ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 9 จากทั้งหมด 6129 หน้า แสดงรายการที่ 161 - 180 จากข้อมูลทั้งหมด 122561 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
161 | การเร่งรัดการดำเนินการและการบูรณาการการทำงานร่วมกันของกระทรวงต่าง ๆ | นร.04 | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า สืบเนื่องจากการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า
ครั้งที่ ๔/๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
มีประเด็นหารือหลายเรื่องที่กระทรวงต่าง ๆ
จะต้องบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุผลตามนโยบายที่ได้กำหนดไว้
จึงขอมอบหมายการดำเนินการ ดังนี้ ๑.
ให้กระทรวงการคลังเร่งรัดติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณของทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบลงทุน และให้สำนักงาน ก.พ.ร.
เร่งรัดติดตามผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัด (KPI) ของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐดังกล่าวในเรื่องเกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณซึ่งจะเป็นกลไกในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้ประการหนึ่ง
แล้วรายงานผลต่อนายกรัฐมนตรีโดยเร็วด้วย ๒.
ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐให้ความร่วมมือในการเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐระหว่างกันให้แล้วเสร็จ
ครบถ้วนโดยเร็ว เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายปฏิรูประบบราชการให้ทันสมัยในระบบดิจิทัล (Digital Government) ของรัฐบาลต่อไป ๓.
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งศึกษาและพิจารณากำหนดมาตรการรองรับการขยายตัวของเมืองและการปรับผังเมืองของพื้นที่จังหวัดต่าง
ๆ รวมถึงพื้นที่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ด้วย เพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสมต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
162 | การรับรองร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ของการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ครั้งที่ 10 | กต. | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ของการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง ครั้งที่ ๑๐
(Vientiane Declaration of the
10th Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong
Economic Cooperation Strategy : ACMECS) และให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ฯ
ตามที่ประเทศสมาชิกมีฉันทามติ ในการประชุมผู้นำ ACMECS ครั้งที่
๑๐ โดยร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ฯ มีสาระสำคัญเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองในระดับผู้นำของ
ACMECS ต่อพัฒนาการของกลไกภายใต้ ACMECS และเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมผู้นำ ACMECS ครั้งที่
๑๐
โดยไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
รวมทั้งไม่มีการลงนามในร่างเอกสารดังกล่าว จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา
๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
163 | กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 | นร.12 | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
164 | การสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาบริหารและสภาปฏิบัติการไปรษณีย์ในการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์ สมัยที่ 28 | ดศ. | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ประเทศไทยสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาบริหารและสภาปฏิบัติการไปรษณีย์ในการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์
สมัยที่ ๒๘ และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการขอเสียง/แลกเสียงสนับสนุนจากประเทศสมาชิกของสหภาพสากลไปรษณีย์
ในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาบริหารและสภาปฏิบัติการไปรษณีย์ของประเทศไทย ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่เห็นควรให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ
รวมถึงรายได้หรือเงินอื่นใดของหน่วยงานที่ดำเนินการมีอยู่ในโอกาสแรก ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
165 | การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา สมัยพิเศษ และการประชุมครอบครัวแห่งเอเชีย (Special AFC-AMMSWD Meeting) | พม. | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
166 | ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสุดยอดผู้นำ ครั้งที่ 8 แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) | นร.11 สศช | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ที่จะมีการรับรองในการประชุมสุดยอดผู้นำ
ครั้งที่ ๘ แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ๖ ประเทศ (Greater Mekong Subregion Economic Cooperation Program :
แผนงาน GMS) ได้แก่ ๑)
ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมสุดยอดผู้นำ ครั้งที่ ๘
แผนงาน GMS และ ๒)
ร่างยุทธศาสตร์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พ.ศ. ๒๕๗๓ โดยนายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเข้าร่วมการประชุมร่วมกับผู้นำประเทศลุ่มแม่น้ำโขงให้การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมทั้ง ๒
ฉบับ โดยไม่มีการลงนาม และให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐมนตรีประจำแผนงาน GMS เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำ
ครั้งที่ ๘ แผนงาน GMS โดยร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
มีสาระสำคัญเป็นการจัดเตรียมแผนปฏิบัติการเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัล
พ.ศ. ๒๕๖๘ - ๒๕๗๐ การศึกษาเพื่อประเมินและปรับปรุงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนในบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา
ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ของแผนงาน GMS การเปิดตัวความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอีกครั้งและขยายระยะเวลาโครงการระยะแรกไปจนถึงสิ้น
พ.ศ. ๒๕๖๙ และการจัดทำแนวทางเชิงกลยุทธ์สำหรับการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในแผนงาน GMS
โดยเน้นแนวทางที่ส่งเสริมและขับเคลื่อนด้วยผลลัพธ์สำหรับการหารือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
และร่างยุทธศาสตร์นวัตกรรมฯ มีสาระสำคัญเพื่อเร่งรัดกระบวนการที่มุ่งสู่การบรรลุกรอบยุทธศาสตร์แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
