ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 5981 หน้า แสดงรายการที่ 41 - 60 จากข้อมูลทั้งหมด 119611 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
41 | การรับรองร่างปฏิญญาทางการเมืองสำหรับการประชุมระดับสูงว่าด้วยการทบทวนครึ่งวาระของกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ค.ศ. 2015-2030 | มท. | 16/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบต่อร่างปฏิญญาทางการเมืองสำหรับการประชุมระดับสูงว่าด้วยการทบทวนครึ่งวาระของกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
ค.ศ. ๒๐๑๕-๒๐๓๐ และอนุมัติให้ นายสุริยา
จินดาวงษ์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก หรือผู้แทน
ซึ่งได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้รับรองร่างปฏิญญาดังกล่าว
โดยร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญเพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นและการเร่งรัดการดำเนินการตามพันธกิจ
๔ ประการ (Priorities for Action) ของกรอเซนได ประกอบด้วย พันธกิจที่ ๑ เข้าใจความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
พันธกิจที่ ๒ เสริมสร้างศักยภาพในการบริหารและจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
พันธกิจที่ ๓ ลงทุนในด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
เพื่อให้พร้อมรับมือและฟื้นคืนกลับได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และพันธกิจที่
๔ พัฒนาศักยภาพในการเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพ
ตลอดจนการฟื้นสภาพและซ่อมสร้างที่ดีกว่าเดิมในช่วงของการบูรณาการฟื้นฟูภายหลังเหตุภัยพิบัติ
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาทางการเมืองสำหรับการประชุมระดับสูงว่าด้วยการทบทวนครึ่งวาระของกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
ค.ศ. ๒๐๑๕-๒๐๓๐ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
42 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. .... | นร.09 | 16/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้
พ.ศ. .... ที่ตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้เพิ่มเติมขึ้นจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายรวม
๘ กรณี
โดยเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์กับคู่กรณีในทางใดทางหนึ่งซึ่งอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองขาดความเป็นกลางได้
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
43 | การพิจารณารับรองวัดคาทอลิก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564 | วธ. | 16/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการพิจารณารับรองวัดคาทอลิก
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๗๙ วัด ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
และให้กระทรวงวัฒนธรรมรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงศึกษาธิการ
โดยขอให้ดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
และเห็นควรให้มีรั้วแสดงขอบเขตของวัดคาทอลิก
และโรงเรียนในระบบออกจากกันอย่างชัดเจน โดยขนาดที่ดินที่เป็นที่ตั้งโรงเรียนที่เหลืออยู่จะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวง
การขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบฯ
พร้อมทั้งให้โรงเรียนในระบบดำเนินการขอเปลี่ยนแปลงรายการในตราสารจัดตั้งและการขอเปลี่ยนแปลงที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนในระบบต่อผู้อนุญาตที่กำกับดูแล
แล้วแต่กรณี หรือดำเนินการอย่างอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนกำหนด ไปพิจารณาดำเนินการอย่างเคร่งครัดด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
44 | ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2566 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 16/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี ๒๕๖๖ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๕-๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ เมือดีทรอยด์ รัฐมิชิแกน
สหรัฐอเมริกา และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี ๒๕๖๖
และเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยร่างแถลงการณ์ร่วมฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ปุตราจายาของเอเปค
ค.ศ. ๒๐๔๐ (เป็นการกำหนดความร่วมมือของเอเปคในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า) และแผนปฏิบัติการเอาทีอารอ
ซึ่งมุ่งเน้นให้ผลักดันและขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกใน
๓ มิติ ได้แก่ การค้าและการลงทุน นวัตกรรมและการใช้ประโยชน์จากดิจิทัล
และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง สมดุล มั่นคง ยั่งยืน และครอบคลุม
รวมทั้งสอดคล้องกับเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วย BCG ซึ่งเป็นผลลัพธ์การประชุมเอเปคที่ไทยเป็นเจ้าภาพในปี
๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าควรมีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม
เช่น สร้างกลไกเชิงสถาบันของชุมชน
เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และควรประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบและเร่งดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวของเอเปคตามความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของประเทศ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี ๒๕๖๖
และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
