ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 8 จากทั้งหมด 6163 หน้า แสดงรายการที่ 141 - 160 จากข้อมูลทั้งหมด 123243 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
141 | ร่างพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม พ.ศ. .... | กค. | 11/02/2568 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม
ปีงบประมาณ พุทธศักราช ๒๕๖๘ - ๒๕๗๐
รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการดำเนินโครงการดังกล่าว ทั้งนี้
เพื่อให้การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหมเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายและสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๙ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังและกระทรวงกลาโหมรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น สำนักงบประมาณ เห็นว่าสิทธิประโยชน์ที่จะจ่ายให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ เห็นควรให้กระทรวงกลาโหมใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ แผนงานบุคลากรภาครัฐที่ได้รับจัดสรร สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๙ - ๒๕๙๐ และจัดทำแผนการบริหารอัตรากำลังพลที่ว่างลงจากการมีผู้เข้าร่วมโครงการฯ
และแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม รวมทั้งรายงานผลการดำเนินโครงการฯ
ในแต่ละปีให้สำนักงบประมาณทราบ
เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี
แผนงานบุคลากรภาครัฐของกระทรวงกลาโหมต่อไป สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งจัดทำกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องให้มีรายละเอียดของหลักเกณฑ์
เงื่อนไข และวิธีการในการดำเนินการที่ชัดเจน
โดยให้ยึดหลักการของประเด็นการปฏิรูปประเทศที่ต้องจัดทำโครงสร้างเงินเดือนและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นที่ได้มาตรฐานและเกิดความเป็นธรรม
ตลอดจนคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
142 | แนวทางการประชุมร่วมกันของรัฐสภา วันที่ 13 - 14 กุมภาพันธ์ 2568 | ปสส. | 11/02/2568 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๓
(สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘
และวันศุกร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
143 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบอร์ดจ่ายไฟฟ้าประสงค์ให้ใช้งานโดยบุคคลทั่วไปต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... | อก. | 11/02/2568 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบอร์ดจ่ายไฟฟ้าประสงค์ให้ใช้งานโดยบุคคลทั่วไปต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชุดประกอบสวิตช์เกียร์และเกียร์ควบคุมไฟฟ้าแรงดันต่ำ
เนื่องจากประกาศใช้เกิน ๕ ปี และเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการและมาตรฐานระหว่างประเทศ
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
144 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้บริเวณหมู่เกาะมัน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. .... | ทส. | 11/02/2568 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้บริเวณหมู่เกาะมัน
อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้บริเวณหมู่เกาะมัน อำเภอแกลง
จังหวัดระยอง เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อประโยชน์ในการสงวน
การอนุรักษ์
และการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้คงสภาพธรรมชาติและมีสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศที่มีความสมบูรณ์
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงกลาโหมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้ กระทรวงกลาโหม เห็นควรเพิ่มข้อความว่า “...
มิให้ใช้บังคับแก่การใช้พื้นที่เพื่อประโยชน์ในราชการของกองทัพเรือ” ในร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
ซึ่งเป็นการดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับพื้นที่ทางทะเลอื่น ๆ ที่ได้มีการระบุข้อความเว้นการบังคับใช้กับกองทัพเรือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นว่าประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทำการประมงนั้น
ควรพิจารณาอย่างรอบคอบให้สอดคล้องกับพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น กระทรวงคมนาคม โดยกรมเจ้าท่า เห็นว่าหากมีการดำเนินการใด
ๆ ในแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ
ทะเล หรือบนชายหาดของทะเลต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย
พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวด้วย สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เห็นควรมีการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่ให้ได้รับทราบ
รวมทั้งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งควรเร่งออกประกาศ มาตรการ หลักเกณฑ์
และวิธีการ เกี่ยวกับการประกอบกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำให้ชัดเจน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อรายได้และวิถีชีวิตของคนในชุมชน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
145 | ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | นร.09 | 11/02/2568 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๖๒ เพื่อแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการที่บทบัญญัติบางมาตรากำหนดให้ทรัพย์สินหรือเงินที่เจ้าของไม่มาขอรับภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ตกเป็นของแผ่นดินซึ่งอาจขัดหรือแย้งต่อมาตรา
๒๖ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เป็นประเด็นปัญหาในทางปฏิบัติอันเกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว
