ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 5981 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 40 จากข้อมูลทั้งหมด 119611 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | สรุปผลการประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สภาซีเมค) ครั้งที่ 52 | ศธ. | 23/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(สภาซีเมค) ครั้งที่ ๕๒ ระหว่างวันที่ ๘-๑๐
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช)
เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมฯ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑)
การประชุมวาระเฉพาะและการประชุมเต็มคณะ ที่ประชุมมีมติให้ศูนย์/เครือข่ายระดับภูมิภาคของซีมีโอและสำนักงานเลขาธิการซีมีโอดำเนินงานตามขอบข่ายวาระการศึกษาของซีมีโอด้านการศึกษา
วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม เช่น
การส่งเสริมวิจัยระดับอุดมศึกษา การเรียนรู้แบบสะเต็มการศึกษา
และการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ ๒๑ ในโอกาสนี้ คณะผู้แทนไทยได้กล่าวย้ำความสำคัญของการบูรณาการ
“ศาสตร์และศิลป์แห่งชีวิต”
ไว้ในการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาสู่การจัดการเรียนรู้แบบศาสตร์และศิลป์ที่ผสมผสานในลักษณะ
“STEAM” ทั้งนี้
ที่ประชุมกำหนดให้มีการประชุมสภาซีเมค ครั้งที่ ๕๓ ในช่วงเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๘ ณ
บรูไน และ (๒) การประชุมเชิงยุทธศาสตร์ระดับรัฐมนตรีศึกษาของซีมีโอ ครั้งที่ ๖
ที่ประชุมเห็นพ้องและแสดงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมประเด็นด้านนโยบายของภูมิภาค
แนวปฏิบัติด้านการเรียนรู้พื้นฐาน การรู้หนังสือและการคำนวณการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การพลิกโฉมด้วยระบบดิจิทัล
การให้ความสำคัญลำดับต้นแก่ผู้เรียนกลุ่มเปราะบางด้วยการพัฒนาวิธีการแบบเรียนร่วมการเสริมสร้างขีดความสามารถของครูและบุคลากรทางการศึกษา
การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาในยุคดิจิทัล
และการเสริมสร้างแนวคิดริเริ่มในการติดตามและประเมินผล ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
22 | รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | ตผ. | 23/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
โดยรายงานดังกล่าวมีสาระสำคัญเกี่ยวกับรายงานผลการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
เช่น การตรวจเงินแผ่นดิน การดำเนินการด้านความผิดวินัยการเงินการคลังของรัฐ
การตรวจสอบการใช้จ่ายเงินเพื่อแก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-๑๙
และการส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานของหน่วยรับตรวจ ตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
23 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ของคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา | สว. | 23/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ของคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา โดยมีข้อเสนอแนะ ๓ ประเด็น ได้แก่ (๑)
ข้อเสนอแนะเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษา เช่น
รัฐควรออกนโยบายของการสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบไม่มีค่าใช้จ่าย สนับสนุนและจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
อุดมศึกษาต้องปรับการทำงานในด้านการบริการเชิงวิชาการให้สอดคล้องกับแรงงานไร้ฝีมือ
เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของแรงงาน เป็นต้น (๒)
ข้อเสนอแนะเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจในระยะสั้น ภาครัฐควรเร่งดำเนินมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคบริการขนาดเล็กและขนาดย่อมและกลุ่มเปราะบาง
จัดสรรงบประมาณที่ผ่อนคลายเงื่อนไขการเข้าถึงแหล่งเงิน
เพื่อให้สามารถกลับมารองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิดผ่อนคลาย
และในระยะยาว ภาครัฐควรมีมาตรการทางภาษี มาตรการช่วยเหลือครัวเรือนเปราะบาง
ครัวเรือนยากจนแบบทั่วถึง ปรับปรุงระบบความคุ้มครองทางสังคมให้ครอบคลุมครัวเรือนเปราะบางและครัวเรือนยากจน
รวมทั้งมีการบังคับใช้กฎหมายภาษีอย่างเข้มข้น (๓)
ข้อเสนอแนะเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางด้านสาธารณสุข เช่น
รัฐควรสนับสนุนด้านงบประมาณในการบริหารจัดการระบบสุขภาพ
กำหนดนโยบายหรือแนวทางในการบริหารกองทุนระบบสุขภาพ
ที่สามารถให้ประชาชนทุกคนที่สามารถเข้าถึงและได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานเท่ากัน
รวมถึงควรดำเนินการแก้ไขระบบบริการสาธารณสุขเพื่อให้คนไทยทุกคนได้บริการที่มีคุณภาพและมาตรฐานเดียวกัน
โดยไม่ต้องคำนึงถึงเศรษฐานะของบุคคล เป็นต้น ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||
24 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำนักงานศาลยุติธรรม สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 | ศย. | 23/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำนักงานศาลยุติธรรม
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน
และงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่ารายงานการเงินดังกล่าวถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
