ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 10 จากทั้งหมด 5981 หน้า แสดงรายการที่ 181 - 200 จากข้อมูลทั้งหมด 119611 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
181 | การแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงเคียฟ ยูเครน คนใหม่ (นางลูย์ดมืยลา ราดุตสกา) | กต. | 28/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางลูย์ดมืยลา ราดุตสกา (Mrs. Liudmyla Radutska)
ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงเคียฟ ยูเครน สืบแทน นายมีไคโล ราดุดสกี (Mr.
Mykhajlo Radoutskyy) ที่สิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ โดบปรับชื่อเรียกตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์จากกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำยูเครน
เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงเคียฟ ยูเครน และปรับชื่อเรียกสถานทำการทางกงสุลจากสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำยูเครน
เป็น สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงเคียฟ ยูเครน โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมยูเครน
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
182 | การแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ นครโฮบาร์ต เครือรัฐออสเตรเลีย คนใหม่ (นางวิมลิน บีทตี้) | กต. | 28/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางวิมลิน บีทตี้ (Mrs. Wimalin Beattie) ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์
ณ นครโฮบาร์ต เครือรัฐออสเตรเลีย สืบแทน นายอภิรัตน์ อจลบุญ กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำนครโฮบาร์ต
เครือรัฐออสเตรเลีย ที่ครบวาระการดำรงตำแหน่ง และปรับสถานะสถานทำการทางกงสุลจาก
สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำนครโฮบาร์ต เป็นสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ นครโฮบาร์ต
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของเครือรัฐออสเตรเลีย
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
183 | การสิ้นสุดหน้าที่ของกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ กรุงบราติสลาวา สาธารณรัฐสโลวัก การแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงบราติสลาวา คนใหม่ และการลดระดับสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ กรุงบราติสลาวา สาธารณรัฐสโลวัก เป็น สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงบราติสลาวา สาธารณรัฐสโลวัก [นายอะเล็กซานเดอร์ โรซิน (บุตร)] | กต. | 28/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑. รับทราบการสิ้นสุดหน้าที่ของ นายอะเล็กซานเดอร์
โรซิน (บิดา) (Mr. Alexander Rozin) กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์
ณ กรุงบราติสลาวา สาธารณรัฐสโลวัก
ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ เนื่องจากขอลาออกจากตำแหน่ง ๒.
อนุมัติลดระดับสถานการณ์กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ กรุงบราติสลาวา
เป็นสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงบราติสลาวา สาธารณรัฐสโลวัก
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
184 | การแต่งตั้งผู้แทนองค์กรเอกชนเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 4 (5) (1. นางธิดา ศรีไพพรรณ์ ฯลฯ จำนวน 5 คน) | พม. | 28/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้งผู้แทนองค์กรเอกชนเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔ (๕) จำนวน ๕ คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๘ มีนาคม ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ ดังนี้ ๑. นางธิดา
ศรีไพพรรณ์ ๒. นายมงคล
สุมาลี ๓.
นางเสาวนีย์ ประทีปทอง ๔. นายแสวง
ชูหนู ๕. นางวลัย
บุญพลอย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
185 | ความก้าวหน้าของการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนมกราคม 2566 | นร.11 สศช | 21/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ
เดือนธันวาคม ๒๕๖๕ ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น (๑)
ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติ (๒) การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ
(๓) การติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ และ (๔)
ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
186 | พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 | นร.05 | 21/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการตราร่างพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. ๒๕๖๖ ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการอันจำกัดตามมาตรา ๗
แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘
ซึ่งบัดนี้ ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
และประกาศใช้บังคับในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๔๐ ตอน ๒๒ ก วันที่ ๒๐
มีนาคม ๒๕๖๖ ด้วยแล้ว
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
187 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 | รง. | 21/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนความปลอดภัย
อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ประกอบด้วย
งบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรับรองแล้ว
เห็นว่า ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
