ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 5 จากทั้งหมด 5949 หน้า แสดงรายการที่ 81 - 100 จากข้อมูลทั้งหมด 118962 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
81 | รัฐบาลราชอาณาจักรเอสวาตินีเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรเอสวาตินีประจำประเทศไทย (นายเมนซี ซีโพ ซามีนี) | กต. | 24/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
82 | ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. 2560 รวม 2 ฉบับ | กค. | 24/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
83 | รัฐบาลสาธารณรัฐลิทัวเนียเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐลิทัวเนียประจำประเทศไทย (นายดาริอุส ไกดีส) | กต. | 24/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
84 | ร่างกฎหมายการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ | กค. | 24/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
85 | รัฐบาลสาธารณรัฐเฮลเลนิกเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐเฮลเลนิกประจำประเทศไทย (นายฟีโวส กีออร์กีโอส อังเกเลโตส) | กต. | 24/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
86 | ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ครั้งที่ 2 (นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม) | พณ. | 24/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
87 | ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องสูบน้ำแบบเคลื่อนที่เร็วขับด้วยระบบไฮดรอลิค | กษ. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน
ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๓๙๕,๕๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องสูบน้ำแบบเคลื่อนที่เร็วขับด้วยระบบไฮดรอลิค
รวม ๒ รายการ จำนวน ๒๕ เครื่อง ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน)
รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ที่เห็นควรจัดทำบัญชีเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งของทุกหน่วยงาน
รวมทั้งจัดทำแผนบำรุงรักษาและแผนทดแทนเครื่องมือเครื่องจักรดังกล่าว
เพื่อให้การใช้งบประมาณและการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งของประเทศในระยะยาวมีความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ในส่วนของการใช้จ่ายงบประมาณ
ให้ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณและจัดทำแผนงานการบริหารจัดการเครื่องสูบน้ำร่วมกับที่มีอยู่เดิมจัดส่งให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี
หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประชาชนเป็นสำคัญ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
88 | การพิจารณากำหนด “วันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน” | มท. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้วันที่ ๒๑ มกราคมของทุกปี เป็น
“วันความปลอดภัยของผู้ใช้ทางถนน” ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ
ประธานกรรมการและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเสนอ
และให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนและกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
และมอบหมายให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการเข้มงวดกวดขันปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและจราจรโดยเคร่งครัด
รวมทั้งประสานหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้รถใช้ถนน
โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะการข้ามถนนทั้งที่มีและไม่มีทางม้าลายที่ถูกต้องและปลอดภัยให้แก่เยาวชน
ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในประเทศได้อย่างยั่งยืนต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ในการดำเนินมาตรการ/จัดกิจกรรมต่าง ๆ เนื่องใน “วันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน”
(วันที่ ๒๑ มกราคมของทุกปี) และ “วันโลกรำลึกถึงผู้สูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน”
(วันอาทิตย์สัปดาห์ที่ ๓ ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี) ให้เหมาะสม สอดคล้อง
เป็นไปในแนวทางเดียวกันและมีความต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกในด้านความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน
ซึ่งจะนำไปสู่การลดอุบัติเหตุทางถนนได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
89 | ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ไม้ท่อนและไม้แปรรูปเป็นสินค้าที่ต้องห้ามหรือต้องมีหนังสือรับรอง และให้สิ่งประดิษฐ์ของไม้เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรอง ในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. .... | พณ. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์