25 | รายงานประจำปี 2565 ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ | พปส. | 23/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปี
๒๕๖๕ ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีสาระสำคัญประกอบด้วย (๑)
ผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ประจำปี ๒๕๖๕ โดยกองทุนฯ ได้ใช้จ่ายเงินงบประมาณ ประจำปี
๒๕๖๕ จำนวน ๕๓๒.๖๓ ล้านบาท ภายใต้วงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน ๕๗๒.๑๐ ล้านบาท
และภาพรวมการดำเนินงานของกองทุนฯ โดยได้ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของกองทุนฯ ๕
ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ ๑
การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตและเผยแพร่สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ยุทธศาสตร์ที่ ๒
การส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ในการพัฒนาสื่อและนิเวศสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดกลไกและกระบวนการคัดกรอง เฝ้าระวัง
และรู้เท่าทันสื่อ ยุทธศาสตร์ที่ ๔
การส่งเสริมและพัฒนาช่องทางการสื่อสารเพื่อสังคมให้เกิดการรับรู้
และมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคี และยุทธศาสตร์ที่ ๕
การพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูงและสร้างมูลค่าเพิ่มของสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (๒)
รายงานของคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนฯ พบว่า
ผลการประเมินการดำเนินงานของกองทุนฯ มีคะแนน ๔.๘๓๐๖ (จากคะแนนเต็ม ๕ คะแนน) และ
(๓) รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินของกองทุนฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน
๒๕๖๕ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน
และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน โดยผู้สอบบัญชี
(จากผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอก)
เห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
26 | รายงานผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ช่วงปี พ.ศ. 2561 - 2565 ต่อแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 (SDG 6) | นร.14 | 23/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๕ ต่อแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
ประเด็นที่ ๑๙ การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ ๖ (SDG 6) ตามมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ในคราวประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๕ ซึ่งมีผลการดำเนินงาน
ได้แก่ (๑) ผลการดำเนินงานภายใต้แผนแม่บทฯ น้ำ ช่วงปี ๒๕๖๑-๒๕๖๕ (๒)
ผลการประเมินดัชนีตัวชี้วัดแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ ๑๙ การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ
และ (๓) ผลการประเมินตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ ๖ (SDG
6) : การบริหารน้ำและสุขาภิบาล โดยมีปัญหาอุปสรรคในการขับเคลื่อนและแนวทางแก้ไข
เช่น งบประมาณเรื่องการพัฒนาระบบประปาให้ได้มาตรฐานมีจำนวนจำกัด หน่วยงานกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดเกินความเป็นจริง
และการปลูกพืชที่มีมูลค่าต่ำส่งผลให้ผลิตภาพจากการใช้น้ำต่ำ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ ๒. ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรให้หน่วยงานดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ หลักเกณฑ์ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด
เร่งรัดการดำเนินการภายใต้กลยุทธ์/แผนงานดังกล่าวตามแนวทางขับเคลื่อนที่กำหนด
และขอให้แก้ไขข้อเท็จจริง/สาระสำคัญ ในส่วนผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานตามแผนแม่บทฯ
น้ำ ด้านที่ ๑ การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค จากเดิม “พบว่ามีร้อยละ ๓๘.๔๘
ของระบบประปาที่ผ่านมาตรฐานประปาดื่มได้” เป็น “พบว่ามีร้อยละ ๓๘.๔
ผ่านเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้” ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||
27 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร) | สผ. | 23/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.รับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน
และงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน
ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอ ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรายงานการเงินข้างต้นแล้ว ไม่สามารถแสดงความเห็นต่อรายงานการเงินของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้
เนื่องจากไม่สามารถหาหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอและมีการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างมีสาระสำคัญต่อรายงานการเงินดังกล่าว เช่น มีการรวมยอดยกมาของครุภัณฑ์ที่ได้มาก่อนงวดปี
๒๕๕๙ ซึ่งมีการกำหนดรหัสทรัพย์สินในระบบ GFMIS และรหัสทรัพย์สินตามทะเบียนคุมทรัพย์สินไม่สอดคล้องกัน
จึงไม่สามารถอ้างอิงกันได้และทำให้ไม่สามารถตรวจความมีอยู่จริงของทรัพย์สินได้และไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าสินทรัพย์ที่มีอยู่จริงมีการบันทึกบัญชีถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ๒. ให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรรับความเห็นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ตามรายงานของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับประเด็นที่ไม่สามารถหาหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมเพียงพอ
และการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญไปดำเนินการตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน
รวมทั้งนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำรายงานการเงินของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในปีต่อ
ๆ ไป ให้ถูกต้องครบถ้วน
ตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐตามที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||
28 | การประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลในการจัดทำมาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านมลพิษจากพลาสติก รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางทะเล ครั้งที่ 2 ณ สาธารณรัฐฝรั่งเศส | ทส. | 23/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทย
กรอบการเจรจาและท่าทีของประเทศไทย
สำหรับการประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยในการจัดมาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านมลพิษจากพลาสติก
รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางทะเล ครั้งที่ ๒ ณ สาธารณรัฐฝรั่งเศส ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เสนอ ทั้งนี้ หากมีการประชุมคณะกรรมการเจรจาฯ มีการจัดทำความตกลงระหว่างประเทศระหว่างประเทศที่เข้าร่วมการเจรจา
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย
ตามความความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
|
|||||||||||||||||||||||||||
29 | รายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2565 | นร.11 สศช | 23/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี ๒๕๖๕
สรุปได้ ดังนี้ (๑) ผลการดำเนินการของแผนการปฏิรูปประเทศ ๑๓ ด้าน เช่น
ด้านการเมือง มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ
เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะ ด้านกฎหมาย
มีการผลักดันให้มีกลไกการออกกฎหมายเท่าที่จำเป็น ด้านเศรษฐกิจ
มีการกำหนดนโยบายและมาตรการดึงดูดผู้เชี่ยวชาญ/นักลงทุนต่างชาติเข้ามาในไทย
ด้านสังคม
มีการขึ้นทะเบียนคนพิการเพื่อให้ได้รับสิทธิสวัสดิการและความช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง
และด้านสาธารณสุข มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขใน
๗๖ จังหวัด และกรุงเทพมหานคร (๒) ประเด็นท้าทายของการปฏิรูปประเทศ เช่น
การลดบทบาทภารกิจของภาครัฐให้เหลือเท่าที่จำเป็น
การพัฒนากำลังคนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน การจัดระบบบริการสาธารณสุข
และการปรับปรุงกระบวนการปราบปรามการทุจริตที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และ (๓)
การดำเนินการต่อไปเพื่อให้ผลสัมฤทธิ์มีความยั่งยืนหลังจากสิ้นสุดการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ
เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕
โดยมีผลจากการปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่องผ่านกลไกของแผนระดับที่ ๒ แผนระดับที่ ๓
และการดำเนินการต่าง ๆ
ต่อไปและจะต้องให้ความสำคัญในการประยุกต์ใช้หลักการวงจรบริหารงานคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
30 | ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนมีนาคม 2566 | นร.11 สศช | 23/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ
ประจำเดือนมีนาคม ๒๕๖๖ ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น (๑)
ความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ (๒)
การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ (๓) การติดตาม
การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ (๔)
ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ และ (๕) นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้มอบหมายทุกหน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญในการติดตามเร่งรัดโครงการที่มีผลการดำเนินการต่ำกว่าเป้าหมาย
รวมทั้งดำเนินการหาวิธีแก้ไข ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
31 | การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปี 2569 | กค. | 23/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการลงทุนมติของที่ประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศที่เห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
ปี ๒๕๖๙ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการต่อไปให้ถูกต้อง
เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||
32 | นายกรัฐมนตรีลากิจในวันที่ 16 พฤษภาคม 2566 | นร.05 | 23/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งว่า
นายกรัฐมนตรีได้ลากิจในวันอังคารที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น. ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้จัดทำหนังสือเวียนแจ้งให้รัฐมนตรีทุกท่านทราบแล้ว
ทั้งนี้ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๔๑
กำหนดให้การลาทุกประเภทของนายกรัฐมนตรี ให้อยู่ในดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบ
|
|||||||||||||||||||||||||||
