ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 7 จากทั้งหมด 6100 หน้า แสดงรายการที่ 121 - 140 จากข้อมูลทั้งหมด 121990 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
121 | รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2566 | นร.11 สศช | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ
ประจำปี ๒๕๖๖ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเสนอ
โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ๑. การประมินผลในภาพรวมทั้ง ๖ มิติ โดยภาพรวมปรับตัวดีขึ้น
เช่น ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทยมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
เนื่องจากไทยสามารถปรับตัวต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙
ได้ดีขึ้น และความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคมในภาพรวมปรับตัวดีขึ้น โดยความก้าวหน้าทางสังคมในปี
๒๕๖๖ ไทยจัดอยู่ในอันดับที่ ๕๘ จาก ๑๗๐ ประเทศ ดีขึ้นจากอันดับที่ ๗๑
ของปีที่ผ่านมา ๒. การประเมินผลรายยุทธศาสตร์ชาติทั้ง ๖ ด้าน
โดยส่วนใหญ่ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น เช่น ขีดความสามารถในการแข่งขัน
การพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ของไทยมีการพัฒนาที่ดีขึ้น
โดยอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยอยู่ในอันดับที่ ๓๐ ดีขึ้นจากอันดับที่
๓๓ จากปีที่ผ่านมา และการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
สถานการณ์ด้านความเหลื่อมล้ำของไทยดีขึ้นจากการพัฒนาในระยะที่ผ่านมามีความก้าวหน้าในการลดสัดส่วนความยากจน ๓ ประเด็นท้าทายที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมาย เช่น
หน่วยงานของรัฐอาจยังไม่ได้นำผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล อาทิ รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ
รายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนระดับที่ ๓ ไปใช้ประกอบการปรับปรุงการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอน
ทำให้ในกระบวนการจัดสรรงบประมาณ อาจยังไม่สอดคล้องกับช่องว่างในการพัฒนาประเทศ ๔. ข้อเสนอแนะเพื่อการดำเนินการในระยะต่อไป เช่น ทุกหน่วยงานของรัฐต้องให้ความสำคัญในการนำเข้าทุกข้อมูลของแผนระดับที่
๓ ในระบบ eMENSCR ให้ครบถ้วน พร้อมทั้งการรายงานผลสัมฤทธิ์
ผลการดำเนินงานตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้หน่วยงานและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลที่ครอบคลุมทุกการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติของหน่วยงานของรัฐไปใช้ประกอบการวิเคราะห์การดำเนินงานต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
122 | ข้อเสนอแผนงาน/โครงการของจังหวัดสืบเนื่องจากการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรี (จังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดราชบุรี) | นร.04 | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการของจังหวัด
จำนวน ๗ โครงการ ภายในกรอบวงเงิน ๑๗๐,๙๒๔,๐๐๐ บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการของจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน ๓ โครงการ ภายในวงเงิน
๑๓๕,๐๒๔,๐๐๐ บาท และจังหวัดราชบุรี จำนวน
๔ โครงการ ภายในวงเงิน ๓๕,๙๐๐,๐๐๐ บาท
โดยให้ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ทั้งนี้ ให้จังหวัดจัดทำโครงการและรายละเอียดต่าง ๆ
เพื่อขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามขั้นตอนต่อไป
โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์
และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณ
ตามนัยของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
รวมทั้งให้จังหวัดนำโครงการบรรจุในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดด้วย ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้จังหวัดกาฬสินธุ์
จังหวัดราชบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
เช่น กระทรวงการคลัง เห็นควรคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า ต้นทุน
และผลประโยชน์ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ รวมทั้งควรให้ความสำคัญกับการควบคุม
และกำกับดูแลการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด กระทรวงมหาดไทย เห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวจะสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วนให้กับประชาชนซึ่งตรงตามความต้องการและบริบทของพื้นที่
ตลอดจนเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ ทั้งมิติการค้า
การลงทุนและการท่องเที่ยวในภาพรวมของประเทศ ทั้งนี้ การดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย
ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี ขั้นตอนและแนวทาง การปฏิบัติที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
โดยคำนึงถึงความถูกต้อง โปร่งใส และประโยชน์สูงสุดของรัฐและประชาชนเป็นสำคัญ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
