ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 4 จากทั้งหมด 6100 หน้า แสดงรายการที่ 61 - 80 จากข้อมูลทั้งหมด 121990 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
61 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (1. นายธิติวัฐ อดิศรพันธ์กุล ฯลฯ จำนวน 6 ราย) | นร.04 | 20/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน ๖ ราย
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๗) เป็นต้นไป
ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. นายธิติวัฐ อดิศรพันธ์กุล ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายภูมิธรรม เวชยชัย) ๒. นายศึกษิษฏ์ ศรีจอมขวัญ ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) ๓. นายพงศ์ศรัณย์ อัศวชัยโสภณ ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
(รองนายกรัฐมนตรี นายพิชัย ชุณหวชิร) ๔. นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
(รองนายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ๕. พลตำรวจโท อภิรัต นิยมการ ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
(รองนายกรัฐมนตรี พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ)
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
62 | การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี | นร.04 | 20/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
63 | การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี | นร.05 | 15/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติพิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามมาตรา
๑๗๐ (๔) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
จึงเป็นเหตุให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๖๗ (๑) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
คณะรัฐมนตรีที่เหลือจึงอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตามมาตรา
๑๖๘ (๑) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และตามมาตรา ๑๐ วรรคสี่
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๔๕
บัญญัติให้ในระหว่างที่คณะรัฐมนตรีต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่
เพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินการต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง จึงได้มีมติมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี
(นายภูมิธรรม เวชยชัย) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
64 | แนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี กรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 170 (4) | นร.05 | 15/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี
กรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๐ (๔) ดังนี้ ๑. สถานะของคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ๑.๑
คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง แต่ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป (ไม่เรียกว่า
รักษาการ และได้รับเงินเดือนแต่ยังไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน) ๑.๒
คณะรัฐมนตรียังคงมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศเท่าที่จำเป็นทุกประการ
กรณีมีสถานการณ์คุกคามความมั่นคงของชาติ ย่อมมีอำนาจหน้าที่ที่จะประกาศมาตรการเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติได้
เช่น ประกาศภาวะฉุกเฉินหรือประกาศกฎอัยการศึก เป็นต้น ๑.๓
การลงชื่อตำแหน่งของรัฐมนตรี ยังคงลงชื่อในตำแหน่งเดิม
มิใช่เป็นการรักษาการหรือรักษาการในตำแหน่ง ๒. หลักการเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี ๒.๑
เรื่องที่เป็นนโยบายใหม่ซึ่งมีผลผูกพันคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ไม่ควรพิจารณา ๒.๒
เรื่องที่จำเป็น เร่งด่วน หรือเรื่องที่ต้องให้พิจารณาดำเนินการเป็นเรื่อง ๆ ไป
ทั้งนี้ ข้าราชการการเมืองที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง
พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ผู้แทนการค้าไทยตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยผู้แทนการค้าไทย พ.ศ. ๒๕๕๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา
๑๑ (๖) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.
๒๕๓๔และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต้องพ้นจากตำแหน่งไปด้วย
ซึ่งหากจะให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
ให้ดำเนินการแต่งตั้งตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
65 | การป้องกันและปราบปรามธุรกิจขายสินค้าจากต่างประเทศที่ผิดกฎหมาย | นร. | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า เนื่องจากมีข้อร้องเรียนจากภาคธุรกิจเอกชน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เกี่ยวกับธุรกิจขายสินค้าจากต่างประเทศทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์
ที่ได้เข้ามาค้าขายอย่างผิดปกติในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อโอกาสและความอยู่รอดในการผลิตและการทำธุรกิจของคนไทย
จึงขอมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย)
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นเจ้าภาพรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อกำหนดมาตรการ/แนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาและปกป้องผลประโยชน์ของผู้ผลิตและผู้ประกอบการชาวไทยให้ชัดเจน
เป็นรูปธรรม ครบถ้วนในทุกมิติ เช่น ๑.
การตรวจสอบความถูกต้องของการจดทะเบียนการค้าและใบอนุญาตต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจของต่างประเทศและดำเนินคดีกับผู้ประกอบการต่างประเทศที่กระทำการผิดกฎหมายอย่างเคร่งครัด ๒.
การตรวจสอบคุณภาพสินค้าจากต่างประเทศว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือได้รับการตรวจสอบรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยแล้วหรือไม่
เช่น มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
และมาตรฐานอาหารและยา (อย.) ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิและสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค
โดยให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเจ้าภาพ
ประสานการดำเนินการกับกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตามแต่กรณีต่อไป ๓. การตรวจสอบใบอนุญาตนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศและการชำระอากรขาเข้าของผู้ประกอบการจากต่างประเทศ ๔.