พ.ศ. ๒๕๗๓ ผ่านการดำเนินการต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมให้เกิดระบบนวัตกรรมที่สามารถจัดการกับความท้าทายของอนุภูมิภาคและการสนับสนุนการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่มีพลวัต
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ การประชุมสุดยอดผู้นำ ครั้งที่
๘ แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ๖ ประเทศ จำนวน ๒ ฉบับ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังพร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
167 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. .... | มท. | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
โดยจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมให้แตกต่างกัน โดยคำนึงถึงปริมาณสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
ระยะเวลาการจัดเก็บ ลักษณะการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
รวมทั้งต้นทุนและความคุ้มค่าในการจัดเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
เพื่อให้การจัดเก็บค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วนอีกครั้งหนึ่ง โดยให้รับข้อสังเกตของนายกรัฐมนตรี
ที่เห็นควรใช้มาตรการอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะ เช่น ค่าธรรมเนียม
สำหรับขยะที่สามารถนำมาใช้ใหม่ควรกำหนดให้มีอัตราที่ต่ำกว่า
รวมทั้งรณรงค์และสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีระบบการคัดแยกขยะตามครัวเรือนและที่อยู่อาศัย
และส่งเสริมให้เอกชนที่เข้ามารับงานเก็บขยะแทนราชการส่วนท้องถิ่น
ใช้เทคโนโลยีเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการประหยัดพลังงานหรือการใช้พลังงานสะอาด
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยกำกับดูแลการออกข้อบัญญัติของราชการส่วนท้องถิ่น
โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนเป็นสำคัญซึ่งต้องไม่ซ้ำซ้อนและเป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร
และมีความสอดคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต
หนังสือรับรองการแจ้งและการให้บริการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙
ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ทั้งนี้
ให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย เช่น กระทรวงสาธารณสุข เห็นควรมีแผนเตรียมการรองรับการขับเคลื่อนและสนับสนุนราชการส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
รวมถึงการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
168 | การศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำที่ดินในความครอบครองของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐมาสร้างที่อยู่อาศัยให้กับประชาชน | นร. | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า โดยที่ยังมีประชาชนจำนวนมากที่ไม่มีที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ
ในขณะที่ยังมีที่ดินในความครอบครองของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ให้กับประชาชนในด้านที่อยู่อาศัยได้
ดังนั้น จึงขอมอบหมายการดำเนินการ ดังนี้ ๑. ให้กระทรวงการคลังร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดตั้งคณะทำงานขึ้น
เพื่อศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำที่ดินในความครอบครองของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐมาสร้างที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนโดยกำหนดให้กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของรัฐ
รวมถึงการอนุญาตให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสามารถทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์อิงสิทธิได้เป็นระยะเวลายาวนานมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
เพื่อเพิ่มโอกาสที่สถาบันการเงินจะพิจารณาให้สินเชื่อกับประชาชนกลุ่มดังกล่าวได้มากยิ่งขึ้น
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
169 | รายงานผลการเดินทางเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน | พน. | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
170 | การขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น งบรายจ่ายอื่น รายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) มาประดิษฐานในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 | นร.01 | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๑๙๘,๕๐๓,๗๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว)
มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทย
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ โดยเบิกจ่ายในงบรายจ่ายอื่น ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
171 | การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับรัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อมของกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 6 (6th Greater Mekong Subregion Environment Ministers' Meeting : GMS EMM-6) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง | ทส. | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
172 | ขออนุมัติกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน (กรณีรายได้ไม่พอสำหรับจ่าย) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ | คค. | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน (กรณีรายได้ไม่พอสำหรับรายจ่าย) ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ รวมจำนวน ๘,๕๔๐.๗๓ ล้านบาท
และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ กำหนดวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข
และรายละเอียดต่าง ๆ ในการกู้เงิน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้กระทรวงคมนาคม องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๐๙/๖๗๑๘ ลงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๗)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ นร ๑๑๒๔/๓๒๑๐ ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๗) ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงการคลัง เห็นควรมอบหมายให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
(ขสมก.) เร่งดำเนินการปรับปรุงแผนขับเคลื่อนกิจการ ขสมก. โดยให้นำความเห็นของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจไปดำเนินการต่อไป
ให้กระทรวงคมนาคม
และกรมการขนส่งทางบกดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาฯ
ในประเด็นการกำหนดบทบาทของ ขสมก.