188 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศาลปกครอง | ศป. | 21/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ของสำนักงานศาลปกครอง สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ประกอบด้วย
งบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรับรองแล้ว
เห็นว่า
ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่สำนักงานศาลปกครองเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
189 | รายงานสรุปผลการดำเนินงานของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ในห้วงวันที่ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565 | สกมช. | 21/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินงานของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ในห้วงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔-๓๐
กันยายน ๒๕๖๕ ได้แก่ สถิติเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยมีการโจมตีด้วยการแฮ็กเว็บไซต์มากที่สุดถึง
๓๖๗ เหตุการณ์ (๒) สถิติการปฏิบัติงานในการสนับสนุนช่วยแก้ไขปัญหาและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์
เช่น แจ้งเตือนเหตุการณ์ ให้คำปรึกษาและแนะนำในการแก้ไขปัญหา ๔๖๗ เหตุการณ์ (๓)
ประเภทของหน่วยงานที่ถูกโจมตีด้วยภัยคุกคามทางไซเบอร์มากที่สุด ๕ อันดับแรก รวม
๔๔๙ เหตุการณ์ ได้แก่ หน่วยงานด้านการศึกษา ๒๑๑ เหตุการณ์
หน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำหรับทางสารสนเทศ ๑๓๕ เหตุการณ์
หน่วยงานด้านสาธารณสุข๖๗ เหตุการณ์ ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทเอกชนและสัญชาติไทย
๒๔ เหตุการณ์ และผู้ประกอบกิจการให้เช่าพื้นที่เว็บไซต์หรือที่เป็นดาต้าเซ็นเตอร์
๑๒ เหตุการณ์ (๔) แนวโน้มเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น การโจมตีด้วยการแฮ็กเว็บไซต์หน่วยงานราชการและหน่วยงานสำคัญเป็นรูปแบบที่ถูกตรวจพบมากที่สุด
(๕) แนวทางการจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น
การเตรียมการและป้องกันการเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการตรวจจับและวิเคราะห์ภัยคุกคามทางไซเบอร์
และ (๖) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญจากแนวโน้มสถานการณ์ทางไซเบอร์ เช่น
การถูกโจมตีด้วยการแฮ็กเว็บไซต์เป็นเรื่องที่ผู้ดูแลระบบของหน่วยงานควรให้ความสนใจกับการปรับปรุงแพทช์ของระบบปฏิบัติการหรือระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ให้เป็นปัจจุบัน
และสถานการณ์อาชญากรรมทางไซเบอร์ที่กระทบต่อประชาชน
ควรสร้างความรู้ความเข้าใจและให้ความตระหนักรู้กับประชาชน
โดยเฉพาะการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการที่เหล่ามิจฉาชีพใช้ในการหลอกลวง
ตามที่คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
190 | สรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 1/2566 | กษ. | 21/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์
๒๕๖๖ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑) เห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีในโควตาตามพันธกรณีตามความตกลงว่าด้วยการเกษตรภายใต้
WTO สำหรับสินค้ามะพร้าวและมะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมะพร้าวและแฟรกชันของน้ำมันมะพร้าว
สำหรับปี ๒๕๖๖-๒๕๖๘ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ฯ เดิมของปี ๒๕๖๓-๒๕๖๕ เช่น
กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิขอรับการจัดสรร การจัดสรรปริมาณน้ำเข้า
และการออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีฯ
และได้มีการปรับหลักเกณฑ์การจัดสรรกรณีปริมาณที่ขอรับการจัดสรรทุกรายรวมเกินกว่าปริมาณที่จัดสรร
โดยให้จัดสรรแก่ผู้ขอรับการจัดสรรแต่ละรายที่เท่ากันโดยวิธีหารเฉลี่ย
(๒)การบริหารปริมาณการนำเข้ามะพร้าวผล พิกัดฯ ๐๘๐๑.๑๒.๐๐ พิกัดฯ ๐๘๐๑.๑๙.๑๐
และพิกัดฯ ๐๘๐๑.๑๙.๙๐ ตามกรอบความตกลง AFTA ปี ๒๕๖๖
ในช่วงแรก (เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖) โดยผู้ประกอบการ/ผู้นำเข้าจะชะลอการนำเข้ามะพร้าวผลพิกัดฯ
ดังกล่าวในช่วงแรก (เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖) ออกไปก่อน
และได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการ/ผู้นำเข้าชะลอการนำเข้ามะพร้าวผลภายใต้กรอบความตกลง
WTO กะทิสำเร็จรูปและกะทิแช่แข็งออกไปก่อนด้วย จนกว่าราคา
มะพร้าวผลภายในประเทศจะกลับสู่ภาวะปกติ ตามที่คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
191 | รายงานผลการเดินทางเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | พณ. | 21/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการเดินทางเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
(United Arab Emirates :
UAE) ของรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์)
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์
ระหว่างวันที่ ๖-๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ซึ่งมีประเด็นการหารือที่สำคัญ ได้แก่ (๑)
ไทยและ UAE เห็นพ้องที่จะจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างกัน
การส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างไทยและ UAE เช่น
การจัดตั้งกลไกสภาธุรกิจไทย-UAE และการเชิญชวนนักธุรกิจ UAE มาลงทุนในไทย (๒)รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์)
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ได้เป็นสักขีพยานในการลงนามสัญญาซื้อขายและความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนไทยและ UAE (๓) กิจกรรมอื่น เช่น การประชุมร่วมกับกลุ่มเศรษฐกิจของไทยใน UAE และ (๔) แนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไป เช่น
การจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างไทย-UAE ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
192 | สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | นร.01 | 21/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน
ในไตรมาสที่ ๑ ของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
พร้อมผลวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น
รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์
ผ่านช่องทางการร้องทุกข์หมายเลขสายด่วน ๑๑๑๑ รวมทั้งสิ้น ๑๔,๔๓๙ เรื่อง
สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ ๑๒,๑๓๓ เรื่อง โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับการประสานเรื่องร้องทุกข์มากที่สุด
(๑,๔๓๐ เรื่อง) สำหรับเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด
คือ เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน (๑,๕๗๖ เรื่อง)
และปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ เช่น เสียงดังรบกวนจากการมั่วสุมดื่มสุรา
การแข่งรถจักรยานยนต์ การเปิดเพลงในร้านอาหาร และสถานบันเทิง
หรือเสียงดังจากการจัดงานเฉลิมฉลองเทศกาลต่าง ๆ ในช่วงปลายปี และน้ำท่วมฉับพลันหรือน้ำท่วมขังซ้ำซาก
อันเนื่องมาจากการเกิดพายุฝนตกหนักในช่วงฤดูมรสุม ๒.
แนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจะได้ประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนและการบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
193 | รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี : การนำเสนอวัฒนธรรมของประเทศในลักษณะ Soft Power | วธ. | 21/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี :
การนำเสนอวัฒนธรรมของประเทศในลักษณะ Soft Power มีความคืบหน้าการดำเนินการ ดังนี้
(๑) ด้านการส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศผ่านสื่อบันเทิงในลักษณะ Soft Power : แต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศผ่านสื่อบันเทิงในลักษณะอำนาจละมุน
เพื่อใช้สื่อบันเทิงเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์และขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
สินค้าและบริการของประเทศ และ (๒) ด้านการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติวัฒนธรรมแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน
Soft Power
ด้วยมิติทางวัฒนธรรม และจัดทำร่างแผนการขับเคลื่อน Soft Power เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
เพื่อใช้เป็นแกนกลางในการขับเคลื่อน Soft Power
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
194 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 | นร16 | 21/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
(คทช.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๖ รวม ๓ เรื่อง
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) เสนอ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้
ดังนี้ ๑. เรื่องเพื่อทราบ จำนวน ๑ เรื่อง ได้แก่ (๑)
ผลการดำเนินงานของฝ่ายเลขานุการ คทช. และคณะอนุกรรมการภายใต้ คทช. ๒. เรื่องเพื่อพิจารณา จำนวน ๒ เรื่อง ได้แก่ (๑) การดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน
๑:๔๐๐๐ (One
Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ ๓ จำนวน ๑๑ จังหวัด และ (๒)
การแก้ไขปัญหาข้อพิพาทกรณีป่าสงวนแห่งชาติป่าพระแท่นดงรัง ในพื้นที่ตำบลพระแท่น
อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ทับซ้อนกับวัดพระแท่นดงรังวรวิหาร ๓. เรื่องอื่น ๆ ได้แก่ เรื่อง การติดตามผลการแก้ไขปัญหากลุ่มราษฎรที่ร้องขอที่ดินทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
195 | สรุปผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 3 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง | ดศ. | 21/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ ๓ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
ระหว่างวันที่ ๙-๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ณ เกาะโบราไคย์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
โดยมีผลการประชุมที่สำคัญ เช่น (๑)
การร่วมแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าการพัฒนาด้านดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน (๒)
การผลักดันประเด็นสำคัญเร่งด่วนของไทย (๓) การรายงานผลการดำเนินงานสำคัญ ปี ๖๕ (๔)
การรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานอาเซียนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
ครั้งที่ ๓ และ (๕) การให้ความเห็นชอบและรับทราบเอกสารผลลัพธ์สำคัญของการประชุม ADGMIN ครั้งที่ ๓ จำนวน ๖ ฉบับ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
196 | แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร | นร 05 | 21/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร
และมอบหมายให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ
และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป
ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
197 | การมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวง (กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงอุตสาหกรรม) | นร. | 21/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ยุติธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๑ มีนาคม ๒๕๖๖) เป็นต้นไป ดังนี้ ๑.
ผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จำนวน ๒ ราย ตามลำดับ ดังนี้ ๑.๑ รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ๑.๒ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายธนกร
วังบุญคงชนะ) ๒. ผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จำนวน ๒ ราย
ตามลำดับ ดังนี้ ๑.๑
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) ๑.๒ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายธนกร
วังบุญคงชนะ)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
198 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2565 เรื่อง ขอขยายระยะเวลาโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียวโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ (Greening Industry through Low Carbon Technology Application for SMEs) | อก. | 14/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงอุตสาหกรรมถอนเรื่อง
ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๕ เรื่อง
ขอขยายระยะเวลาโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียวโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ
(Greening Industry through Low Carbon
Technology Application for SMEs) คืนไปได้
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
199 | ผลเบื้องต้นสำหรับการประเมินการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอ ณ สถานที่ปฏิบัติงานจริง | กค. | 14/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลเบื้องต้นสำหรับการประเมินการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอ
ณ สถานที่ปฏิบัติงานจริง
ซึ่งเป็นการพิจารณาเกี่ยวกับมาตรฐานของประเทศที่มีความโปร่งใสทางภาษี โดยประเทศไทยได้เข้ารับการประเมินฯ
ตั้งแต่วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน-๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ มีคะแนนโดยรวมอยู่ที่ระดับเป็นไปตามมาตรฐานสากลเป็นบางส่วน
(Partially Compliant) โดยมีประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณา
เช่น การมีอยู่ของข้อมูลของผู้เป็นเจ้าของและข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล
การเข้าถึงข้อมูล และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข้อสนเทศในทางปฏิบัติ ดังนั้น
คณะผู้ประเมินได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ประเทศไทยควรเร่งดำเนินการเพื่อยกระดับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลให้ทันภายในเดือนเมษายน
๒๕๖๖ โดยปรับจากระดับ Partially Compliant เป็น
ระดับเป็นไปตามมาตรฐานสากลเป็นส่วนใหญ่ (Largely Compliant) ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการ
เช่น การแก้ไขกฎหมายภายในให้ยกเลิกการออกหุ้นผู้ถือในประเทศไทย
และการใช้บังคับกฎหมายที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูล ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
200 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลศรีบุญเรือง ตำบลหันนางาม และตำบลเมืองใหม่ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. .... | คค. | 14/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในท้องที่ตำบลศรีบุญเรือง ตำบลหันนางาม
และตำบลเมืองใหม่ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในท้องที่ตำบลศรีบุญเรือง ตำบลหันนางาม
และตำบลเมืองใหม่ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๙๘ สายทางเลี่ยงเมืองศรีบุญเรือง ตอนทางเลี่ยงเมืองศรีบุญเรือง
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าก่อนการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินทุกเส้นทาง ขอให้กระทรวงคนนาคม
(กรมทางหลวง) ให้ความสำคัญและตระหนักถึงแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างทางหลวงกีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ
เพื่อป้องกันปัญหาการระบายน้ำไม่ทัน
และอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมหรืออุทกภัยต่อไปในอนาคต หากมีโครงการใด ๆ ในพื้นที่ป่าไม้
ขอให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
กระทรวงคมนาคมควรตระหนักและให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามกฎหมายในการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาในครั้งต่อไป
และให้กรมทางหลวงถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เรื่อง
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการตราร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนเพื่อก่อสร้างหรือขยายถนน
พร้อมทั้งปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้
|