เรื่อง กำหนดให้ไม้ท่อนและไม้แปรรูปเป็นสินค้าที่ต้องห้ามหรือต้องมีหนังสือรับรอง
และให้สิ่งประดิษฐ์ของไม้เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรอง
ในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงมาตรการในการนำเข้าไม้ท่อนและไม้แปรรูปตามบัญชีท้ายร่างประกาศฯ
รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์จากไม้ดังกล่าวผ่านด่านศุลกากรในเขตจังหวัดกาญจนบุรี
จังหวัดตาก และจังหวัดแม่ฮ่องสอน
และยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๙๒)
พ.ศ. ๒๕๓๕ และประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการนำไม้และไม้แปรรูป
รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดที่ทำด้วยไม้เข้ามาในราชอาณาจักร
ตามแนวชายแดนจังหวัดตาก และจังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการตรวจร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นควรขอความอนุเคราะห์กรมการค้าต่างประเทศจัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กรมป่าไม้และกรมศุลกากร เพื่อพิจารณากำหนดรหัสสถิติใหม่โดยหลักเกณฑ์การกำหนดรหัสสถิติสินค้าที่ต้องมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของสินค้านั้น
ๆ ว่ายังคงมีการค้าอยู่ในปัจจุบันหรือไม่มากน้อยเพียงใด และมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการอ้างบทอาศัยอำนาจในร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ
เห็นสมควรอ้างถึงเพียงมาตรา ๕(๑) และ (๕) แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าฯ
และตัดการอ้างถึงมาตรา ๕ (๖) ออก
เนื่องจากมิได้เป็นการกำหนดมาตรการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบในการนำเข้า
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
90 | ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน ในการขอใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน บริเวณตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เพื่อขยายพื้นที่สำหรับการดำเนินการจัดการเรียนการสอนของสถาบันวิทยาลัยชุมชน วิทยาลัยชุมชนปัตตานี | อว. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการยกเว้นมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๓๔ วันที่ ๒๒ สิงหาคม
๒๕๔๓ และวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ ในการขอใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน
เนื้อที่จำนวน ๑.๐๘ ไร่ บริเวณตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
เพื่อขยายพื้นที่สำหรับการดำเนินการจัดการเรียนการสอนของสถาบันวิทยาลัยชุมชน
วิทยาลัยชุมชนปัตตานี ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
(สถาบันวิทยาลัยชุมชน วิทยาลัยชุมชนปัตตานี)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
เช่น
ควรพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากกิจกรรมการก่อสร้างอาคารและคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อพื้นที่โดยรอบ
โดยเฉพาะพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณข้างเคียง ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งการดำเนินการตามระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งฯ พ.ศ. ๒๕๕๖
ค่าใช้จ่ายในการปลูกและบำรุงรักษาป่าชายเลนทดแทนไม้น้อยกว่า ๒๐ เท่า ของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้ประโยชน์
ตามระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งฯ พ.ศ. ๒๕๖๖
ให้สถาบันวิทยาลัยชุมชนพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๒ หรือเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม แล้วแต่กรณี วิทยาลัยชุมชนปัตตานีควรมีแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพนิเวศของป่าชายเลนที่อยู่โดยรอบร่วมกับนักศึกษาและชุมชนในบริเวณใกล้เคียงในระยะต่อไป
เป็นต้น ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
91 | (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) | ทส. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
92 | (ร่าง) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) | นร.11 สศช | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบการขอแก้ไขข้อความในหนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
ด่วนที่สุด ที่ นร๑๑๑๒/๗๑๕๙ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๕ หน้า ๒ ข้อ ๓.๑ ให้ถูกต้อง
จากเดิม “... มีจำนวนแนวทางรวมทั้งสิ้น ๓๙๒ แนวทาง ...” เป็น “...