123 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. .... | คค. | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายสำหรับการกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงสัมปทานที่สอดคล้องกับการใช้ความเร็วที่เหมาะสมบนทางหลวงสัมปทานหมายเลข
๓๑ สายทางยกระดับดินแดง - อนุสรณ์สถาน (ทางยกระดับดอนเมือง) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
124 | ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง-บางแค ในท้องที่เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง-บางแค ในท้องที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด และเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... รวม 4 ฉบับ | คค. | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการ ๑.๑ ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้ามหานคร
สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง - บางแค ในท้องที่เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ
และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง -
บางแค ในท้องที่เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
โดยให้ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้
และให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนภายในระยะเวลา ๔ ปี ๑.๒
ร่างพระราชบัญญัติกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชนโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง - บางแค
ในท้องที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี
และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์
เพื่อกิจการขนส่งมวลชนโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง - บางแค
ในท้องที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี
และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
เพื่อให้ภาระในอสังหาริมทรัพย์มีการแสดงสิทธิในที่ดินให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายต้องยอมรับภาระว่าไม่สามารถใช้สอยอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ตามปกติแต่ไม่ได้สร้างภาระจนถึงขนาดที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยจะต้องดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น ๑.๓ ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้ามหานคร
สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย
และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้ามหานคร
สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงบางชื่อ - ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่
กรุงเทพมหานคร โดยให้ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้
และให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนภายในระยะเวลา ๔ ปี ๑.๔
ร่างพระราชบัญญัติกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร
สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด และเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน
โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงบางชื่อ – ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด
และเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร
เพื่อให้ภาระในอสังหาริมทรัพย์มีการแสดงสิทธิในที่ดินให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายต้องยอมรับภาระว่าไม่สามารถใช้สอยอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ตามปกติแต่ไม่ได้สร้างภาระจนถึงขนาดที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยจะต้องดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น รวม
๔ ฉบับ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
125 | การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | ยธ. | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
126 | การโอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF1 และ FIDF3 | กค. | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้โอนเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(กองทุนฯ)
เข้าบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(บัญชีสะสมฯ) ในปีงบประมาณ ๒๕๖๗ เพิ่มเติมจำนวน ๗,๒๔๒ ล้านบาท ซึ่งจะมีผลให้มีเงินนำส่งจากกองทุนฯ
เข้าบัญชีสะสมฯ เพื่อชำระต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF1 และ FIDF3 ในปีงบประมาณ ๒๕๖๗ รวมจำนวนทั้งสิ้น ๙,๒๔๒ ล้านบาท
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
127 | การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของเมืองน่าเที่ยว | นร. | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน
ชาญวีรกูล) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอว่า ที่ผ่านมามีการใช้คำว่า “เมืองรอง”
เพื่อใช้เรียกจังหวัดที่ไม่ได้เป็นเมืองท่องเที่ยวหลักมาโดยตลอด อย่างไรก็ดี
เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย IGNITE TOURISM THAILAND ของรัฐบาลที่มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Tourism Hub ของโลกด้วยกลยุทธ์ “เมืองหลักและเมืองน่าเที่ยว”
จึงเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ใช้คำว่า “เมืองน่าเที่ยว” แทนคำว่า “เมืองรอง”
ซึ่งจะทำให้การเรียกจังหวัดต่าง ๆ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแนวนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศมากยิ่งขึ้น
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
128 | การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน AHA Centre | มท. | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน AHA Centre ในปี พ.ศ. ๒๕๖๗ - ๒๕๖๘
เป็นจำนวน ๙๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ประมาณ ๓.๓ ล้านบาท) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้กระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) รับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่เห็นว่า สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อสมทบเข้ากองทุน AHA Centre ในปึงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ เห็นควรให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ที่ได้รับจัดสรรแล้ว สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘
ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
129 | ยุทธศาสตร์การปฏิรูปกำลังคนและภารกิจบริการด้านสาธารณสุขในภาพรวมทั้งระบบ ระยะ 10 ปี | สธ. | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการยุทธศาสตร์การปฏิรูปกำลังคนและภารกิจบริการด้านสาธารณสุขในภาพรวมทั้งระบบ
ระยะ ๑๐ ปี ประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ ๑
เร่งผลิตและพัฒนากำลังคนให้เพียงพอต่อการให้บริการด้านสาธารณสุข
โดยเฉพาะโรคสำคัญจำเป็นเร่งด่วนต่อภาระทางสุขภาพและทิศทางของประเทศ ยุทธศาสตร์ที่
๒ พัฒนาระบบบริการสาธารณสุขเชิงพื้นที่เป็นหนึ่งเดียว ยุทธศาสตร์ที่ ๓
สนับสนุนส่งเสริมบริการสุขภาพที่มีศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และยุทธศาสตร์ที่
๔ สร้างเสริมระบบและกลไกการอภิบาลกำลังคนด้านสุขภาพให้เข้มแข็ง และแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาวิกฤติเร่งด่วนของการขาดแคลนกำลังคนทางการพยาบาล
ประกอบด้วย ๓ แนวทาง ดังนี้ ๑) เพิ่มกำลังการผลิตกำลังคนทางการพยาบาล
โดยเพิ่มการผลิตบุคลากรสาขาพยาบาลศาสตร์ กำลังการผลิตผู้ช่วยพยาบาล และการจ้างผู้เกษียณเข้าทำงานในระบบ
๒) เพิ่มการคงอยู่ของบุคลากรพยาบาลในระบบ โดยเพิ่มตำแหน่งข้าราชการอัตราตั้งใหม่
เพิ่มค่าตอบแทน สนับสนุนทุนการพัฒนาศักยภาพการพยาบาลเฉพาะทาง
สนับสนุนทุนการศึกษาพยาบาล เพิ่มความก้าวหน้าให้พยาบาลวิชาชีพ และ
เพิ่มกรอบตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล และ ๓) เพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น สำนักงาน ก.พ. เห็นควรเร่งดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลกลางกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศให้มีข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน
รวมถึงควรจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผลิตและการบริหารอัตรากำลังในสายงานอื่นที่จำเป็นต่อการให้บริการทางการแพทย์ด้วย
เช่น นักจิตวิทยาคลินิก นักกิจกรรมบำบัด หรือนักกายอุปกรณ์ เป็นต้น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เห็นควรมีจุดเน้นของแผนในแต่ละยุทธศาสตร์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวว่า
จะดำเนินการไปในทิศทางใด เช่น การผลิตกำลังคนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ
การผลิตกำลังคนเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
การผลิตกำลังคนเพื่อรองรับกับโรคอุบัติใหม่
หรือการผลิตกำลังคนเพื่อตอบโจทย์การเป็น Excellent
Center เป็นต้น และควรมีการประเมินและติดตามผลการดำเนินมาตรการและตัวชี้วัดทั้งในเชิงผลผลิตและผลลัพธ์เป็นประจำทุกปี
เพื่อให้สามารถปรับแผนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมยิ่งขึ้น
และรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
130 | การจัดประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 5/2567 | นร.04 | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบกำหนดการจัดประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่
ครั้งที่ ๕/๒๕๖๗ ณ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และติดตามการตรวจราชการกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน
(จังหวัดชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง)
ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๗ และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
131 | มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวระยะเร่งด่วน (Quick Win) | กก. | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวระยะเร่งด่วน
