ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 5 จากทั้งหมด 6164 หน้า แสดงรายการที่ 81 - 100 จากข้อมูลทั้งหมด 123271 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
81 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (นายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์) | นร.04 | 03/03/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์
เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง
ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
82 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาวอัจฉรา รอดเกิด) | สธ. | 25/02/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
83 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายเบญจมินทร์ สุกาญจนัจที) | กต. | 25/02/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
84 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (1. นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ฯลฯ รวม 6 คน) | อว. | 25/02/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
85 | แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา (1. พลโท นุกูล นรฉันท์ ฯลฯ รวม 6 คน) | กษ. | 25/02/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
86 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... | อก. | 25/02/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก
เนื่องจากประกาศใช้เกิน ๕ ปี
และเพื่อให้มาตรฐานมีความทันสมัยสอดคล้องกับการทำและการใช้งานในปัจจุบันและเป็นการส่งเสริมมาตรการทดแทนปูนเม็ด
รวมทั้งเป็นการสอดรับนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นว่าตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก พ.ศ. ๒๕๖๗
ซึ่งมีสาระเป็นการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกมาตรฐานเลขที่
มอก. ๒๕๙๔ - ๒๕๖๗ นั้น
จะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
โดยประกาศดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๗
เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปโดยสอดคล้องกับร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ซึ่งเป็นการกำหนดให้นำมาตรฐานดังกล่าวมาใช้บังคับกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกจะต้องไม่มีผลใช้บังคับก่อนวันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
87 | ร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ เขตเลือกตั้งที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. .... | กกต. | 25/02/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ
เขตเลือกตั้งที่ ๒ แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างภายใน
๔๕ วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลง (ภายในวันที่ ๓ เมษายน
๒๕๖๘) และจัดทำร่างแผนการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ
เขตเลือกตั้งที่ ๒ แทนตำแหน่งที่ว่าง
โดยจะประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า ๒๕
วัน ก่อนวันเลือกตั้ง (ภายในวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๘) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
88 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ญัตติเพื่อพิจารณาแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย ของคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร | ศธ. | 25/02/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง
ญัตติเพื่อพิจารณาแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย
ของคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำข้อมูลและแก้ไขปัญหาสถานะของเด็กที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎร
หรือไม่มีสัญชาติไทยตามมติคณะรัฐมนตรี (๒๐ เมษายน ๒๕๖๘) และมติคณะรัฐมนตรี (๒๖ มกราคม
๒๕๖๔) เรียบร้อยแล้ว
และได้จัดทำคู่มือและแนวทางปฏิบัติสำหรับการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย
(ฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๗)
เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้แก่หน่วยงานในพื้นที่และสถานศึกษา
รวมถึงมีการจัดตั้งศูนย์บริการประชาชนและให้บริการสายด่วน ๑๕๗๙ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้คำแนะนำและคำปรึกษาให้กับครูและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
89 | รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | นร.01 | 25/02/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด
(ก.ธ.จ.)ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
สรุปได้ ดังนี้ ๑. ผลการดำเนินงานของ ก.ธ.จ. ทั้ง ๗๖ คณะ/จังหวัด ได้สอดส่องการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
๒,๒๔๔ เรื่อง และมีข้อเสนอแนะ ๑,๙๑๒ ข้อ ใน ๔ เรื่อง ได้แก่ (๑) แผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
(๒) แผนงาน/โครงการของส่วนราชการในจังหวัด (๓)
แผนงาน/โครงการของหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ (เช่น อปท. รัฐวิสาหกิจ) และ (๔)
เรื่องร้องเรียน ๒. ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญและแนวทางการแก้ไขของ
ก.ธ.จ. เช่น (๑) การปฏิบัติงานของ ก.ธ.จ. ในระดับพื้นที่ขาดระบบการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ
แนวทางการแก้ไข สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด
ขอความอนุเคราะห์จังหวัดเชิญ ก.ธ.จ. เข้าร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด เพื่อให้
ก.ธ.จ. ได้ชี้แจงบทบาทหน้าที่ และแนวทางการปฏิบัติงานของ ก.ธ.จ. (๒) งบประมาณมีไม่เพียงพอกับการปฏิบัติงานของ
ก.ธ.จ. แนวทางการแก้ไข เช่น ให้ ก.ธ.จ. จัดทำแผนการใช้จ่ายงบฯ ในการสอดส่องโครงการภายในกรอบวงเงินที่ได้รับจัดสรรปรับแผนการลงพื้นที่และหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ๓. แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานของ ก.ธ.จ. ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ เช่น สอดส่องแผนงานโครงการที่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลและเรื่องที่ส่งผลกระทบกับประชาชนให้มากยิ่งขึ้น
สนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในภารกิจงานของ ก.ธ.จ.