มีจำนวนแนวทางรวมทั้งสิ้น ๓๙๑ แนวทาง ...” ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเสนอเพิ่มเติม
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
93 | ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ไม้พะยูงเป็นสินค้าที่ต้องห้าม ให้ไม้ท่อน ไม้แปรรูป และไม้ล้อมบางชนิด เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาต และให้สิ่งประดิษฐ์ของไม้และถ่านไม้เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรอง ในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. .... | พณ. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง
กำหนดให้ไม้พะยูงเป็นสินค้าที่ต้องห้าม ให้ไม้ท่อน ไม้แปรรูป
และไม้ล้อมบางชนิด เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาต และให้สิ่งประดิษฐ์ของไม้และถ่านไม้เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรอง
ในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงมาตรการการส่งออกโดยกำหนดให้
๑) ไม้ท่อน (ไม้ฟืน ไม้เสาเข็ม และไม่เสารั้ว) ไม้แปรรูป (ไม้ซีก ไม้หมอนรถไฟหรือรถราง
และไม้ปาร์เกต์) และไม้ล้อมบางชนิด (ต้นจำปีป่า ต้นประดู่ และต้นจันทร์หอม)
เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาต ๒) สิ่งประดิษฐ์ของไม้ (ตู้ เตียง เก้าอี้)
และถ่านไม้เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรอง ๓) ให้ไม้พะยูง (ไม้พะยูงท่อน
ไม้พะยูงแปรรูป ไม้พะยูงล้อม และสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากไม้พะยูง)
เป็นสินค้าห้ามส่งออกไปนอกราชอาณาจักร และ ๔) ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ รวม ๒
ฉบับ ได้แก่ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การส่งถ่านไม้ออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ.
๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๙ และประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ไม้เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๕ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่เห็นควรขอความอนุเคราะห์กรมการค้าต่างประเทศจัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กรมป่าไม้ และกรมศุลกากร เพื่อพิจารณากำหนดรหัสสถิติใหม่
โดยหลักเกณฑ์การกำหนดรหัสสถิติต้องมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของสินค้านั้น ๆ
ว่ายังคงมีการค้าอยู่ในปัจจุบันหรือไม่ มากน้อยเพียงใด และควรอ้างถึงมาตรา ๕ (๑)
(๒) และ (๕)
แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าฯ
และตัดการอ้างถึงมาตรา ๕ (๖) ออก
เนื่องจากมิได้เป็นการกำหนดมาตรการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบในการส่งออก
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงการต่างประเทศ ที่เห็นควรขอความอนุเคราะห์กรมการค้าต่างประเทศจัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กรมป่าไม้ และกรมศุลกากร เพื่อพิจารณากำหนดรหัสสถิติใหม่
โดยหลักเกณฑ์การกำหนดรหัสสถิติต้องมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของสินค้านั้น ๆ
ว่ายังคงมีการค้าอยู่ในปัจจุบันหรือไม่ มากน้อยเพียงใด และพิจารณาซักซ้อมความเข้าใจล่วงหน้ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศเพื่อนบ้านที่รับผิดชอบเรื่องการนำเข้าและส่งออก
ก่อนประกาศมีผลบังคับใช้ เพื่อให้มีการปรับตัว
และสามารถปฏิบัติตามมาตรการใหม่อย่างถูกต้อง ไปพิจารณาต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
94 | สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2565 | กษ. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ
ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๕ ได้มีมติเห็นชอบให้มีการดำเนินการ ๖
เรื่อง ได้แก่ การกำหนดมาตรฐานการรับซื้อผลปาล์ม
โครงการติดตั้งเครื่องมือวัดปริมาณน้ำมันปาล์มเพื่อบริหารจัดการและควบคุมสต็อกน้ำมันปาล์ม
การเปิดตลาดน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มภายใต้กรอบการค้าระหว่างประเทศ
ปี ๒๕๖๖-๒๕๖๘
การขยายระยะเวลาโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี ๒๕๖๕
โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี ๒๕๖๕-ปี๒๕๖๖ และมาตรการคู่ขนาน ปี
๒๕๖๖ และ การสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กนป. ตามที่คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
95 | หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (ฉบับที่ 4) | สธ. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (ฉบับที่ ๔) (หลักเกณฑ์ UCEP) ซึ่งได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ UCEP ๒ รายการ ได้แก่
(๑) การจัดทำรายการ หมวดค่ายาและสารอาหารทางเส้นเลือด
เป็นการปรับรายการยาในบัญชีแนบท้ายหลักเกณฑ์ UCEP จากจำนวน ๓,๑๓๘ รายการ คงเหลือ ๑,๒๘๗ รายการ