(Quick Win) และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงินรวมทั้งสิ้น จำนวน ๔๓๓,๑๙๙,๓๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับดำเนินโครงการการทำตลาดการท่องเที่ยวแพลตฟอร์มออนไลน์ และโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดด้วยการจัดกิจกรรมบนอัตลักษณ์ถิ่น
“มหกรรมเสน่ห์ไทย” ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) เร่งดำเนินมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวระยะเร่งด่วน
(Quick Win) ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว (Low Season) ทั้งนี้ ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงวัฒนธรรมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ กระทรวงวัฒนธรรม เห็นควรเน้นการทำงานแบบบูรณาการ สร้างการมีส่วนร่วม
สร้างการรับรู้ความเข้าใจในทุกภาคส่วน เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามมาตรการ
บรรลุเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และมีประสิทธิภาพต่อไป สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรเร่งยกระดับคุณภาพมาตรฐานด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้เป็นที่น่าเชื่อถือมากขึ้น
โดยเฉพาะสวัสดิภาพความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย
ที่จะส่งผลให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการกระตุ้นการท่องเที่ยวสูงสุด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
132 | รายงานผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะกรณีการจัดให้เด็กสมรสก่อนวัยอันควร | ยธ. | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
133 | ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | ปสส. | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันจันทร์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๗
ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ต่อรัฐสภาเพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
134 | ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ บางฉบับที่หมดความจำเป็นและไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน พ.ศ. .... | ปสส. | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันจันทร์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๗
ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับที่หมดความจำเป็นและไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน
พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
135 | ขอจำหน่ายหนี้สูญตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรด้วยการจำหน่ายหนี้เป็นสูญในกองทุนหรือเงินทุนในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ของสหกรณ์ประมงเกาะลันตา จำกัด | กค. | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดีงนี้ ๑. อนุมัติจำหน่ายหนี้เป็นสูญของสหกรณ์ประมงเกาะลันตา
จำกัด จังหวัดกระบี่ (เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์) จำนวน ๕,๙๒๘,๓๕๖.๑๘ บาท แยกเป็นต้นเงิน
จำนวน ๒,๕๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท
และดอกเบี้ยค้างชำระ จำนวน ๓,๔๒๘,๓๕๖.๑๘
บาท โดยไม่ขอรับเงินชดเชยจากรัฐบาล ภายใต้โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรด้วยการจำหน่ายหนี้เป็นสูญในกองทุนหรือเงินทุนในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สาเหตุการจำหน่ายหนี้เป็นสูญข้อ (๙) ลูกหนี้ผู้กู้ยืมเงินมีรายได้น้อย หรือไม่มีความสามารถในการชำระหนี้
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการคลังและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกรมบัญชีกลาง
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายทุนหมุนเวียน
รวมทั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงมหาดไทย เห็นควรมีมาตรการในการดำเนินงานเพื่อลดปัญหาหนี้สูญของกองทุนหรือเงินทุนต่าง
ๆ
รวมถึงกำหนดมาตรการรักษาวินัยทางการเงินและชำระหนี้สินคืนกองทุนหรือเงินทุนอย่างต่อเนื่อง
และปรับปรุงการบริหารจัดการลูกหนี้ของกองทุนหรือเงินทุนตั้งแต่การพิจารณาความเป็นไปได้ในการดำเนินงานและความสามารถในการชำระหนี้ของแต่ละโครงการอย่างรัดกุม
การติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
การเตือนและเร่งรัดให้มีการชำระหนี้ทันตามกำหนด
การดำเนินกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ตามระเบียบและแนวทางที่เกี่ยวข้อง
และการเร่งรัดให้มีการปิดโครงการเมื่อมีการชำระหนี้คืนเต็มตามจำนวนแล้ว สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรให้ความสำคัญยิ่งขึ้นกับการดำเนินกระบวนการพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการและการบริหารจัดการโครงการให้เป็นไปด้วยความรอบคอบตามหลักวิชาการ
ตั้งแต่การวิเคราะห์และพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการจากกระบวนการวิเคราะห์ปัจจัยและบริบทที่เกี่ยวข้องในทุกมิติ