เพื่อให้กระบวนการการกำหนดเงินค่าทดแทนการใช้สิทธิทางศาลของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน
และการพิจารณาคืนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่เจ้าของเดิมหรือทายาทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง
กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ๓. ให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการดำเนินการเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ กระทรวงการคลัง เห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง ประกอบกับแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติบางมาตราที่ไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจในการเวนคืนหรือควบคุมการเวนคืน
เพื่อทำให้กระบวนการและขั้นตอนการเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์มีความชัดเจนและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
และเกิดประโยชน์กับประชาชนผู้ถูกเวนคืนที่จะได้รับเงินค่าทดแทนอย่างเป็นธรรม และควรกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเงินค่าทดแทนกรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่ยื่นคำร้องขอคืนเงินภายในระยะเวลาที่กำหนด
และกรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยื่นคำร้องขอคืนเงินเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนด
เพื่อให้การบริหารจัดการเงินดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดภาระการเก็บรักษาเงิน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
146 | ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ที่กำหนดให้บุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี | พณ. | 11/02/2568 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง
ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ที่กำหนดให้บุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บุคคลธรรมดา
หรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๔
และประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง
กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับงาช้างเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๑
เพื่อเป็นการลดขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนและลดความซ้ำซ้อนของกฎหมาย
และไม่สร้างภาระแก่ประชาชนเกินความจำเป็น ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
147 | สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | นร.01 | 11/02/2568 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ พร้อมผลการวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น
และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงาน
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงแรงงาน
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงยุติธรรมไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงพาณิชย์ เห็นว่าหน่วยงานราชการต้องตระหนักและให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเพื่อเป็นการลดข้อร้องเรียน
และควรพัฒนาคุณภาพการให้บริการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของศูนย์ราชการสะดวก
เพื่อให้ประชาชนได้รับงานบริการที่มีคุณภาพด้วยความสะดวก รวดเร็ว และเข้าถึงง่าย กระทรวงแรงงาน เห็นควรให้ทุกหน่วยงานต้องตระหนักและให้ความสำคัญในปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
พร้อมทั้งบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานราชการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในประเด็นที่เกี่ยวข้อง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
148 | ลายผ้าพระราชทาน "ผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์" | นร. | 11/02/2568 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้ทรงออกแบบผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์”
และได้พระราชทานผ้าลายดังกล่าวแก่ช่างทอผ้าและช่างหัตถกรรมไทย เพื่อนำไปถักทอผืนผ้าและสร้างสรรค์งานหัตถกรรมต่อไป
ดังนั้น จึงขอเชิญชวนให้รัฐมนตรีทุกท่าน ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกหน่วยงานแต่งกายด้วยผ้าลายพระราชทาน
“ผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์” ในวาระและโอกาสต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ทั้งนี้
ขอให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐดำเนินการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผ้าลายพระราชทานดังกล่าวให้แพร่หลาย
รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการตัดเย็บตามแบบลายผ้า
ตลอดจนส่งเสริมให้มีการศึกษาต่อยอดงานหัตถกรรมในเรื่องนี้เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้นต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
149 | เรื่องสืบเนื่องจากการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนของนายกรัฐมนตรี | นร. | 11/02/2568 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า สืบเนื่องจากการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ
ระหว่างวันที่ ๕ - ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ ได้มีโอกาสหารือกับนายสี จิ้นผิง
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน นายจ้าว เล่อจี้
ประธานสภาประชาชนแห่งชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน และนายหลี่ เฉียง
นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน
และยืนยันความพร้อมในการเดินหน้าขับเคลื่อนความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกันในทุกมิติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโอกาสครบรอบ ๕๐ ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย - จีน ในการนี้
จึงขอมอบหมายการดำเนินการ ดังนี้ ๑.