ให้ชัดเจนในกรณีที่มีผู้ประกอบการเอกชนสามารถให้บริการได้ดี และกำหนดเส้นทางเดินรถของ
ขสมก. ให้สอดคล้องกับบทบาทดังกล่าว และในระหว่างการจัดทำแผนขับเคลื่อนกิจการ ขสมก.
ขอให้กระทรวงคมนาคมกำกับให้ ขสมก. เร่งดำเนินมาตรการต่าง ๆ
เพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ขององค์กร เช่น การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ แผนการศึกษาพัฒนาพื้นที่เชิงธุรกิจ
ตลอดจนการปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความกระชับ เป็นต้น
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
173 | การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 (COP 29) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน | ทส. | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
174 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (1. พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ฯลฯ จำนวน 11 ราย) | นร.04 | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี จำนวน ๑๑
ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
ดังนี้ ๑. พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ๒. พลตำรวจตรี สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ ๓. นางสาวณหทัย ทิวไผ่งาม ๔. นายนิยม เวชกามา ๕. นางสุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา ๖. นายเอกพร รักความสุข ๗. นายวิวัฒน์ชัย โหตระไวศยะ ๘. นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา ๙. นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ๑๐. นายกองตรี ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
175 | รัฐบาลมาเลเซียเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งมาเลเซียประจำประเทศไทย (ดาโตะ กาเนซน ซีวากูรูนาทัน) | กต. | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
176 | รัฐบาลสาธารณรัฐโคลอมเบียเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐโคลอมเบียประจำประเทศไทย (นายดานิเอล เอมิลิโอ เมนโดซา เลอัล) | กต. | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายดานิเอล เอมิลิโอ เมนโดซา เลอัล (Mr. Daniel Emilio Mendoza Leal) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐโคลอมเบียประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นางอานา มาเรีย ปริเอโต อาบัด (Mrs.
Ana Maria Prieto Abad) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
177 | รัฐบาลสาธารณรัฐไซปรัสเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐไซปรัสประจำประเทศไทย (นายเอวาโกรัส วรีโอนีเดส) | กต. | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายเอวาโกรัส วรีโอนีเดส (Mr. Evagoras Vryonides) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐไซปรัสประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย สืบแทน นายอะยิส ลุยซู (Mr.
