภัณฑ์ การสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรม และการส่งเสริมความร่วมมือด้านใหม่
ๆ เช่น ด้านภาพยนตร์ การส่งผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี การละคร และทัศนศิลป์
การผลิตผลงานศิลปะร่วมกันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ซึ่งกันและกัน
เป็นต้น ตลอดจนการเข้าร่วมงานและกิจกรรมทางวัฒนธรรมของแต่ละฝ่าย
รวมทั้งการจัดงานวัฒนธรรมรัสเซียในประเทศไทย และงานวัฒนธรรมไทยในสหพันธรัฐรัสเซีย ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงวัฒนธรรมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงวัฒนธรรมรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับการพิจารณาสาระแอบแฝงและเนื้อหาของกิจกรรมต่าง
ๆ ที่จะเผยแพร่ในไทย เพื่อไม่ให้กระทบต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับประเทศอื่น
ๆ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
140 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. .... | นร.05 | 11/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. .... ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ ๒
ตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เพื่อปรับปรุงมาตรการในการควบคุมดูแลเรื่องการเรี่ยไรของทางราชการ
ป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเพื่อให้ความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
โดยตัดผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจากองค์ประกอบของคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร
ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และให้ดำเนินการต่อไปได้ |