ให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดการดำเนินโครงการก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค
ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย อย่างต่อเนื่อง ทั้งการดำเนินการในระยะที่ ๑ (ช่วงกรุงเทพมหานคร
- นครราชสีมา) และการดำเนินการในระยะที่ ๒ (ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย)
ให้แล้วเสร็จทั้งหมดโดยเร็ว เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการเดินทางของประชาชน
และการขนส่งสินค้าได้อย่างสะดวกและรวดเร็วต่อไป ๒. ให้กระทรวงคมนาคมเร่งประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินโครงการแลนด์บริดจ์
(Landbridge) มีความคืบหน้าและเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยด่วน ๓. ให้กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานความมั่นคง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งประสานความร่วมมือกับสาธารณรัฐประชาชนจีนในการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติต่าง
ๆ เช่น การพนันออนไลน์ การหลอกลวงผ่านคอลเซ็นเตอร์ การค้ามนุษย์
อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
150 | การศึกษาทบทวนกฎหมายเกี่ยวกับการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว | นร. | 11/02/2568 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า โดยที่รัฐบาลได้ประกาศนโยบายให้ปี
๒๕๖๘ เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวไทย Amazing Thailand Grand Tourism and
Sports Year 2025 โดยจะได้ส่งเสริมการจัดเทศกาลระดับโลกต่าง ๆ รวมถึงการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวตลอดทั้งในเมืองหลักและเมืองน่าเที่ยว
ซึ่งจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เช่น โรงแรม
ร้านอาหาร และสถานบริการอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับข้อจำกัดทางกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันในการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่นักท่องเที่ยว
ดังนั้น จึงขอมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงสาธารณสุข
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งศึกษาความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นอุปสรรคและข้อจำกัดในด้านต่าง
ๆ เช่น การกำหนดเวลาห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การกำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การกำหนดพื้นที่ควบคุมในการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อผู้บริโภคโดยตรง
การห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันสำคัญทางศาสนา โดยหากการแก้ไขกฎหมาย กฎ
ระเบียบ
หรือประกาศที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันเพื่อลดอุปสรรคในด้านใด/ประเด็นใดดังกล่าวข้างต้นสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ก่อนอย่างรวดเร็ว
ก็ขอให้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๘
เพื่อให้มีผลใช้บังคับก่อนถึงเทศกาลสงกรานต์ในเดือนเมษายน ๒๕๖๘ ทั้งนี้
การพิจารณาดำเนินการใด ๆ ในเรื่องนี้
ขอให้คำนึงถึงการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยของประชาชน
และการจำกัดการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่เหมาะสมของเยาวชนเป็นสำคัญด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
151 | แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) | 11/02/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม
ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) และให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติต่อไป
ตามที่คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคมเสนอ สำหรับภาระค่าใช้จ่ายเพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการดังกล่าว
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงการคลัง เห็นว่าการพิจารณาเกี่ยวกับมาตรการภาษี
การเงิน การคลัง ให้แก่องค์กรภาคประชาสังคมให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม
จำเป็นต้องมีการกำหนดประเภทรูปแบบขององค์กรภาคประชาสังคมให้ชัดเจนและเหมาะสมกับการดำเนินการที่อาจจะมีความแตกต่างกัน
ซึ่งอาจจะต้องมีการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการขององค์กรภาคประชาสังคมที่ดำเนินการในปัจจุบัน
เพื่อให้ได้รายละเอียดที่ชัดเจนครบถ้วน และนำมาใช้ในการกำหนดประเภทรูปแบบองค์กรภาคประชาสังคมได้ตรงตามเป้าหมาย
รวมถึงเป็นข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถพิจารณากำหนดมาตรการภาษี การเงิน
การคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป และหากจะมีการออกมาตรการทางภาษีเพิ่มเติม
จะต้องดำเนินการตามมาตรา ๒๗ และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑
ซึ่งกำหนดให้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับและพิจารณาถึงความเป็นธรรม
ความเสมอภาค และการไม่เลือกปฏิบัติ
รวมทั้งการพัฒนาและสนับสนุนเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
152 | การศึกษามาตรการทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา | นร. | 11/02/2568 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า เนื่องจากนายโดนัลด์ ทรัมป์
ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศใช้นโยบายทางการค้าใหม่ เช่น
การกำหนดอัตราภาษีศุลกากรสำหรับสินค้านำเข้าสูงขึ้น (กำแพงภาษี)
ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าของไทยไปยังสหรัฐอเมริกา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตร สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าประเภทอื่น ๆ รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมและการกำหนดมาตรการเพื่อรับมือกับผลกระทบและแก้ไขปัญหาต่าง
ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ทางการค้าของประเทศ โดยเมื่อวันที่ ๖
มกราคม ๒๕๖๘ ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานนโยบายการค้าสหรัฐอเมริกาขึ้น
โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานคณะทำงาน มีผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านเป็นที่ปรึกษา
และมีหัวหน้า/ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะทำงานด้วย จึงขอให้คณะทำงานนโยบายการค้าสหรัฐอเมริการ่วมกับกระทรวงกลาโหม
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการศึกษาและสรุปข้อมูลเกี่ยวกับข้อดี
และข้อเสียของนโยบายทางการค้าใหม่ของสหรัฐอเมริกาดังกล่าว
รวมทั้งมาตรการของไทยในการรับมือกับผลกระทบต่าง ๆ
รวมตลอดถึงแนวทางในการเจรจาต่อรองด้านการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
แล้วให้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมครั้งต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
153 | ร่างถ้อยแถลงว่าด้วยปัญญาประดิษฐ์ที่ครอบคลุมและยั่งยืนเพื่อประชาชนและโลก | ดศ. | 11/02/2568 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างถ้อยแถลงว่าด้วยปัญญาประดิษฐ์ที่ครอบคลุมและยั่งยืนเพื่อประชาชนและโลก
(Statement on Inclusive and
Sustainable AI for People and the Planet) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างถ้อยแถลงฯ ในวันอังคารที่ ๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยร่างถ้อยแถลงฯ มีสาระสำคัญเป็นการให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล
การส่งเสริมความยั่งยืน และการปกป้องสิทธิมนุษยชนผ่าน AI ที่น่าเชื่อถือ
โปร่งใส และยุติธรรม นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการทำงานร่วมกันอย่างครอบคลุม
สนับสนุนการวิจัย และการสร้างมาตรฐาน เพื่อพัฒนาระบบ AI ที่สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยได้จัดลำดับความสำคัญและการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม เพื่อสร้างระบบ AI ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ
พร้อมทั้งผลักดันความร่วมมือระดับโลกในด้านการกำกับดูแล AI อย่างยั่งยืนและครอบคลุมทุกภาคส่วน
รวมถึงมีการระบุถึงกิจกรรมสำคัญด้านปัญญาประดิษฐ์ซึ่งจะรวมถึงการประชุม Global
Forum on the Ethics of AI ครั้งที่ ๓ ซึ่งจัดโดยประเทศไทย และ UNESCO ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างถ้อยแถลงฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
154 | ผลการประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 6 | ทส. | 11/02/2568 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
155 | ผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 24 | พณ. | 11/02/2568 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
156 | แผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ระยะที่ 12 พ.ศ. 2568 - 2572 | อว. | 11/02/2568 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
157 | การจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงศึกษาธิการ อาชีวศึกษาและการกีฬาแห่งราชอาณาจักรสเปนว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา | ศธ. | 11/02/2568 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
158 | ผลการดำเนินการระงับการให้บริการสาธารณูปโภคข้ามพรมแดน | นร. | 11/02/2568 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม
เวชยชัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเสนอว่า
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ (เรื่อง
การดำเนินการระงับการให้บริการสาธารณูปโภคข้ามพรมแดน)
มอบหมายให้เร่งดำเนินการจัดการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เพื่อพิจารณาข้อมูลข้อเท็จจริงในเรื่องการใช้บริการสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ไฟฟ้า
น้ำประปา ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีต้นกำเนิดจากฝั่งไทยของผู้ก่อปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีต่าง
ๆ เช่น การพนันออนไลน์ การหลอกลวงผ่านคอลเซ็นเตอร์ ให้ชัดเจนและรอบด้าน
แล้วพิจารณากำหนดมาตรการเพื่อดำเนินการระงับการให้บริการสาธารณูปโภคข้ามพรมแดนทุกประเภท
ในทุกพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง โดยด่วน นั้น ในระยะเวลา ๕ วัน
หลังจากบังคับใช้มาตรการดังกล่าว มีผลการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้ ๑.
การสนับสนุนการดำเนินมาตรการระงับการให้บริการสาธารณูปโภคทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ๑.๑ กระแสตอบรับจากสื่อสังคมออนไลน์
เช่น Facebook X TikTok พบว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว
และมีความคิดเห็นในเชิงสนับสนุนจำนวนมาก ๑.๒ นายสี
จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ได้ให้การสนับสนุนของรัฐบาลไทยอย่างเป็นทางการ
โดยระบุว่าจีนมีนโยบายปราบปรามขบวนการคอลเซ็นเตอร์ที่ตั้งฐานในเมียนมา และพร้อมให้ความร่วมมือในการดำเนินการทางกฎหมายอย่างเต็มที่ ๒.