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
90 | รายงานประจำปี 2566 ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) | สธ. | 25/02/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปี ๒๕๖๖ ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
(สวรส.) สรุปได้ ดังนี้ (๑) สรุปผลงานที่สำคัญ/โดดเด่น เช่น ๑) ดำเนินการทบทวนขอบเขตและศึกษาผลกระทบของนโยบายอนุญาตให้กัญชาถูกกฎหมาย
๒) ดำเนินโครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการจีโนมสำหรับการแพทย์จีโนมิกส์ในด้านมะเร็ง
เพื่อยกระดับศักยภาพด้านการวิจัยและการบริการด้านการรักษาโรคมะเร็งให้สามารถแข่งขันได้ในระดับประเทศและนานาชาติ
๓) ดำเนินโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสภาวิชาชีพและกระทรวงสาธารณสุข
เพื่อวางแผนและบริหารจัดการกำลังคนสุขภาพของไทยแบบบูรณาการ ๔)
ดำเนินการถอดบทเรียนการดำเนินนโยบายคนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว ๓ คน ใน ๓ ระดับ
(ระดับหมู่บ้าน ระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และระดับโรงพยาบาล) และ ๕)
ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการกำกับการกินยารักษาวัณโรคโดยใช้แอปพลิเคชั่นมือถือ
และ (๒) งบแสดงฐานะการเงินและงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรับรองแล้ว เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๗ เห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
91 | รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2567 | กค. | 25/02/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ ๓ ปี
๒๕๖๗ ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้
ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรับข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง โดยกระทรวงการคลังเห็นว่า การกำหนดเป้าหมายนโยบายการเงินและการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยน
กนง. ควรคำนึงถึงนโยบายแห่งรัฐ สภาวะทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ
เพื่อให้แนวนโยบายการเงินและแนวนโยบายแห่งรัฐสามารถทำงานสอดประสานกันกับสภาวะเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ
โดยรายงานฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ๑) เศรษฐกิจโลก
ประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มเศรษฐกิจขยายตัวที่ร้อยละ ๒.๘ และ ๒.๖ ในปี ๒๕๖๗ และปี ๒๕๖๘ ตามลำดับ
โดยมีแรงขับทางเศรษฐกิจหลักมาจากภาคบริการเป็นสำคัญ ๒) เศรษฐกิจไทย
มีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ ๒.๗ และ ๒.๙ ในปี ๒๕๖๗ และปี ๒๕๖๘
ตามลำดับ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้น
การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง การใช้จ่ายภาครัฐที่เร่งขึ้นในช่วงครึ่งหลัง
ปี ๒๕๖๗ และการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวตามอุปสงค์สินค้าโลก และ ๓) ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้น
โดยสินเชื่อโดยรวมชะลอลงโดยเฉพาะสินเชื่อ SMEs และอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่
๓๔.๗๘ บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
92 | ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 31 และถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ประจำปี 2567 | กค. | 25/02/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค
ครั้งที่ ๓๑ และถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ประจำปี ๒๕๖๗
เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู โดยผลการประชุมฯ
และถ้อยแถลงร่วมฯ มีสาระสำคัญ เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินโลก ซึ่งคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะสามารถขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ
๓.๑ ใน ๕ ปีข้างหน้า โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่ควรระมัดระวัง เช่น
การชะลอตัวของเศรษฐกิจหลัก ต้นทุนการขนส่ง และสถานการณ์หนี้สาธารณะ โดยผู้แทน IMF ได้เสนอแนะเชิงนโยบายแก่สมาชิกเขตเศรษฐกิจว่า
ควรรักษาพื้นที่เชิงนโยบายและเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
และใช้โอกาสนี้ในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่สำคัญ ทั้งนี้ ถ้อยแถลงร่วมฯ
มีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕
ตุลาคม ๒๕๖๗ โดยเป็นการเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ
ตลอดจนเน้นย้ำถึงแผนความเชื่อมโยงของเอเปค
ซึ่งเป็นการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาความรู้ทางการเงิน
และให้ความสำคัญกับการใช้มาตรการทางการคลังและการเงินที่ผสมผสานเพื่อขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ
ซึ่งสาระสำคัญของถ้อยแถลงร่วมฯ
จะเป็นประโยชน์ต่อไทยในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและเพิ่มบทบาทของไทยในเวทีโลก
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
93 | รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะกรณีหน่วยงานของรัฐไม่จัดสรรเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวตามความจำเป็นพื้นฐานค่าอาหารกลางวันและค่าอาหารเสริม (นม) ให้แก่ผู้เรียนของศูนย์การเรียนที่จัดโดยองค์กรชุมชนและองค์กรเอกชน | ศธ. | 25/02/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
94 | ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 | อก. | 25/02/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย
พ.ศ. ๒๕๓๕ มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๓๗)
ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกรณีการขออนุญาตและออกใบอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก
หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ การขอและการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาต
การต่ออายุใบอนุญาต
รวมถึงการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องให้กระทำโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
95 | การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านปัญญาประดิษฐ์ในบริบทการป้องกันประเทศ | กห. | 25/02/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านปัญญาประดิษฐ์ในบริบทการป้องกันประเทศ
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว
ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๕ - ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ ณ รัฐปีนัง
