ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 6 จากทั้งหมด 5949 หน้า แสดงรายการที่ 101 - 120 จากข้อมูลทั้งหมด 118962 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
101 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (1. นายทศเทพ บุญทอง ฯลฯ จำนวน 3 ราย) (นางสาวอุษณีย์ สังคมกำแหง) | สธ. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
102 | การพิจารณาแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาวิศวกร (1. นายพิศุทธิ์ สุขุม ฯลฯ จำนวน 5 ราย) | มท. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
103 | รายงานประจำปี 2564 ของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) | พณ. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปี ๒๕๖๔ ของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
(องค์การมหาชน) โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น (๑) การจัดฝึกอบรม ประชุม สัมมนา
ให้กับประชาชนและบุคลากรของภาครัฐและเอกชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
โดยครอบคลุมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เช่น ด้านการค้า การลงทุน
และการพัฒนาระหว่างประเทศ (๒) การดำเนินโครงการวิจัย จำนวน ๖ โครงการ ในประเด็นเกี่ยวกับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
เช่น โครงการศูนย์วิเคราะห์แนวโน้มด้านการค้าและการพัฒนา
และโครงการพัฒนาศักยภาพระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการค้าและการลงทุนกับประตูการค้าฝั่งตะวันตก
และเผยแพร่ผลงานวิชาการผ่านช่องทางต่าง ๆ และขยายเครือข่ายการสร้างองค์ความรู้และการให้บริการวิชาการเพื่อการค้าและการพัฒนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
104 | ผลการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 12 และการประชุมที่เกี่ยวข้องและการเป็นประธานการประชุมด้านการศึกษาอาเซียน ระหว่างปี พ.ศ. 2567 - 2568 ณ ประเทศไทย | ศธ. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ ๑๒
และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๕ ณ กรุงฮานอย
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และการเป็นประธานการประชุมด้านการศึกษาอาเซียน
ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๗-๒๕๖๘ ณ ประเทศไทย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมฯ
และการประชุมที่เกี่ยวข้องในปี ๒๕๖๗ โดยมีสาระสำคัญ เช่น (๑) ที่ประชุมฯ
ได้หารือเชิงนโยบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในกรอบอาเซียน
อาเซียนบวกสาม และอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (๒) รัฐมนตรีศึกษาได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของการศึกษาอันเนื่องมาจากโควิด-๑๙
ที่มีการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลมากขึ้น (๓) ที่ประชุมฯ
ได้รับรองร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ ๑๒ การประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียนบวก
๓ ครั้งที่ ๖ และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกด้านการศึกษา ครั้งที่ ๖
และรับทราบเอกสารแนวทางการเปิดเรียน
ฟื้นฟูและปรับตัวด้านการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียนและปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของระบบการศึกษาในอาเซียน
และ (๔) การเป็นประธานการประชุมด้านการศึกษาอาเซียน ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๗-๒๕๖๘ โดยไทยรับเป็นประธานการประชุมฯ
และเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ ๑๓ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
105 | ภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม ปี 2565 | นร.11 สศช | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม
ปี ๒๕๖๕ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ๑) ความเคลื่อนไหวทางสังคมไตรมาสสาม ปี ๒๕๖๕ เช่น
สถานการณ์แรงงานที่มีการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒.๑
เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม หนี้สินครัวเรือนชะลอตัวร้อยละ
๓.๕ เนื่องจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ
และการเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๗๕.๔ เช่น โรคมือ เท้า ปาก
และโรคไข้หวัดใหญ่ ๒) สถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ จำนวน ๓ เรื่อง ได้แก่ (๑) ภาวะโลกร้อนโดยความท้าทายของไทย
เช่น การขาดทิศทางการวิจัยด้านการเกษตร
เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการขาดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อน
ดังนั้น ไทยต้องให้ความสำคัญในประเด็นต่าง ๆ เช่น การปรับรูปแบบการทำเกษตรกรรมให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนให้กับประชาชน
(๒) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) : การส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาของเด็กไทยให้ยั่งยืน กยศ. มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาให้กับนักเรียนและนักศึกษาผ่านการให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา พบว่า ผู้กู้ยืมจาก
กยศ. ที่ผิดนัดชำระหนี้กว่าร้อยละ ๖๕ สาเหตุการผิดนัดชำระหนี้ เช่น
การขาดวินัยทางการเงิน กลไกการชำระหนี้ และกฎเกณฑ์ไม่เอื้อต่อการปรับโครงสร้างหนี้