33 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | ทส. | 23/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้วาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus)
เป็นสัตว์ป่าสงวนเพิ่มเติม และเป็นการยกเลิกการกำหนดให้นกชนหิน หรือนกหิน (Buceros vigil หรือ Rhinoplax
vigil) เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองท้ายกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
พ.ศ. ๒๕๔๖ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาโดยให้นำร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน
พ.ศ. .... [กำหนดให้นกชนหิน หรือนกหิน (Buceros vigil
หรือ Rhinoplax vigil) เป็นสัตว์ป่าสงวน] ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มารวมเป็นฉบับเดียวกัน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณามาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้
โดยให้มีผลใช้บังคับในวันเดียวกับร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ |
|||||||||||||||||||||||||||
34 | แจ้งผลการพิจารณา การขอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ | ลต. | 23/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณา
การขอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
เรื่อง การขอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (พลโท สรรเสริญ
แก้วกำเนิด) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งแจ้งว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวโดยมีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมาก
เห็นว่า กรณีการขอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์นั้น
ไม่ได้เป็นกรณีแต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำหรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐ
รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่
หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา ๑๖๙ (๒)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ จึงไม่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบ
|
|||||||||||||||||||||||||||
35 | รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | สวช. | 16/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย (๑) สรุปผลการดำเนินงานฯ
ประจำปี ๒๕๖๕ ตามยุทธศาสตร์ชาติ เช่น
การให้บริการวัคซีนพื้นฐานกับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย (เด็กแรกเกิด-๑๒ ปี) การจัดหาวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ
การวางแผนพัฒนาและปรับปรุงระบบข้อมูลและบริหารจัดการวัคซีน
รวมทั้งพัฒนาระบบเฝ้าระวังสอบสวนอาการภายหลังได้รับการสร้างภูมิคุ้มกันโรค
การดำเนินการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้ซิกา รวมถึงการรักษามาตรฐานในการผลิตสัตว์ทดลองที่มีคุณภาพเพื่อบริการให้แก่นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์
และ (๒) ปัญหา/อุปสรรค
ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานด้านวัคซีน ได้แก่
ปัจจัยภายนอก โดยการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริการวัคซีนที่ล่าช้าในบางพื้นที่
เนื่องจากบุคลากรและสถานที่ที่ปฏิบัติการมีจำกัด และปัจจัยภายใน เช่น
การได้รับงบประมาณล่าช้า การมีบุคลากรที่ไม่เพียงพอ
และเจ้าหน้าที่ขาดทักษะในการสื่อสาร
เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจและยอมรับการได้รับวัคซีน ตามที่คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
36 | ร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกรมศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 16/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกรมศุลกากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษ
สำหรับข้าราชการกรมศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๔
โดยปรับปรุงชุดเครื่องแบบปฏิบัติงานตรวจค้นให้มีเครื่องแบบปฏิบัติงานตรวจค้นข้าราชการกรมศุลกากรหญิง
(จากเดิมข้าราชการกรมศุลกากรหญิงไม่มีชุดเครื่องแบบปฏิบัติงานตรวจค้น)
และแก้ไขเพิ่มเติมเครื่องแบบปฏิบัติงานตรวจค้นข้าราชการกรมศุลกากรชาย (เช่น
ปรับปรุงเสื้อเป็นเสื้อคอแบะแบบฝึกปล่อยเอวเป็นสีน้ำเงินดำจากเดิมเป็นเสื้อคอพับติดกับกางเกงสีน้ำเงินดำ
และเพิ่มเติมให้มีกางเกงขายาวแบบฝึกสีน้ำเงินดำ
จากเดิมที่ใช้เป็นกางเกงขายาวสีน้ำเงินดำ)
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติหน้าที่ด้านการตรวจค้น ปราบปราม และตรวจการณ์
และเพื่อให้ข้าราชการมีเครื่องแบบที่เหมาะสมกับภารกิจดังกล่าว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||
37 | ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ [ASEAN Economic Ministers (AEM) Retreat] ครั้งที่ 29 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 16/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ
[ASEAN Economic Ministers (AEM) Retreat] ครั้งที่
๒๙ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๒ มีนาคม ๒๕๖๖ ณ เมืองมาเกอลัง อินโดนีเซีย โดยมีรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ (นายวันชัย
วราวิทย์) เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุม สรุปได้ ดังนี้ (๑) การประชุม AEM
Retreat ครั้งที่ ๒๙ ซึ่งมีผลการประชุมที่สำคัญ ได้แก่
การผลักดันด้านเศรษฐกิจ เช่น การอำนวยความสะดวกด้านการบริการของอาเซียน