ประเทศมาเลเซีย โดยร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ซึ่งมีสาระสำคัญ เช่น ๑)
ตระหนักถึงความท้าทายด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่มีความซับซ้อน และบทบาทเชิงรุกของหน่วยงานด้านการป้องกันประเทศของอาเซียนในการร่วมกันรับมือกับความท้าทายดังกล่าว
๒) ระมัดระวังว่าปัญญาประดิษฐ์ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานเพิ่มขึ้นในหลากหลายบทบาทในด้านการป้องกันประเทศ
ซึ่งได้ทำให้เกิดทั้งโอกาสและประโยชน์ เช่น การเพิ่มความถูกต้องและแม่นยำ
ตลอดจนได้สร้างความท้าทายและความเสี่ยง เช่น การแข่งขันสะสมอาวุธ
การประเมินที่ผิดพลาด การพึ่งพาที่มากเกินไป ๓)
การส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในบริบทการป้องกันประเทศอย่างรับผิดชอบ
สอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ๔)
การส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีของหน่วยงานด้านการป้องกันประเทศ
เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการใช้ปัญญาประดิษฐ์
และลดความต่างที่มีอยู่ของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เช่น
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดี การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
การถ่ายทอดเทคโนโลยี การสนับสนุนทางเทคนิค การฝึกอบรมและการวิจัยร่วมกัน ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
96 | ร่างพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [(เพิ่ม (ฆ/4) ว่าด้วยการค้นหาและช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำ)] | คค. | 25/02/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย
(ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย
พระพุทธศักราช ๒๔๕๖
โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการระดับชาติเกี่ยวกับการค้นหาและช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำ
เรียกว่าคณะกรรมการค้นหาและช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำแห่งชาติ (กชน.)
มีหน้าที่และอำนาจในการค้นหาและช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำ กำหนดยุทธศาสตร์ นโยบาย
แนวทาง มาตรการ
และเขตความรับผิดชอบในการค้นหาและช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำของประเทศไทย
กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยชีวิตอากาศยานและเรือที่ประสบภัย (สำนักงาน
กชย.) สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานค้นหาและช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำ
มีหน้าที่ และอำนาจในการกำกับดูแลการค้นหาและช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
โดยให้ส่งความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานอัยการสูงสุดไปเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง
กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
97 | การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งกลๆกการปรึกษาหารือทวิภาคีระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศ การบูรณาการแอฟริกาและชาวโกตดิวัวร์ในต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐโกตดิวัวร์ | กต. | 25/02/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
98 | ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตทำงาน การออกใบอนุญาตทำงาน และการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | รง. | 25/02/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตทำงาน
การออกใบอนุญาตทำงาน และการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขกฎกระทรวงการขออนุญาตทำงาน
การออกใบอนุญาตทำงาน และการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๓
เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การรับใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอน และภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม เห็นควรนำเทคโนโลยีดิจิทัลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มาปรับใช้กับการดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทย
เช่น การขออนุญาตทำงาน การออกใบอนุญาตทำงาน
รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลสำคัญระหว่างหน่วยงานของรัฐ และกระทรวงแรงงานควรมีมาตรการควบคุมและตรวจสอบการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการดังกล่าวแทนดำเนินการดังกล่าวอย่างเคร่งครัดและรัดกุม สำนักงาน ก.พ.ร. เห็นควรจัดทำแนวทางปฏิบัติและประชาสัมพันธ์เผยแพร่กฎกระทรวงดังกล่าว
รวมทั้งให้กระทรวงแรงงานเร่งจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนให้เป็นปัจจุบัน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
99 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 150 ปี กระทรวงการคลัง พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 150 ปี กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ | กค. | 25/02/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก
๑๕๐ ปี กระทรวงการคลัง พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล)
ชนิดราคาห้าสิบบาท (ประเภทธรรมดา) เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสครบ ๑๕๐ ปี กระทรวงการคลัง
ในวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๘ และร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก
๑๕๐ ปี กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล)
ชนิดราคายี่สิบบาท จำนวน ๒ ประเภท (ประเภทธรรมดาและประเภทขัดเงา)
เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสครบ ๑๕๐ ปี กระทรวงการต่างประเทศ ในวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.
๒๕๖๘ รวม ๒ ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
100 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 150 ปี กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. .... | กต. | 25/02/2568 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก
๑๕๐ ปี กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล)
ชนิดราคายี่สิบบาท จำนวน ๒ ประเภท (ประเภทธรรมดาและประเภทขัดเงา)
เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสครบ ๑๕๐ ปี กระทรวงการต่างประเทศ ในวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.
๒๕๖๘ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้
|