ดังนั้น ควรนำลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้เข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ และ (๓) เสรีกัญชา
โดยไทยต้องให้ความสำคัญในการควบคุมการผลิตการเพาะปลูกกัญชา
และกำหนดปริมาณกัญชาที่สามารถซื้อขายหรือถือครองได้ เป็นต้น และ ๓) บทความเรื่อง “มองคนจนหลายมิติ
ปี ๒๕๖๔ ปัญหาที่มิใช่แค่เรื่องเงินเท่านั้น” โดยความจนมีหลายมิติ เช่น
มิติด้านการศึกษา พบว่า มีการหลุดออกนอกระบบการศึกษาเพิ่มขึ้น
มิติด้านการใช้ชีวิตในแบบที่ดีต่อสุขภาพ พบว่า มีการเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดที่จำกัด
ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาความยากจน เช่น การพัฒนาระบบข้อมูลระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ให้มีการบูรณาการร่วมกันและการจัดทำมาตรการในรูปแบบชุดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
106 | รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | นร.01 | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด
(ก.ธ.จ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ (๑) คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด
ทั้ง ๗๖ คณะ/จังหวัด ได้มีการประชุมเพื่อติดตามสอดส่องการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกจังหวัด
๒๕๓ ครั้ง ๒,๓๒๐
เรื่อง และมีข้อเสนอแนะใน ๔ เรื่อง ได้แก่ แผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
แผนงาน/โครงการของส่วนราชการในจังหวัด แผนงาน/โครงการของหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ
และเรื่องร้องเรียน
รวมถึงเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนมากที่สุดคือด้านการสาธารณูปโภค จำนวน ๑,๕๗๗ เรื่อง และรองลงมาคือด้านเศรษฐกิจ จำนวน ๓๕๙ เรื่อง (๒)
ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญและแนวทางการแก้ไขของ ก.ธ.จ. เช่น การปฏิบัติหน้าที่ของ
ก.ธ.จ. การขอรับการสนับสนุนงบประมาณ การจัดสัมมนา ฝึกอบรม และการประชาสัมพันธ์
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
107 | การรับรองแผนพัฒนาร่วมระหว่างยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขงกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา | กต. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนพัฒนาร่วมระหว่างยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
(ACMECS)
กับจีน และแผนพัฒนาร่วมระหว่าง ACMECS กับอินเดีย
ซึ่งได้มีการเจรจาปรับแก้ถ้อยคำเพิ่มเติมในร่างแผนพัฒนาร่วม ทั้ง ๒ ฉบับ ได้แก่
(๑) ร่างแผนพัฒนาร่วมฯ กับจีน ประเทศสมาชิก ACMECS มีข้อสรุปให้ปรับถ้อยคำจาก
การที่ ACMECS ส่งเสริม BRI และ MLC
เป็นการเสริมสร้างการสอดประสานระหว่างกันของ ACMECS BRI และ MLC แทน
ไม่ขัดข้องกับการตัดถ้อยคำเกี่ยวกับรายการโครงการ LOPP ของ ACMECS
และขอไม่ให้บรรจุ LOPP
เป็นภาคผนวกของแผนพัฒนาร่วมฯ กับจีน และให้เพิ่มถ้อยคำที่ระบุว่า ACMECS ยังสามารถเสนอ LOPP
ให้จีนพิจารณาให้การสนับสนุนต่อไปได้ และไม่ขัดข้องกับการขอเพิ่มถ้อยคำให้ ACMECS ส่งเสริม GDI และเสนอถ้อยคำให้รวมถึงข้อริเริ่มอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในกรอบอนุภูมิภาค/ภูมิภาคด้วย และ (๒) ร่างแผนพัฒนาร่วมฯ
กับอินเดีย ประเทศสมาชิก ACMECS กับอินเดียมีข้อสรุปให้อินเดียและ
ACMECS ร่วมกันจัดทำรายการโครงการร่วมอินเดีย-ACMECS โดยคัดเลือกจากรายการโครงการใน LOPP
หรือสามารถริเริ่มโครงการใหม่ได้ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
108 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2566) | นร 05 | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันจันทร์ที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๖
ซึ่งพิจารณาเรื่องที่คณะรัฐมนตรีส่งมาให้วิปรัฐบาลพิจารณา ได้แก่
ร่างพิธีสารแก้ไขข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมรายสาขาของอาเซียนสำหรับการตรวจประเมินตามมาตรฐานวิธีการในการผลิตยา
(Protocol of Amend the ASEAN Sectoral Mutual Recognition Arrangement for Good Manufacturing
Practice (GMP) Inspection of Manufacturers of Medicinal Products)
พิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่
๒๕ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันพุธที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๖
และพิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๓
(สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๖ ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
109 | ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. .... | อก. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร
พ.ศ. ....มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร
รวม ๓ รายการ ได้แก่ ๑) ค่าจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ ๒)
ค่าเครื่องหมายการจดทะเบียนซึ่งเจ้าพนักงานได้ประทับหรือทำไว้ที่เครื่องจักร และ
๓) ค่าคัดสำเนาพร้อมเอกสารด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง เฉพาะในคราวเดียวกับการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรออกไปอีก
๑ ปี โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของสำนักงบบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งแจ้งกระทรวงการคลังจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนการรายงาน ติดตาม
และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินมาตรการดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ควรติดตามและประเมินผลการดำเนินการยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
110 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สินค้าน้ำมันดีเซล และน้ำมันอื่น ๆ ที่คล้ายกัน) | กค. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล และน้ำมันอื่น ๆ
ที่คล้ายกัน ในบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ ๐๑.๐๕ รายการน้ำมันดีเซลที่มีกำมะถัน
และรายการน้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมลทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์
และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าว เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
และกระทรวงการคลังควรเริ่มทยอยยกเลิกการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าน้ำมันดีเซลและน้ำมันอื่น
ๆ ที่คล้ายกัน
ควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการช่วยเหลือประชาชนเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้น้อยและมีความเปราะบางต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและค่าครองชีพ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
111 | ร่างพิธีสารเพื่อแก้ไขข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมรายสาขาของอาเซียนสำหรับการตรวจประเมินตามมาตรฐานวีธีการในการผลิตยา (Protocol to Amend the ASEAN Sectoral Mutual Recognition Arrangement for Good Manufacturing Practice (GMP) Inspection of Manufacturers of Medicinal Products) [สรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2566)] | นร.05 | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
112 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลป่าตอง และตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... | คค. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในท้องที่ตำบลป่าตอง และตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้
จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในท้องที่ตำบลป่าตอง และตำบลกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
เพื่อสร้างทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต และอาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ
จุดพักรถ (Rest Area)
และสิ่งจำเป็นอื่น ตามโครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการทางพิเศษ
และเพื่อนำที่ดินไปชดเชยให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ให้ความสำคัญและตระหนักถึงแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากการก่อสร้างทางพิเศษกีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ
พิจารณาจัดหาแหล่งเงินได้หรือเงินกู้สมทบค่าจัดกรรมสิทธิ์ของโครงการฯ
เพื่อลดข้อจำกัดของเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามมาตร ๑๐
แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๖๒
บัญญัติให้เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการสำรวจเพื่อให้ทราบถึงอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยแน่ชัดให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกา
เป็นต้น ไปพิจารณาต่อไปด้วย ๓. ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
113 | การกำหนดสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 | พณ. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการกำหนดสินค้าควบคุม
ปี ๒๕๖๖ จำนวน ๕ รายการ ได้แก่ ๑) หน้ากากอนามัย ๒) ใยสังเคราะห์ Polypropylene (Spunbond) เพื่อใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย
๓) ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ ๔) เศษกระดาษ และกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีก
และ ๕) ไก่ เนื้อไก่ เพื่อกำหนดมาตรการกำกับดูแลสินค้ามีปริมาณเพียงพอ
และราคาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเป็นธรรมต่อประชาชนผู้บริโภค ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
เพื่อให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพาณิชย์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
114 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา พ.ศ. .... | กษ. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์
เรื่อง กำหนดให้ไม้ท่อนและไม้แปรรูปเป็นสินค้าที่ต้องห้ามหรือต้องมีหนังสือรับรอง
และให้สิ่งประดิษฐ์ของไม้เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรอง
ในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงมาตรการในการนำเข้าไม้ท่อนและไม้แปรรูปตามบัญชีท้ายร่างประกาศฯ
รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์จากไม้ดังกล่าวผ่านด่านศุลกากรในเขตจังหวัดกาญจนบุรี
จังหวัดตาก และจังหวัดแม่ฮ่องสอน
และยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๙๒)
พ.ศ. ๒๕๓๕ และประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการนำไม้และไม้แปรรูป
รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดที่ทำด้วยไม้เข้ามาในราชอาณาจักร
ตามแนวชายแดนจังหวัดตาก และจังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการตรวจร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นควรขอความอนุเคราะห์กรมการค้าต่างประเทศจัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กรมป่าไม้และกรมศุลกากร เพื่อพิจารณากำหนดรหัสสถิติใหม่โดยหลักเกณฑ์การกำหนดรหัสสถิติสินค้าที่ต้องมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของสินค้านั้น