อาทิ ศักยภาพและโอกาสด้านการผลิต การตลาด เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง การเงิน ความพร้อมของเกษตรกร |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
136 | ภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 | นร.11 สศช | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. รับทราบภาวะสังคมไทยโตรมาสหนึ่ง ปี ๒๕๖๗
มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ๑.๑ ความเคลื่อนไหวทางสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง
ปี ๒๕๖๗ เช่น ๑) การจ้างงาน โดยผู้มีงานทำมีจำนวนทั้งสิ้น ๓๙.๖ ล้านคน ลดลงเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
ร้อยละ ๐.๑ ซึ่งเป็นผลจากการจ้างงานภาคเกษตรกรรมที่ลดลงกว่าร้อยละ ๕.๗ ในช่วงนอกฤดูการทำเกษตรกรรม
๒) หนี้สินครัวเรือน มีมูลค่า ๑๖.๓๖ ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ ๓.๐ ซึ่งลดลงจากร้อยละ
๓.๔ ของไตรมาสก่อนหน้า ๓) การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังโดยรวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี
๒๕๖๖ ร้อยละ ๘๐.๑ หรือเพิ่มจาก ๑๔๔,๑๘๗ ราย เป็น ๒๕๙,๖๗๒ ราย
ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากโรคระบาด เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ ๔)
การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๔.๕
โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของการบริโภคแอลกอฮอล์ ร้อยละ ๗.๗ และ ๕)
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน คดีอาญาไตรมาสหนึ่ง ปี ๒๕๖๗
มีการรับแจ้งทั้งหมดจำนวน ๑๑๒,๐๙๔ คดี เพิ่มขึ้น จากไตรมาสเดียวกันของปี
๒๕๖๖ ร้อยละ ๗.๙ ๑.๒ สถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ
เช่น ปัญหาสุขภาพจิตที่ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในสังคมไทย
ควรได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง โดย ๑) การป้องกัน
โดยสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันทางสังคม โดยเฉพาะสถาบันครอบครัว ๒) การรักษา
เร่งเพิ่มบุคลากรด้านสุขภาพจิตให้เพียงพอ และขยายบริการการรักษาผู้ป่วยจิตเวชในสถาบันบำบัดรักษา
๓) การติดตามและฟื้นฟูเยียวยา
โดยจัดทำฐานข้อมูลกลางด้านสุขภาพจิตที่ครอบคลุมผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อความรุนแรงให้ได้รับการรักษาต่อเนื่อง ๑.๓ มุมมองการยื่นและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของคนไทย
โดยส่วนใหญ่มองว่าระบบการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปัจจุบันมีความเป็นธรรมในระดับปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ
สาเหตุมาจากระบบการตรวจสอบยังไม่ครอบคลุมทำให้มีผู้ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเสียภาษี
ขณะที่ผู้มีรายได้สูงบางกลุ่มมีการหลบเลี่ยงภาษี โดยอาศัยช่องโหว่ทางกฎหมาย
เพื่อให้มีภาระในการใช้จ่ายน้อยลง
ซึ่งแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
อาจดำเนินการได้ เช่น การตรวจสอบและลงโทษผู้ที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องอย่างเข้มงวด
เป็นต้น ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ๒.
โดยที่จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังของคนไทยยังคงเพิ่มขึ้นมากอย่างต่อเนื่อง
จึงขอให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณากำหนดแนวทาง/มาตรการในการดำเนินการเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังโดยด่วน
รวมทั้งเพื่อป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย ๓.
ในส่วนของการรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคผ่านสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ซึ่งมีอัตราการร้องเรียนลดลง นั้น
ยังมีประเด็นที่ต้องติดตามและเฝ้าระวังปัญหาการถูกหลอกลวงให้รับหรือจ่ายบิลออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน
การขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งผู้ซื้อสินค้ามีความเสี่ยงต่อการถูกหลอกให้โอนเงินไปให้โดยไม่ได้รับสินค้าหรือได้รับสินค้าไม่ตรงกับที่ได้เสนอขายไว้
หรือถูกนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ซื้อไปใช้ประโยชน์อื่นในทางที่ไม่ถูกต้อง
จึงขอมอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวจิราพร สินธุไพร)
รับเรื่องนี้ไปพิจารณาในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
137 | แจ้งผลการวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน (กรณีโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet) | นร.04 | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบผลการวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน
(กรณีโครงการเติมเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ผ่าน Digital
Wallet) สรุปได้ว่า การดำเนินการตามโครงการเติมเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ผ่าน Digital Wallet ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและศึกษารายละเอียด
วิธีการดำเนินการ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และแหล่งที่มาของเงินที่จะนำมาใช้ในการดำเนินโครงการ จึงยังไม่มีความชัดเจนของรายละเอียด
กรณีดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องที่หน่วยงานของรัฐยังไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา
๖๒ ในหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ๒. ให้คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ผ่าน Digital Wallet และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่เห็นว่าในการพิจารณาดำเนินการนโยบายโครงการเติมเงิน
๑๐,๐๐๐๐ บาท ผ่าน Digital Wallet คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาตัดสินใจด้วยความละเอียดรอบคอบ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของเหตุผลและความจำเป็นในการดำเนินโครงการ ประโยชน์ที่รัฐและประชาชนจะได้รับ ความคุ้มค่า และภาระการเงินการคลังที่เกิดขึ้นแก่รัฐ
แหล่งที่มาของเงินในการดำเนินโครงการ
หน้าที่ของรัฐในการรักษาวินัยการเงินการคลัง ผลกระทบรวมถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อเสถียรภาพและความมั่นคงในทางการเงินการคลังของรัฐ
รวมทั้งต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
138 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. .... | คค. | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ
หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ
และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ
หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ
และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. ๒๕๕๖
ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ และสภาพการณ์ในปัจจุบัน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เช่น ร่างข้อ ๗ (๑) “ประตูรถ” เห็นควรใช้คำว่า “ประตูยานพาหนะ” เนื่องจากต้องคำนึงถึงประตูยานพาหนะประเภทอื่นด้วย ควรตัดคำว่า “อย่างหนึ่งอย่างใด”
ออก ในร่างข้อ ๗(๑) - (๘) ร่างข้อ ๘ (๑) - (๓) ร่างข้อ ๙ (๑) - (๑๒) ฯลฯ
เนื่องจากควรกำหนดให้มีอุปกรณ์ครบทุกรายการ ร่างข้อ ๙ ควรกำหนดให้ทางลาดสำหรับจุดจอดรถประจำทางต้องไม่ชัน
ร่างข้อ ๑๑ ควรเพิ่มอุปกรณ์แจ้งเตือนภัยสำหรับคนหูหนวกและควรมีอุปกรณ์นำพาคนพิการขึ้นและลงขนส่งท่าเทียบเรือ
และควรมีประกาศกำหนดจำนวนรถวีลแชร์ในเรือโดยสาร
รวมถึงประกาศเตือนทางเสียงและตัวอักษร
และวิธีการที่จะทำให้คนพิการเข้าถึงได้โดยสะดวก เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดดำเนินการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก
หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง
เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ในบริการขนส่งสาธารณะได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายในกรอบระยะเวลาของแผนการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับบริการขนส่งสาธารณะ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงคมนาคมประสานการดำเนินการในเรื่องนี้กับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของของมนุษย์
(กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) อย่างใกล้ชิดด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
139 | การปรับปรุงแนวทางปฏิบัติในการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี (ตำแหน่งระดับ 11 เดิม) | นร. | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมติพิจารณาเห็นว่า
โดยที่แนวทางการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
หรือรัฐมนตรี (ตำแหน่งระดับ ๑๑ เดิม) ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๓/ว ๒๒
ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ ได้ใช้บังคับเป็นเวลานานแล้ว
และอาจไม่เหมาะสมสอดคล้องกับแนวทางการบริหารบุคคลในปัจจุบัน
และอาจไม่สอดคล้องกับหน้าที่และอำนาจของรัฐมนตรีเจ้าสังกัดตามสายการบังคับบัญชาในการพิจารณาอนุมัติแต่งตั้งตามมาตรา
๕๗ (๑) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
สมควรที่จะพิจารณาปรับปรุงแนวทางการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเพื่อให้การพิจารณาแต่งตั้งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง
หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
หรือรัฐมนตรี (ตำแหน่งระดับ ๑๑ เดิม) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
และทำให้การบริหารราชการแผ่นดินในภาพรวมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย ชุณหวชิร)
ในฐานะกำกับการบริหารราชการ สั่ง และปฏิบัติราชการสำนักงาน ก.พ.
รับเรื่องนี้ไปพิจารณาดำเนินการให้ได้ข้อยุติที่เหมาะสมชัดเจนโดยด่วน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
140 | ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | ปสส. | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันอังคารที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|