โดยปรับการกำหนดชื่อรายการยา จากเดิม กำหนดตามชื่อการค้า (Trade name) ของยา ๓,๑๓๘ รายการ ปรับเป็น (๑)
ใช้เฉพาะชื่อสามัญทางยา (Generic name) (สำหรับยาสามัญ จำนวน
๑,๐๖๐ รายการ) และ (๒) ใช้ทั้งชื่อสามัญทางยาและชื่อการค้า
(สำหรับยาต้นแบบ จำนวน ๒๒๗ รายการ) รวมทั้งได้มีการปรับอัตราค่ายาทั้ง ๑,๒๘๗ รายการ ให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายในปัจจุบันแล้ว และ (๒) ค่าธรรมเนียมแพทย์
ในหมวดที่ ๑๒ ค่าบริการวิชาชีพ เป็นการปรับอัตราค่าบริการทางการแพทย์ เพื่อให้เป็นไปตามคู่มือแนวทางการกำหนดค่าธรรมเนียมการแพทย์
ปี ๒๕๖๓ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
โดยปรับเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ ๓๐ เช่น การซ่อมแซมหลอดเลือดแดงโปร่งพองในสมอง
จาก ๖๐,๐๐๐ ยาท เป็น ๙๐,๐๐๐ บาท
เพิ่มขึ้น ๓๐,๐๐๐ บาท หรือประมาณร้อยละ ๓๓.๓๔ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้กระทรวงสาธารณสุขรับข้อสังเกตของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม และความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่เห็นว่าบัญชีรายการยาควรครอบคลุมไม่ต่ำกว่าสิทธิการรักษาพยาบาลของ
สปสช. ควรพิจารณาทบทวนการจัดกลุ่มให้ชัดเจนเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
ในกรณีของโรงพยาบาลเอกชนอาจมีรายการดังกล่าวในกลุ่มต้นแบบเท่านั้น
และสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง
เกี่ยวกับการดำเนินการแก่ผู้ป่วยวิกฤตและประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับเป็นสำคัญ
กำกับ ติดตาม และตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
เงื่อนไข และอัตราที่กำหนด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
96 | ขออนุมัติดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำกิ จังหวัดน่าน | กษ. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดยกรมชลประทานดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำกิ จังหวัดน่าน ภายในกรอบวงเงิน ๖,๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ ๗ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๗๓)
โดยขอให้กรมชลประทานเร่งรัดการดำเนินการเตรียมความพร้อมด้านจัดหาที่ดินในการก่อสร้าง
พร้อมทั้งจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามความสามารถในการใช้จ่ายและก่อหนี้ผูกพันภายในปีงบประมาณที่สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอย่างเคร่งครัด
ตลอดจนปฏิบัติตามนัยมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
สำหรับกรณีที่มีรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณมากกว่าหนึ่งปีงบประมาณ
และมีวงเงินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป จะต้องเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติก่อน
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความพร้อม ความจำเป็นและเหมาะสม
ตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เช่น
ให้ความสำคัญกับการควบคุม และการกำกับดูแลการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการปฏิบัติตามมาตรการและแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด ควรรายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำกิ
จังหวัดน่าน ต่อคณะกรรมการลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้องและ กนช. ทราบทุก ๖ เดือน
เพื่อติดตามและกำกับโครงการดังกล่าวให้แล้วเสร็จตามแผนงานและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ควรเร่งรัดการดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมาย
ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
97 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 | รง. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนประกันสังคม
สำนักงานประกันสังคม สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ ประกอบด้วย
งบแสดงฐานะการเงิน และงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน
ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรับรองแล้ว
เห็นว่ารายงานการเงินดังกล่าวถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้นำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบต่อไป
และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
98 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายนพดล อุเทน) | ปปง. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
99 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (1. นายทศเทพ บุญทอง ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | สธ. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
100 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (1. นายทศเทพ บุญทอง ฯลฯ จำนวน 3 ราย) (นางสาวอังคณา นรเศรษฐ์ธาดา) | สธ. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|