การตรวจสอบความถูกต้องของการได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง. 4) โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ ในการพิจารณากำหนดมาตรการ/แนวทางในการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น
ให้คำนึงถึงความสอดคล้องกับความตกลงการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
ควบคู่ไปกับการรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคและผู้ประกอบการของไทยอย่างสมดุล
รวมทั้งให้พิจารณากำหนดแนวทางการสนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs) ของไทย
ให้สามารถปรับตัวและแข่งขันได้กับต่างชาติในสภาวะการค้าขายของโลกในปัจจุบันด้วย
แล้วให้จัดทำสรุปผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการในภาพรวม เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยเร็วภายในเดือนสิงหาคม
๒๕๖๗
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
66 | ขอความเห็นชอบและอนุมัติให้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงเกษตรแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถาน | กษ. | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
67 | การเสนอขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 | นร.07 | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเสนอขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ เพื่อให้เป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนดในแนวทาง หลักเกณฑ์
แผนและขั้นตอนการเสนอขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๘ และมอบหมายให้สำนักงบประมาณนำเรื่องการเสนอขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ ตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว
เสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
68 | ร่างเอกสารที่จะมีการรับรองในช่วงการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2024 | พน. | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
69 | ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญารัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 9 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง | กษ. | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
70 | ขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงการประชุมระดับสูงเอเปคว่าด้วยสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 14 | สธ. | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
71 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนฉลุง จังหวัดสตูล พ.ศ. .... | มท. | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนฉลุง จังหวัดสตูล พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการวางและจัดทำผังเมืองรวมชุมชนฉลุง จังหวัดสตูล
ซึ่งเป็นผังเมืองรวมชุมชนเปิดใหม่ มีพื้นที่วางผังประมาณ ๑๓๑.๘๒ ตารางกิโลเมตร
ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฉลุง ตำบลเกตรี และตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา
การดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค
บริการสาธารณะและสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการแก้ไขชื่อเขตห้ามล่าสัตว์ป่าในแผนที่และแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทท้ายประกาศฯ
ตามความความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แล้วดำเนินการต่อได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น กระทรวงคมนาคม เห็นว่าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ
หรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
72 | ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ. .... | อว. | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ.
.... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงการบริหารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการแต่อยู่ในกำกับของรัฐ
เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระ มีความคล่องตัวและมีธรรมาภิบาล
สามารถจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง
รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม
และการปฏิรูปการอุดมศึกษา ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา โดยให้ส่งความเห็นของกระทรวงการคลังไปเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
73 | การแก้ไขปัญหาโรคใบด่างมันสำปะหลัง | นร. | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ปัจจุบันโรคใบด่างมันสำปะหลังได้แพร่ระบาดในพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังของหลายจังหวัดทั่วประเทศ
ซึ่งสร้างความเสียหายต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังของประเทศเป็นอย่างมาก
ดังนั้น จึงขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมวิชาการเกษตร)
ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคใบด่างมันสำปะหลังให้หมดสิ้นไปโดยเร็วที่สุด
โดยให้เร่งตัดวงจรการระบาดของโรคดังกล่าวให้ได้ก่อน รวมทั้งให้เร่งพัฒนา วิจัย
และผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังต้านทานโรคใบด่างให้สัมฤทธิ์ผลและมีปริมาณเพียงพอที่ใช้สนับสนุนให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังได้อย่างทั่วถึงโดยเร็วต่อไป
ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวต่อนายกรัฐมนตรีภายใน
๒ สัปดาห์
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
74 | ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. .... | สธ. | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงการอนุญาตผลิต นำเข้า
ส่งออก หรือจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต
นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่ายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงาน
ก.พ.ร. ที่เห็นควรเร่งดำเนินการตามมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนและเผยแพร่ตามช่องทางที่กำหนด
รวมถึงในเว็บไซต์ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (www.info.go.th)
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
75 | การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 9 | กต. | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง
- ล้านช้าง ครั้งที่ ๙ จำนวน ๔ ฉบับ ได้แก่ ๑. ร่างแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง
-ล้านช้าง ครั้งที่ ๙ มีสาระสำคัญเป็นการทบทวนความคืบหน้าการดำเนินการของกรอบความร่วมมือ
MLC และแสดงเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมความร่วมมือใน
๓ เสา และ ๕ สาขาความร่วมมือหลัก และความร่วมมือด้านอื่น ๆ ๒. ร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยข้อริเริ่มอากาศสะอาดแม่โขง
- ล้านช้าง มีสาระสำคัญเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือ MLC ในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ
และส่งเสริมบทบาทของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานท้องถิ่นของประเทศสมาชิกกรอบ MLC ๓. ร่างข้อริเริ่มว่าด้วยการกระชับความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำล้านช้าง
- แม่โขง มีสาระสำคัญเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือ
MLC ๔.