45 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 (สำนักงานอัยการสูงสุด) | อส. | 16/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน
ของสำนักงานอัยการสูงสุด สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ประกอบด้วย
งบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ยกเว้นผลกระทบของเรื่องที่กล่าวไว้ในเกณฑ์การแสดงความคิดเห็นอย่างมีเงื่อนไข
โดยได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่า รายงานการเงินดังกล่าวถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
46 | จังหวัดเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) | กก. | 16/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||
47 | การพัฒนาพื้นที่เก็บกักน้ำทดแทนบึงเสือดำในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (มักกะสัน) | สกพอ. | 16/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการพัฒนาพื้นที่เก็บกักน้ำทดแทนบึงเสือดำในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
(มักกะสัน) เพื่อให้สามารถพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
(มักกะสัน) ได้เต็มศักยภาพ ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
และให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรกำกับติดตามการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุนอย่างใกล้ชิด
เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการดังกล่าวให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||
48 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 16/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน
พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยกำหนดให้พัสดุส่งเสริมดิจิทัลตามบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทยของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
เป็นพัสดุประเภทที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน
และกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุดังกล่าวโดยใช้วิธีเฉพาะเจาะจงหรือวิธีคัดเลือก
แล้วแต่กรณี ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
49 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2566 | นร.11 สศช | 16/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ในคราวประชุมครั้งที่
๕/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๖ โดยอนุมัติให้จังหวัดเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ
๕๘ โครงการ กรอบวงเงิน ๒๑๙.๓๐๕๐ ล้านบาท มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย
เร่งดำเนินการประสานจังหวัดในการตรวจสอบการดำเนินโครงการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
ในกรณีที่จังหวัดไม่สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรีให้จังหวัดเร่งดำเนินการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ
และ/หรือเสนอขอยกเลิกการดำเนินโครงการตามขั้นตอนระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
และให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการในระบบ eMENSCR
ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
รายงานผลสัมฤทธิ์และคืนเงินกู้เหลือจ่าย (ถ้ามี)
ตามระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ และให้หน่วยงานเจ้าของโครงการและกระทรวงต้นสังกัดรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ชาติ เช่น ควรกำกับติดตามหน่วยงานในสังกัดให้ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม ๒๕๖๔ เป็นไปตามเป้าหมาย และกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด
และปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน เป็นไปตามหลักเกณฑ์
อัตราค่าใช้จ่าย และมาตรฐานของทางราชการอย่างประหยัด รวมทั้งเร่งรัดการใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย
ตลอดจนให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลโครงการ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||
50 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2566 | นร.11 สศช | 16/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||
51 | การขออนุมัติในหลักการสำหรับการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เมียนมากรณีพายุไซโคลนโมคา | กต. | 16/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาชี้แจงว่า โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ (เรื่อง ขอปรับหลักเกณฑ์การดำเนินงานให้ความช่วยเหลือแก่มิตรประเทศที่ประสบภัยพิบัติ)
เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณสำหรับการให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านที่ประสบภัยพิบัติของกระทรวงการต่างประเทศ
และกระทรวงการต่างประเทศได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณรองรับการดำเนินการดังกล่าวอยู่แล้วเป็นประจำทุกปี
ดังนั้น การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เมียนมาพายุไซโคลนโมคาจึงเป็นเรื่องที่กระทรวงการต่างประเทศสามารถพิจารณาดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่และไม่เข้าลักษณะเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปตามนัยมาตรา
๑๖๙ (๑) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
คณะรัฐมนตรีจึงสามารถพิจารณาได้ตามที่เห็นสมควร ๒. เห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศเร่งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามอำนาจหน้าที่ให้ถูกต้อง
เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยด่วนต่อไป ๓.