ความสามารถในการดำเนินกิจการของขบวนการคอลเซ็นเตอร์ลดลง ๒.๑
นอกจากทางการไทยได้ระงับการให้บริการไฟฟ้าแล้ว ทางการลาวได้จำกัดการส่งกระแสไฟฟ้าให้จังหวัดท่าขี้เหล็ก
ประเทศเมียนมา จากเดิม ๓๐ เมกะวัตต์ เหลือเพียง ๑๓ เมกะวัตต์ ส่งผลให้ในพื้นที่ดังกล่าวเกิดภาวะขาดแคลนพลังงาน
โดยเฉพาะโรงแรม ห้องพัก บ้านเช่า และบ่อนการพนันที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจพนันออนไลน์และขบวนการคอลเซ็นเตอร์
โดยสภาพแวดล้อมในจังหวัดท่าขี้เหล็กในช่วงกลางคืนมืดลงอย่างชัดเจน ๒.๒ ในระหว่างวันที่
๖ - ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และฝ่ายความมั่นคงของเมียนมาได้ระดมกำลังออกปราบปรามบ่อนการพนันออนไลน์และขบวนการคอลเซ็นเตอร์ที่ลักลอบเปิดกิจการในพื้นที่จังหวัดท่าขี้เหล็กและหัวเมืองใกล้เคียง
โดยสามารถจับกุมเจ้าของและพนักงานได้จำนวนหนึ่ง ๒.๓
บ่อนการพนันออนไลน์และขบวนการคอลเซ็นเตอร์ที่ลักลอบเปิดกิจการอยู่ในพื้นที่จังหวัดท่าขี้เหล็กได้ให้พนักงานจำนวนกว่า
๑๐๐ คน เดินทางกลับประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณชายแดนตรงข้ามอำเภอแม่สาย
จังหวัดเชียงราย เนื่องจากการขาดแคลนไฟฟ้าที่จำเป็นสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์และน้ำมันเชื้อเพลิงที่จำเป็นสำหรับเครื่องปั่นกระแสไฟฟ้า ๓.
สถิติคดีหลอกลวงออนไลน์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายหลังการบังคับใช้มาตรการลดลง สถิติการรับแจ้งความออนไลน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติลดลงจากเดิมเฉลี่ยวันละ
๑,๒๐๐ คดี เหลือวันละ ๑,๐๐๐ - ๑,๑๐๐ คดี แสดงให้เห็นว่าแนวทางและมาตรการที่ได้ดำเนินการส่งผลกระทบต่อขบวนการคอลเซ็นเตอร์
และประชาชนมีความตื่นตัวต่อภัยอาชญากรรมออนไลน์มากขึ้น ๔.
ทางการเมียนมามีท่าทีตอบรับและดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมอย่างจริงจังมากขึ้น
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
159 | การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 เพื่อขยายระยะเวลาตรึงกรอบอัตรากำลังขององค์การมหาชนและการขอทบทวนกรอบอัตรากำลังขององค์การมหาชน | 11/02/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
ดังนี้ ๑. ให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม
๒๕๖๕ เรื่อง การกำหนดและทบทวนกรอบอัตรากำลังขององค์การมหาชนให้มีขนาดที่เหมาะสม
ดังนี้ ๑.๑
ขยายระยะเวลาการตรึงกรอบอัตรากำลังขององค์การมหาชนจาก “สิ้นสุดในปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๗” เป็น “สิ้นสุดในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๗๐” ๑.๒
มอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนพิจารณาทบทวน ปรับปรุงกรอบอัตรากำลังขององค์การมหาชนในกรณีที่ไม่เพิ่มกรอบอัตรากำลังภาพรวม
เพื่อให้สอดคล้องตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๕ เรื่อง การกำหนดและทบทวนกรอบอัตรากำลังของขององค์การมหาชนให้มีขนาดที่เหมาะสม ๒. ให้เพิ่มอัตรากำลังแก่สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ
(องค์การมหาชน) จำนวน ๑๖ อัตรา และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
จำนวน ๔๖ อัตรา โดยมีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติและมีเงื่อนไขว่า
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ต้องควบคุมกรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
หากมีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเกินอัตราที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ให้คืนอัตรากำลังดังกล่าวภายใน ๑ ปี โดยพิจารณาระยะเวลาของสัญญาจ้างให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
สอดคล้องหรือรองรับหลักเกณฑ์การคืนอัตรากำลังตามเงื่อนไขข้างต้น ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
สำนักงาน ก.พ.ร. สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ
(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงกลาโหม
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงแรงงาน สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
(องค์การมหาชน) รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เห็นว่าหากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
(องค์การมหาชน) ได้รับมอบภารกิจซึ่งเป็นนโยบายจากรัฐบาล
หรือรับผิดชอบการบริหารโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ให้หน่วยงานสามารถจัดสรร
หรือเกลี่ยอัตรากำลังบุคลากรทั้งที่ปฏิบัติภารกิจสนับสนุนและปฏิบัติภารกิจหลักได้อย่างยืดหยุ่นสอดคล้องกับภารกิจที่ได้รับมอบหมายภายใต้กรอบอัตรากำลังภาพรวม
จำนวน ๓๑๐ อัตรา
ตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๒๐๓/๓๑๑
ลงวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
160 | ขออนุมัติขยายระยะเวลาโครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ | อก. | 11/02/2568 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||