ร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามพรมแดน
ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง มีสาระสำคัญเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามพรมแดน
สนับสนุนการดำเนินการภายใต้กลไกที่มีอยู่ของกรอบความร่วมมือ MLC และกลไกอื่น ๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ทั้ง ๔ ฉบับ ตามที่ประเทศสมาชิกมีฉันทามติ
ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ ๙ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ดังนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้
และรวบรวมผลการปรับแก้ร่างเอกสารดังกล่าวและเอกสารผลลัพธ์ความตกลงระหว่างประเทศของกรอบความร่วมมืออื่น
ๆ พร้อมทั้งผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องรายงานต่อคณะรัฐมนตรีทราบในคราวเดียวกัน
โดยให้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เห็นว่าไม่มีข้อขัดข้องต่อร่างแถลงการณ์ฯ
เนื่องจากเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานด้านความมั่นคง
และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมผ่านแม่น้ำข้ามพรมแดน |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
76 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านประกอบ จังหวัดสงขลา พ.ศ. .... | มท. | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านประกอบจังหวัดสงขลา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลทับช้าง และตำบลประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค
บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ซึ่งมีนโยบายและมาตรการในการพัฒนาเมืองเพื่อรองรับการเป็นด่านถาวรที่มีมาตรฐานสากลและพัฒนาชุมชนชายแดนให้เป็นชุมชนน่าอยู่
ส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินในชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และสอดคล้องกับบทบาทชุมชนชายแดนบ้านประกอบ
รวมทั้งการรักษาพื้นที่เกษตรกรรมและป่าไม้ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นควรคำนึงถึงกฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เช่น มาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ การควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ให้รุกล้ำในพื้นพื้นที่อนุรักษ์ป่าไม้
รวมถึงที่ดินประเภทอื่น ๆ และในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ หากมีการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นประเภทอื่น
ๆ ที่ไม่ใช่ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้
ควรเพิ่มข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทนั้น ว่าให้ใช้ประโยชน์เพื่อการสงวนและคุ้มครองดูแลรักษาหรือบำรุงทรัพยากรธรรมชาติ
และให้ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป่าไม้ด้วย กระทรวงสาธารณสุข เห็นควรดำเนินการให้เป็นไปตามกฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๖๐ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
77 | แนวทางการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 14-16 สิงหาคม 2567 | นร.05 | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติรับทราบแนวทางการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๖ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๑๓ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันพุธที่ ๑๔
สิงหาคม ๒๕๖๗ ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันพฤหัสบดีที่ ๑๕
สิงหาคม ๒๕๖๗ และครั้งที่ ๑๕ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ วันศุกร์ที่
๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๗ ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
78 | ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | สผ. | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอ ๒.
ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร เป็นเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ในการประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ๓. ให้กระทรวงยุติธรรมเป็นหน่วยงานหลักรับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าว ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตดังกล่าว
และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม
แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
79 | ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถานว่าด้วยความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจ | พณ. | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
80 | ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการซ่อมแซมอาคารชลประทานที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากอุทกภัย ปี พ.ศ. 2567 | กษ. | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน
ใช้จ่ายงประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๘๖๗,๘๑๒,๐๐๐ บาท
เพื่อดำเนินโครงการซ่อมแซมอาคารชลประทานที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากอุทกภัย ปี
พ.ศ. ๒๕๖๗ รวม ๒๒๗ รายการ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
รับความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๗/๘๗๑๖
ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๗) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นว่ากรมชลประทานควรจัดส่งรายการตามแผนงานโครงการดังกล่าวให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ตรวจสอบเพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนของโครงการที่หน่วยงานอื่น ๆ ได้ขอรับจัดสรรงบประมาณไปแล้ว
พร้อมทั้งจัดทำแผนการใช้งบประประมาณให้สามารถติดตามตรวจสอบการดำเนินโครงการให้เกิดประสิทธิภาพ
ความคุ้มค่า และประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เห็นควรจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ตรวจสอบความซ้ำซ้อนของแผนงาน/โครงการ และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการ ให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ และให้รายงานผลการดำเนินงานโครงการดังกล่าวให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
เพื่อเป็นข้อมูลในการรายงานผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) เสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติทราบต่อไป
|