ให้กระทรวงการต่างประเทศได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
52 | ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่เเละมาตรการคุ้มครองสิ่งเเวดล้อม ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านเเหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2561 พ.ศ. .... | ทส. | 16/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม
อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน
อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม
อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน
อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไปอีกสองปีนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน
๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมาย และร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรเร่งดำเนินการยกร่างประกาศกระทรวงฯ ฉบับใหม่และนำมาใช้บังคับโดยเร็ว
เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันและเกิดความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
53 | รายงานผลการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 และวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 | มท. | 16/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||
54 | ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2566 และแนวโน้มปี 2566 | นร.11 สศช | 16/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี ๒๕๖๖
และแนวโน้มปี ๒๕๖๖ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ สรุปได้
ดังนี้ ๑. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี ๒๕๖๖ ขยายตัวร้อยละ ๒.๗ เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ ๑.๔
ในไตรมาสก่อนหน้า (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี ๒๕๖๖ ขยายตัวจากไตรมาสที่สี่ของปี ๒๕๖๕ ร้อยละ ๑.๙ (%QoQ_SA ๒. แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี ๒๕๖๖ คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ ๒.๗-๓.๗
โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการอุปโภค
บริโภคภายในประเทศ และการขยายตัวของการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ คาดว่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ
๑.๙ และร้อยละ ๒.๗ ตามลำดับ และมูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ
๑.๖ ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ ๒.๕-๓.๕ และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ
๑.๔ ของ GDP ๓.
ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี ๒๕๖๖ ควรให้ความสำคัญกับ
(๑) การขับเคลื่อนภาคการส่งออกสินค้า การติดตามและดูกลไกตลาดเพื่อให้ราคาสินค้าเคลื่อนไหวสอดคล้องกับต้นทุนการผลิต
(๒) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน (๓)
การสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง (๔) การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้
(๕) การรักษาบรรยากาศทางเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศในช่วงหลังการเลือกตั้ง
|
||||||||||||||||||||||||||||||
55 | มติการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2565 | พน. | 16/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ
ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๕ เรื่อง การพิจารณาให้สิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า
ประเภทรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ และเสนอคณะรัฐมนตรีทบทวนมติเมื่อวันที่ ๑๕
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ได้แก่
กำหนดให้กรณีนำเข้ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน ๑๐ คน ประเภท BEV
ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน ๒ ล้านบาท และมีขนาดความจุแบตเตอรี่ตั้งแต่ ๑๐ กิโลวัตต์ชั่วโมง
(kWh) ขึ้นไป
ต้องผลิตรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน ๑๐ คน หรือรถยนต์กระบะ
ประเภท BEV รุ่นใดก็ได้ เพื่อชดเชยการนำเข้า
และกรณีนำเข้ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน ๑๐ คน ประเภท BEV ที่มีราคาขายปลีกแนะนำมากกว่า ๒ ล้านบาท แต่ไม่เกิน ๗ ล้านบาท
และมีขนาดความจุแบตเตอรี่ตั้งแต่ ๓๐ kWh ขึ้นไป
ซึ่งกำหนดให้ต้องผลิตชดเชยรุ่นใดรุ่นหนึ่งที่ได้นำเข้า
หากมีกรณีผู้ขอรับสิทธิได้นำเข้ารถยนต์รุ่นที่ได้รับสิทธิและผลิตชดเชยรุ่นเดียวกับรถยนต์ที่ได้นำเข้าและได้รับสิทธิ์
แม้จะมีเลขซีรีส์ที่ต่างกัน ถือเป็นการผลิตชดเชยรถยนต์รุ่นเดียวกับรถยนต์ที่ได้รับสิทธิ
ตามที่คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
56 | รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2566 | กค. | 16/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ
ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เสนอ
และให้กระทรวงคมนาคมเร่งแก้ปัญหาอุปสรรคในการจัดหาอากาศยานให้เป็นไปตามแผนการจัดหาอากาศยานในปี
๒๕๖๗-๒๕๖๘ ด้วย ๒. ให้คณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
57 | รายงานการประเมินผลโครงการหรือแผนงานภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 รอบ 6 เดือน ครั้งที่ 1 | กค. | 09/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการประเมินผลโครงการหรือแผนงานภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ รอบ ๖ เดือน
ครั้งที่ ๑ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ๑.