ๆ ว่ายังคงมีการค้าอยู่ในปัจจุบันหรือไม่มากน้อยเพียงใด และมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการอ้างบทอาศัยอำนาจในร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ
เห็นสมควรอ้างถึงเพียงมาตรา ๕(๑) และ (๕) แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าฯ
และตัดการอ้างถึงมาตรา ๕ (๖) ออก
เนื่องจากมิได้เป็นการกำหนดมาตรการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบในการนำเข้า
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
115 | การจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐตุรกี ฉบับที่ 2 (ค.ศ. 2023-2028) | กต. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐตุรกี
ฉบับที่ ๒ (ค.ศ. ๒๐๒๓-๒๐๒๘) โดยร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ
มีสาระสำคัญที่มุ่งกำหนดกรอบการดำเนินความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับตุรกีในห้วงระยะเวลา
๕ ปี ระหว่างปี ๒๕๖๖-๒๕๗๑ (ค.ศ.๒๐๒๓-๒๐๒๘)
โดยเน้นความร่วมมือในสาขาและประเด็นที่หลากหลายและรอบด้าน
บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ
เพื่อยกระดับความสัมพันธ์และความร่วมมือทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐตุรกีไปสู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ชาติ
ภายในปี ๒๕๗๑ และให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เป็นผู้ลงนามแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐตุรกี ฉบับที่ ๒
(ค.ศ. ๒๐๒๓-๒๐๒๘) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐตุรกี
ฉบับที่ ๒ (ค.ศ. ๒๐๒๓-๒๐๒๘)
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรต้องวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมดังกล่าว
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานดังกล่าวให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงผลประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของสาขาความร่วมมือและกิจกรรมที่จะดำเนินการตามแผนปฏิบัติการดังกล่าวให้เหมาะสม
และเร่งรัดติดตามการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
116 | เอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการไทย - ตุรกี ครั้งที่่ 4 | กต. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
117 | ขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายวัลลพ สงวนนาม) | ศธ. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ราย นายวัลลพ สงวนนาม เนื่องจาก นายวัลลพ สงวนนาม
ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
118 | การขอรับการจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปีเป็นการจ่ายขาดให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภค (งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567) | นร.01 | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบวงเงินการขอรับการจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปีเป็นการจ่ายขาดให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภค
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ตามนัยมาตรา๑๖
แห่งพระราชบัญญัติการจัดตั้งองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๖๒
ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาตามความจำเป็นและวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ตลอดจนศักยภาพและความสามารถในการใช้จ่ายงบประมาณต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้สภาองค์กรของผู้บริโภคและสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับความเห็นของกระทรวงการคลังและข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ
ที่กำหนดตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ กฎหมาย ระเบียบ
ประกาศ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
โดยให้สภาองค์กรของผู้บริโภคใช้จ่ายเงินอย่างโปร่งใส คุ้มค่า และประหยัด
ควรมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการที่สภาองค์กรของผู้บริโภคดำเนินการทั้ง
๘ ด้าน อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยที่เป็นด้านการเงินและธนาคาร
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
เพื่อร่วมในการช่วยเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูล ตลอดจนควรมีการสื่อสารข้อมูลจากผู้บริโภคย้อนกลับไปในหน่วยงานต่าง
ๆเพื่อช่วยในการยกระดับประสิทธิภาพในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่จะทำให้เกิดการตระหนักถึงสิทธิของผู้บริโภค
และมีความเท่าทันต่อผู้ประกอบการหรือผู้ไม่หวังดี
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
119 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายวิฑูร เอื่ยมโอภาส) | นร.01 | 10/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายวิฑูร เอี่ยมโอภาส
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการกระจายอำนาจ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
120 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายสงกรานต์ จิตสุทธิภากร) | พม. | 10/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|