Agis Loizou) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
178 | ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินแผนงาน/โครงการฟื้นฟูเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ปี 2567 | กษ. | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘
งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินแผนงาน/โครงการฟื้นฟูเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย
ปี ๒๕๖๗ กรอบวงเงิน ๒,๕๕๓,๐๐๙,๘๐๐ บาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๗/๓๐๕
ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๗)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
เช่น กระทรวงการคลัง เห็นควรให้ความสำคัญกับการควบคุม
และกำกับดูแลการใช้จ่ายเงินดังกล่าว ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
179 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดตำแหน่งพนักงานอื่นเพื่อช่วยเหลือผู้อำนวยการสถานพินิจหรือผู้ดูแล หรือผู้ปกครองสถานที่ที่กำหนดในหมวด 4 พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงการอนุญาตดำเนินการหรือจัดตั้งสถานศึกษา สถานฝึกและอบรม หรือสถานแนะนำทางจิต พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ | ยธ. | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดตำแหน่งพนักงานอื่นเพื่อช่วยเหลือผู้อำนวยการสถานพินิจหรือผู้ดูแล
หรือผู้ปกครองสถานที่ที่กำหนดในหมวด ๔ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดตำแหน่งพนักงานอื่น
เช่น พยาบาล นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพ เจ้าพนักงานอบรมและฝึกวิชาชีพ บรรณารักษ์
พนักงานพินิจ พนักงานพิทักษ์ ฯลฯ (นอกเหนือจากแพทย์ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา
พนักงานคุมประพฤติ นักสังคมสงเคราะห์ ครู) เพื่อช่วยเหลือผู้อำนวยการสถานพินิจตามสมควร
หรือผู้ปกครองสถานที่ในหมวด ๔ เช่น การช่วยเหลือเมื่อมีสถานการณ์ฉุกเฉิน
การก่อเหตุจลาจล กรณีเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข สำนักงาน
ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ เช่น กระทรวงสาธารณสุข เห็นว่าจากเดิมกำหนดตำแหน่งแพทย์
จิตแพทย์ เห็นควรปรับเป็นแพทย์ เนื่องจากจิตแพทย์ถือเป็นแพทย์สาขาหนึ่ง สำนักงาน ก.พ.ร. เห็นควรทบทวนการกำหนดตำแหน่งเจ้าพนักงานให้มีเฉพาะเท่าที่สำคัญ
จำเป็น และเหมาะสมต่อการปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉินได้
โดยควรพิจารณาจากหน้าที่ความรับผิดชอบ หรือลักษณะงานของแต่ละตำแหน่งงานเป็นสำคัญ ๒.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงการอนุญาตดำเนินการหรือจัดตั้งสถานศึกษา สถานฝึกและอบรม หรือสถานแนะนำทางจิต
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดการออกใบอนุญาต
และการเพิกถอนใบอนุญาตให้ส่วนราชการดำเนินการ หรือให้เอกชนจัดตั้งสถานศึกษา
สถานฝึกและอบรม หรือสถานแนะนำทางจิตเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชน
ซึ่งเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดเป็นจำเลย หรือเป็นผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ลงโทษหรือใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน
ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปไปได้ ๓. ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงกลาโหม
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสำนักงาน ก.พ.ร.
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น กระทรวงกลาโหม เห็นควรมีการจัดทำแผนเผชิญเหตุ
รวมถึงแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบว่าหน่วยอาจถูกขอให้สนับสนุนทางด้านบุคลากรเป็นผู้ช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจต่าง
ๆ ในกรณีที่มีเหตุวิกฤติหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้หน่วยเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
180 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือองค์การเอกชนที่ต้องรายงานสถิติข้อมูล พ.ศ. .... | นร.53 | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
หรือองค์การเอกชนที่ต้องรายงานสถิติข้อมูล พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
หรือกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือองค์การเอกชนประเภทตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ซึ่งได้รับความช่วยเหลือ
ส่งเสริม หรือสนับสนุนจากส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ต้องรายงานสถิติข้อมูลต่อส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ตามแผนปฏิบัติการดังกล่าว
เพื่อจัดทำและรับรองสถิติข้อมูลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและจัดส่งให้แก่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
เพื่อเก็บรวบรวมไว้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและงบประมาณด้านการส่งเสริม SME ของประเทศ ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นควรให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ
หารือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการกำหนดแบบรายงาน
และรายละเอียดของข้อมูลที่จัดเก็บ เพื่อไม่ให้เป็นการเพิ่มภาระกับหน่วยงาน รวมถึงกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ที่เกี่ยวข้องในการรายงานข้อมูลดังกล่าว และจัดให้มีมาตรการเพื่อกระตุ้นให้กิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดำเนินการตามร่างกฎกระทรวงอย่างต่อเนื่อง
|