ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 6 จากทั้งหมด 6108 หน้า แสดงรายการที่ 101 - 120 จากข้อมูลทั้งหมด 122145 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
101 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อชำระหนี้ค่าสาธารณูปโภค และค่าใช้สอยและค่าวัสดุประจำปี พ.ศ. 2566 | ยธ. | 24/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมราชทัณฑ์ก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อชำระหนี้ค่าสาธารณูปโภค และค่าใช้สอยและค่าวัสดุประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖
จำนวน ๓๓๒,๑๐๙,๒๐๐ บาท และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีค่าสาธารณูปโภค ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
เห็นควรให้ความสำคัญกับการควบคุม
และกำกับดูแลการใช้จ่ายเงินดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้ทันภายในปีงบประมาณ เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
สำหรับการจัดสรรงบประมาณให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ไปดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
102 | แนวทางการเสนอเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 4(8)-(20) | นร. | 24/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า สืบเนื่องจากที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์และมาตรฐานทางจริยธรรมของข้าราชการการเมือง
ประกอบกับประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๔
กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและต้องดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีอยู่ในกรอบจริยธรรม
รวมทั้งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ได้บัญญัติเกี่ยวกับคุณสมบัติของข้าราชการการเมืองไว้ ดังนั้น
เพื่อให้การแต่งตั้งข้าราชการการเมืองมีความถูกต้อง และเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
จึงขอให้ทุกส่วนราชการที่จะเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมืองดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่จะเสนอแต่งตั้ง
โดยจะต้องดำเนินการรับรองคุณสมบัติตามแบบรับรองประวัติบุคคลประกอบการพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔ (๘) - (๒๐) จำนวน ๑๔
ข้อ รวมทั้งให้ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติจากหน่วยงาน ๗ หน่วยงาน ได้แก่ (๑)
สำนักงานศาลยุติธรรม (๒) กรมบังคับคดี (๓)
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (๔)
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (๕) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
(๖) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ (๗)
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
แล้วให้เสนอเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการการเมืองไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพร้อมทั้งแนบเอกสารการตรวจสอบและรับรองคุณสมบัติไปให้ถูกต้องครบถ้วนด้วย
เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
103 | การมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | กค. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ตามความในมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ จำนวน ๒
ราย ตามลำดับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑. นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
104 | ขอความเห็นชอบการแต่งตั้งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (นายวีริศ อัมระปาล) | คค. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายวีริศ อัมระปาล ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการถไฟแห่งประเทศไทย
โดยให้ได้รับค่าตอบแทนคงที่รายเดือนในอัตรา ๓๗๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งค่าตอบแทนพิเศษประจำปีและสิทธิประโยชน์อื่นที่ผู้รับจ้างจะได้รับตามที่กระทรวงการคลังเห็นชอบแล้ว
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป
และไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
105 | ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจเพื่อให้ไทยได้ให้การรับรอง และ/หรือให้ความเห็นชอบในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 56 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 24 และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 และ 45 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจเพื่อให้ไทยได้ให้การรับรอง
และ/หรือให้ความเห็นชอบในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ ๕๖
และการประชุมที่เกี่ยวข้อง การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ครั้งที่ ๒๔ และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๔๔ และ ๔๕ โดยร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ
ที่จะมีการรับรอง และ/หรือให้ความเห็นชอบในช่วงการประชุมฯ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันรัฐบาลไทยในเชิงนโยบายและอาจเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหลายหน่วยงาน
จึงเข้าข่ายที่จะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามนัยมาตรา ๔ (๗)
ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้
เอกสารดังกล่าวไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน
ครั้งที่ ๕๖ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่
๒๔ และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๔๔ และ ๔๕ และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
จำนวน ๔ ฉบับ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
106 | แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร | นร.04 | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ ๓๑๑/๒๕๖๗ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๗ เรื่อง
แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) เพื่อให้การดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภาเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนตามระบบรัฐสภา
ตลอดจนการประสานงานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกรัฐสภา และพรรคการเมือง
ด้านนิติบัญญัติให้ดำเนินการไปอย่างราบรื่น ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสนับสนุนการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีในการเสนอร่างกฎหมาย
และดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนิติบัญญัติ
อันจะส่งผลให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเรียบร้อย
ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
107 | คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 320/2567 | นร.04 | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๒๐/๒๕๖๗ เรื่อง
มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
108 | ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น | กค. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
วงเงินไม่เกิน ๒๓,๕๕๒.๔๐ ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ดังนี้ ๑. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวนไม่เกิน ๒,๐๕๙.๕๔ ล้านบาท โดยจัดสรรให้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
สำหรับกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม และให้นำเงินที่เหลือดังกล่าวไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
ต่อไป ๒. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวนไม่เกิน ๒๑,๔๙๒.๘๖ ล้านบาท โดยจัดสรรให้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
และให้นำเงินเหลือจ่ายดังกล่าวส่งคืนคลังเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
109 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลา การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม) | กค. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะครบกำหนดวันที่ ๓๐
กันยายน ๒๕๖๗ ต่อไปอีก เป็นระยะเวลา ๑ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ ถึงวันที่
๓๐ กันยายน ๒๕๖๘ โดยยังคงจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ ๖.๓
(ไม่รวมภาษีท้องถิ่น) หรือร้อยละ ๗ (รวมภาษีท้องถิ่น) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรพิจารณาทยอยปรับเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ
ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลและขยายฐานภาษีให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
เพื่อลดข้อจำกัดทางการคลัง และรองรับความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเงินโลก
การเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น สำนักงบประมาณ เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าวให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
110 | ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือว่าด้่วยการเป็นหุ้นส่วนทางการค้าที่แน่นแฟ้น และร่างแผนการดำเนินงานสหราชอาณาจักร - ไทย ฉบับที่ 2 | พณ. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางการค้าที่แน่นแฟ้น
(Memorandum of Understanding between the
Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the United Kingdom
of Great Britain and Northern Ireland for an Enhanced Trade Partnership) และร่างแผนการดำเนินงานสหราชอาณาจักร-ไทย ฉบับที่ ๒ (UK-TH Workplan
2.0) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างเอกสารทั้ง
๒ ฉบับ โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญเพื่อเป็นกลไกในการส่งเสริมการยกระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
การค้า และการลงทุนของสองฝ่ายให้เป็นไปอย่างแน่นแฟ้นและใกล้ชิดยิ่งขึ้น ส่วนร่างแผนการดำเนินงานฯ
มีสาระสำคัญเพื่อกำหนดกิจกรรมและรูปแบบความร่วมมือที่ต่อยอดจากแผนการดำเนินงานฯ
ฉบับแรก ในสาขายุทธศาสตร์สำคัญที่สองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ๒.
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ และร่างแผนการดำเนินงานฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
111 | ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ พ.ศ. 2567 | นร.07 | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๒๐/๒๕๖๗ เรื่อง
มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
112 | นายกรัฐมนตรีลากิจในวันที่10 กันยายน 2567 | นร.05 | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งว่า
นายกรัฐมนตรีได้ลากิจในวันอังคารที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๗ ตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐ น.
เป็นต้นไป ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้จัดทำหนังสือเวียนแจ้งให้รัฐมนตรีทุกท่านทราบแล้ว
ทั้งนี้ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๔๑
กำหนดให้การลาทุกประเภทของนายกรัฐมนตรี ให้อยู่ในดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี
และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
113 | การให้ความช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม | นร. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย
วาตภัย และดินโคลนถล่ม (คอส.) และจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) ขึ้นแล้ว นั้น เพื่อให้การให้ความช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นในขณะนี้เป็นไปอย่างรวดเร็ว
เหมาะสม และทั่วถึง เห็นควรให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการ
ดังนี้ ๑.
ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ประสบอุทกภัยอย่างใกล้ชิด
และเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือเยียวยาประชาชนตามแผนงานที่กำหนดไว้ให้บรรลุผลโดยเร็วและหากมีเหตุฉุกเฉินเกิดเพิ่มขึ้น
ก็ให้เร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้หมดไปอย่างรวดเร็วและทันท่วงทีด้วย ๒.
ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณากำหนดมาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเพิ่มเติมจากการดำเนินการตามระเบียบ
หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่ได้ดำเนินการอยู่แล้วตามปกติในปัจจุบัน (ตามข้อ ๑)
แล้วให้เร่งดำเนินการต่อไป เพื่อให้สามารถให้การช่วยเหลือเยียวยาประชาชนได้อย่างครบถ้วน
ทั่วถึง และบรรเทาทุกข์ของผู้ประสบภัยได้มากยิ่งขึ้น โดยหากการดำเนินการเพิ่มเติมดังกล่าวในเรื่องใดมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรี
ก็ขอให้เร่งดำเนินการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยด่วน ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้ถูกต้อง
เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดด้วย ๓. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งเตือนภัย
เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กรมอุตุนิยมวิทยา) กระทรวงมหาดไทย
(กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)
ตรวจสอบระบบการแจ้งเตือนภัยในความรับผิดชอบให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเท่าทันสถานการณ์มากยิ่งขึ้นด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
114 | การขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการยกระดับและพัฒนาระบบบริการสุขภาพหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข | สธ. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น รวมวงเงินทั้งสิ้น ๖๒๔,๘๐๐,๐๐๐ บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการยกระดับและพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
หน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรพิจารณาจัดทำกรอบทิศทางและแนวทางการลงทุนในการขยายศักยภาพของสถานพยาบาลแต่ละระดับของเขตสุขภาพในภาพรวมของประเทศ
เพื่อให้มีการจัดลำดับความสำคัญและเป็นทิศทางในการจัดสรรงบประมาณที่สอดคล้องกับความจำเป็นและความคุ้มค่าในการดำเนินการในแต่ละเขตสุขภาพ
โดยคำนึงถึงรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคส่วนต่าง ๆ
ที่จะเข้ามาร่วมจัดบริการสุขภาพในพื้นที่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
115 | ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) | สปสช. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ๕,๙๒๔,๓๑๔,๖๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ยกระดับ ๓๐ บาท
รักษาทุกโรค “บัตรประชาชนใบเดียว รักษาได้ทุกที่” ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗
สำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนอ ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรับข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เห็นว่าการที่ผู้มีสิทธิไปรับบริการที่หน่วยบริการอื่นที่ไม่ได้ลงทะเบียนไว้หรือหน่วยบริการสาธารณสุขพื้นฐานใกล้บ้าน
ขณะที่หน่วยบริการเดิมที่ได้ลงทะเบียนไว้ไม่ต้องจัดบริการแก่ผู้มีสิทธิรายนั้น ๆ
แต่ยังได้รับงบประมาณในการดำเนินงานตามค่าเหมาจ่ายรายหัวอาจก่อให้เกิดการซ้ำซ้อนของการสนับสนุนงบประมาณในการจัดบริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้
สำนักงานหลักประกันสุขภาพควรพิจารณาหาแนวทางในการจัดสรรงบประมาณที่เป็นการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดบริการร่วมกันระหว่างหน่วยบริการที่ประชาชนได้ลงทะเบียนไว้ตามสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหน่วยบริการอื่นภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานในระยะต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
116 | การขอขยายระยะเวลาดำเนินการจ่ายเงินชดเชยให้แก่น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ | พน. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการขยายระยะเวลาดำเนินการจ่ายเงินชดเชยให้แก่น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพออกไปสองปี
จนถึงวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๙ และร่างประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และมาตรการเพื่อลดการจ่ายเงินชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ๒. รับทราบแผนการลดการจ่ายเงินชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพในช่วงปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ - ๒๕๖๙ ของกระทรวงพลังงาน ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ๓. ให้กระทรวงพลังงาน
คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงพลังงานหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพิจารณาแนวทางแก้ปัญหาอุปทานส่วนเกินของเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างยั่งยืน
โดยการต่อยอดอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ การเพิ่มมูลค่าสินค้า และประยุกต์กับอุตสาหกรรมอื่น
ๆ นอกจากนี้
เห็นควรมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงพิจารณาแนวทางการปรับปรุงกลไกการบริหารราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในระยะต่อไป
ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาด้านพลังงานของประเทศที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานภาคขนส่งเป็นพลังงานสีเขียวผ่านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า
(EV) เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
117 | ร่างความตกลงระหว่างทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การแต่งตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น International Atomic Energy Agency Collaborating Centre - Anchor Centre | อว. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำร่างความตกลงระหว่างทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การแต่งตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น International Atomic
Energy Agency Collaborating Centre - Anchor Centre และมอบหมายให้คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้แทนในการลงนามร่างความตกลงดังกล่าว
โดยร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกรอบความร่วมมือที่ไม่ผูกขาดระหว่างคู่สัญญา
ในด้านการเสริมสร้างศักยภาพและระบบสุขภาพในรูปแบบ Anchor Centre โดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ Anchor
Centre จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้ด้านการแพทย์รังสี
สาขาการถ่ายภาพมะเร็ง (รังสีวิทยาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์) รังสีวิทยามะเร็ง
และฟิสิกส์การแพทย์ แก่ประเทศสมาชิกของ IAEA ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รวมถึงประเทศสมาชิกในภูมิภาคอื่น
ตามแผนงานที่เป็นส่วนหนึ่งของร่างความตกลงฉบับนี้และการรายงานผลการดำเนินงานให้ IAEA
ทราบ โดยมีกิจกรรมภายใต้แผนงานครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญ
นักวิจัย หรือแพทย์ประจำบ้านตามคำแนะนำของ IAEA ในสาขาความเชี่ยวชาญของ
Anchor Centre การจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีวิทยา
เวชศาสตร์นิวเคลียร์ และฟิสิกส์การแพทย์ให้กับ IAEA เป็นต้น ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
(หนังสือกระทรวงการต่างประเทศ ที่ กต ๑๐๐๕/๑๖๙๕ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๗) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างความตกลงฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
118 | การเพิ่มเงินค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการตุลาการตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา และขออนุมัติใช้เงินงบกลาง | ศย. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการเพิ่มเงินค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการตุลาการตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
ตามร่างระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการตุลาการตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. .... และอนุมัติให้ใช้เงินงบกลาง จำนวน ๕๒,๘๔๑,๒๕๐บาท สำหรับรายการเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการตุลาการตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
ดังนี้ ๑) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ จำนวน ๖,๕๙๗,๕๐๐ บาท และ ๒) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ จำนวน ๔๖,๒๔๓,๗๕๐ บาท ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
119 | คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี รวม 3 ฉบับ (คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 313/2567-315/2567) | นร.04 | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
ดังนี้ ๑. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ ๓๑๓/๒๕๖๗ เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๗ ๒. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ ๓๑๔/๒๕๖๗ เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย
และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๗ ๓. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๑๕/๒๕๖๗ เรื่อง
มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ลงวันที่ ๑๖
กันยายน ๒๕๖๗
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
120 | ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อใช้จ่ายสำหรับงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายชดใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน | กค. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๒,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท เพื่อใช้จ่ายสำหรับงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายชดใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|