และการยกระดับความตกลงต่าง ๆ การเสริมสร้างความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมในอาเซียน (๒)
การศึกษากรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (๓) การเร่งรัดการดำเนินการตามแผนงาน AEC
Blueprint 2025 เพื่อช่วยเพิ่มการค้าและการลงทุนให้ขยายตัวเป็น ๑.๒
ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี ๒๕๖๘ และ (๔)
การสนับสนุนการจัดตั้งหน่วยงานสนับสนุนในการกำกับดูแลการดำเนินงานของ RCEP ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
38 | รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานและสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน | พน. | 16/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานและสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
โดยมีสาระสำคัญ แบ่งเป็น (๑) ผลการดำเนินงานกำกับการประกอบกิจการพลังงาน ประจำปี
พ.ศ. ๒๕๖๖ เช่น
ส่งเสริมให้บริการด้านพลังงานอย่างเพียงพอปกป้องผลประโยชน์ของผู้ใช้พลังงานทั้งด้านอัตราค่าบริการและคุณภาพการให้บริการ
และส่งเสริมการแข่งขันในกิจการพลังงาน (๒) ผลการดำเนินงานกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ เช่น ชดเชยเงินอุดหนุนค่าไฟฟ้า จัดสรรงบประมาณ
เพื่อพัฒนาท้องถิ่นรอบโรงไฟฟ้า และส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน (๓) งบการเงินของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน
งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน และ (๔) แผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
สำหรับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
มีแผนมุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานแบบยั่งยืน และสำหรับกองทุนพัฒนาไฟฟ้ามีแผนมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุนฯ
และปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานกองทุนฯ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
39 | การเปลี่ยนโฆษกประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ทส. | 16/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการเปลี่ยนโฆษกประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จากเดิม นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็น นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(คำสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ ๑๓๗/๒๕๖๖ เรื่อง
แต่งตั้งโฆษกและรองโฆษกประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ ๒๖
เมษายน ๒๕๖๖) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
40 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา ติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ ประเด็นการสร้างและใช้ Big Data ภาคเกษตร ของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา | สว. | 16/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา ติดตาม เสนอแนะ
และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ ประเด็นการสร้างและใช้ Big
Data ภาคเกษตร ของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
สรุปได้ว่า ด้านข้อมูล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการบริหารจัดการข้อมูลตามหลักธรรมาภิบาล
ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของสำนักงานสถิติแห่งชาติและแนวทางของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
(องค์การมหาชน) แล้ว ด้านการเข้าถึงการใช้ประโยชน์ข้อมูล
หน่วยงานได้มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางช่องทางต่าง ๆ และ Application เพื่อความสะดวกต่อการใช้งานของเกษตรกร ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมีบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ
เป็นบริการโครงสร้างพื้นฐานที่มีความมั่นคงปลอดภัย ด้านความเป็นเอกภาพของข้อมูล
ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดทำและเผยแพร่ข้อมูลสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ
ส่วนการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติเป็นองค์กรอิสระ ด้านงบประมาณและแผนดำเนินงานได้มีการจัดทำ
Roadmap ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๖-พ.ศ. ๒๕๗๐
ประกอบด้วยโครงการสำคัญเพื่อเป็นหลักฐานในการจัดทำคำของบประมาณ
ด้านความร่วมมือกับภาคเอกชน หลายหน่วยงานได้มีความร่วมมือกับภาคเอกชน
สถาบันการศึกษา ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
ซึ่งจะช่วยพัฒนาและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตร ด้านกฎหมาย กฎระเบียบ
และนโยบาย
หน่วยงานได้ปฏิบัติตามหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูล
โดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลความมั่นคง และข้อมูลความมั่นคง ด้านบุคลากร
เกี่ยวกับความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน Big Data สำนักงาน ก.พ.
มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานพิจารณาใช้บุคลากร เพื่อยกระดับทักษะด้าน Data
Analytics ด้านโครงสร้างและอัตรากำลัง
ปัจจุบันหน่วยงานส่วนใหญ่ยังขาดบุคลากรที่มีทักษะการทำงานด้าน Big Data คณะกรรมาธิการดังกล่าว
เห็นควรสนับสนุนอัตรากำลังคนให้สอดคล้องกับโครงสร้าง ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|