การติดตามประเมินผลโครงการหรือแผนงานภายใต้พระราชกำหนดฯ มีโครงการทั้งสิ้น ๒,๔๗๔ โครงการ
ประกอบด้วย ๓ แผนงาน ได้แก่ (๑) เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) (๒) เพื่อช่วยเหลือ
เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-๑๙ และ (๓)
เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-๑๙ ๒. สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ และกลุ่มที่ปรึกษาภายใต้โครงการและแผนงานภายใต้พระราชกำหนดฯ
ได้จัดทำรายงานผลฯ ซึ่งคณะกรรมการประเมินผลการใช้จ่ายเงินตามพระราชกำหนดฯ
ได้เห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
โดยคัดเลือกโครงการที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมที่แล้วเสร็จ จำนวน ๑๐ โครงการ
มีกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ๑๘๔,๔๑๐.๔๔ ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายรวม ๑๘๓,๔๙๑.๓๐
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๕๐ ของกรอบวงเงิน โดยทั้ง ๑๐ โครงการ
มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีมาก ช่วยให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
จำนวน ๔๒,๓๒๒.๒๒ ล้านบาท
และมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่คาดว่ารัฐจะได้กลับคืนสูงสุดภายใน ๓ ปี จำนวน ๘,๑๖๘.๒๓ ล้านบาท
|
||||||||||||||||||||||||||||||
58 | รายงานการประเมินผลโครงการในภาพรวม รอบ 6 เดือน ครั้งที่ 3 และรายงานการประเมินผลลัพธ์ต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 | กค. | 09/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการประเมินผลโครงการในภาพรวม รอบ ๖ เดือน
ครั้งที่ ๓ และรายงานการประเมินผลลัพธ์ต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยา
และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
พ.ศ. ๒๕๖๓ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑) รายงานประเมินผลโครงการในภาพรวม รอบ ๖
เดือน ครั้งที่ ๓ โดยผลการประเมินในภาพรวมฯ พบว่า
เกิดเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ๓,๑๘๔,๓๘๕.๓๔ ล้านบาท สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ๗๙๖,๘๔๙.๕๓ ล้านบาท และสามารถรักษาการจ้างงาน ๒๐.๕๑ ล้านอัตรา
อีกทั้งผลการประเมินในด้านความสอดคล้องและความเชื่อมโยง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
ผลกระทบและความยั่งยืน มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีมาก
และผลการประเมินในระดับแผนงานมีผลการดำเนินอยู่ในระดับดีมาก ได้แก่
แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อแก้ไขปัญหาโควิด-๑๙
แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเยียวยา และชดเชยให้กับภาคประชาชน
เกษตรกร และผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-๑๙
แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-๑๙ เช่น โครงการ “โคก หนอง นาโมเดล” (๒)
รายงานการประเมินผลลัพธ์ต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ
โดยใช้ ๓ แบบจำลอง ได้แก่ แบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค ใช้ประเมินผล เช่น ผลกระทบต่อ
GDP เพิ่มขึ้น ๐.๘๐ ล้านล้านบาท แบบจำลองดุลยภาพทั่วไปเชิงพลวัติ
ใช้ประเมินผล เช่น มูลค่า Real GDP เพิ่มสูงขึ้น ๑๗๑,๗๔๑.๕๓ ล้านบาท และแบบจำลองปัจจัยการผลิต ใช้ประเมินผล เช่น
เงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ๓,๑๘๔,๓๕๘.๓๔
ล้านบาท สร้างมูลค่า GDP ๗๙๖,๘๔๙.๕๓
ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
59 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 | ปช. | 09/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน
งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่า
รายงานการเงินดังกล่าวถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
60 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 90 ปี กรมธนารักษ์ พ.ศ. .... | กค. | 09/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ๙๐
ปี กรมธนารักษ์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเพื่อเฉลิมพระเกียรติสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
และเผยแพร่พระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้แผ่ไพศาลไปทั้งภายในประเทศและนานาประเทศ
และเป็นที่ระลึก
รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภารกิจของกรมธนารักษ์ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|