ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 10 จากทั้งหมด 6004 หน้า แสดงรายการที่ 181 - 200 จากข้อมูลทั้งหมด 120074 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
181 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่น และกำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควาย เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย พ.ศ. .... | ยธ. | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่น
และกำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควาย
เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดพื้นที่ทดลองเพราะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่นและเห็ดขี้ควายเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย
รวมทั้งกำหนดมาตรการควบคุมและตรวจสอบการเพาะปลูกและสาระสำคัญจากพืชดังกล่าว
โดยอาศัยอำนาจในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๕๕ วรรคสอง
แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งบัญญัติให้ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ส. เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย
การลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด และการป้องกันปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด จะกำหนดพื้นที่เพื่อดำเนินการศึกษาทดลองเพาะปลูกพืชที่เป็นยาเสพติด
ผลิตและทดสอบเกี่ยวกับยาเสพติดได้ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เห็นว่าควรเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในส่วนพื้นที่เพาะปลูกและสกัดสารสำคัญ
จากพืชเห็ดขี้ควายในมาตรา ๖ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าหน่วยงานที่เป็นผู้รับผิดชอบและควบคุมการดำเนินการทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญ
ต้องตรวจสอบการทดลองเพาะปลูกและสกัดสาระสำคัญ
ให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมพืชดังกล่าว ควรให้มีการรวบรวมข้อมูล สถิติ
ปริมาณการเพาะปลูก การผลิต โดยให้สอดคล้องกับแผนงานหรือโครงการวิจัยงบประมาณที่ใช้
สรุปผลการวิจัย ความคุ้มค่า ประโยชน์ที่ได้รับ ความคืบหน้า ทางการวิจัย
ปริมาณที่นำไปใช้ในการศึกษา วิจัย รวมถึงส่วนที่คงเหลือหรือทำลาย
โดยให้รายงานข้อมูลไปยังเลขาธิการ ป.ป.ส. เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ปริมาณการผลิต
การนำไปใช้และประโยชน์ในภาพรวมของทุกพื้นที่ เพื่อกำหนดมาตรการ ควบคุม
การตรวจสอบรวมถึงแก้ไขเพิ่มเติมมาตรการต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น และควรพิจารณาเพิ่มเติมการจัดทำบัญชีรับจ่ายพืชเสพติดและระยะเวลาในการรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้อนุญาต
การตรวจสอบวิเคราะห์ ปริมาณสารสำคัญ โดยเฉพาะสารปนเปื้อน
การมีฉลากและเอกสารกำกับบรรจุภัณฑ์ผลผลิตที่เกิดขึ้น และการจัดให้มีระบบติดตามและตรวจสอบย้อนกลับ
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของการควบคุมกำกับการทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจาดฝิ่นและเห็ดขี้ควาย
ก่อให้เกิดบรรทัดฐานเดียวกันกับการควบคุมกำกับ ดูแล การใช้ประโยชน์พืชเสพติดอื่น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
182 | ร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ และป่าเขาพระวิหาร บางส่วน ในท้องที่ตำบลโซง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. .... (อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร) | ทส. | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่
และป่าเขาพระวิหาร บางส่วน ในท้องที่ตำบลโซง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่
และป่าเขาพระวิหาร บางส่วน ในท้องที่ตำบลโขง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
เพื่อก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำลำห้วยบอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดอุบลราชธานี
เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภคให้กับราษฎรในพื้นที่
โดยมีจำนวนเนื้อที่รวม ๔๒ ไร่ ๕๑ ตารางวา ตามที่กระทรวงงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ ที่เห็นควรเพิ่มเติมข้อความ
“แนวแบ่งเขตระหว่างประเทศบนแผนที่ไม่ถือกำหนดเป็นทางการ”
ในแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ อันเป็นไปตามแนวปฏิบัติที่ผ่านมา
รวมทั้งหากต่อไปหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะขยายพื้นที่หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่ที่จะใช้ดำเนินโครงการดังกล่าวนั้น
ควรกำกับดูแลการดำเนินการดังกล่าวมิให้กระทบต่อแนวเขตแดนที่อยู่ระหว่างการดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนของ
JBT ไทย-กัมพูชา ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ ที่เห็นว่าตำแหน่งและพิกัดของพื้นที่เสนอขอเพิกถอนเป็นบริเวณที่ไม่มีประเด็นข้ามเขตแดนและไม่กระทบต่อท่าทีของไทยในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน
แต่ควรเพิ่มเติมข้อความ “แนวแบ่งเขตระหว่างประเทศบนแผนที่ไม่ถือกำหนดเป็นทางการ”
ในแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ อันเป็นไปตามแนวปฏิบัติที่ผ่านมา รวมทั้งหากต่อไปหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะขยายพื้นที่หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่ที่จะใช้ดำเนินโครงการดังกล่าวนั้น
ควรกำกับดูแลการดำเนินการดังกล่าวมิให้กระทบต่อแนวเขตแดนที่อยู่ระหว่างการดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนของ
JBT ไทย-กัมพูชา ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
183 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยนาท พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยนาท พ.ศ. 2560) | มท. | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยนาท พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยนาท
พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
(สีเขียว) สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น บริเวณหมายเลข ๓.๔ หมายเลข
๓.๕ เฉพาะฝั่งตะวันตกของคลองส่งน้ำชลประทานทุ่งวัดสิงห์ หมายเลข ๓.๖ หมายเลข ๓.๗
หมายเลข ๓.๑๐ หมายเลข ๓.๑๕ หมายเลข ๓.๑๘ หมายเลข ๓.๑๙ เฉพาะฟากตะวันตกทางหลวงชนบท
ชน.๔๐๕๔ และหมายเลข ๓.๒๐ โดยให้มีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ เมตร จากคลองส่งน้ำชลประทานทุ่งวัดสิงห์
คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาช่องลม และป่าเขาหลัก และแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ
ป่าเขาราวเทียน ให้สามารถประกอบกิจการโรงงานอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ได้ และเพิ่มเติมการอนุญาตให้ที่ดินบริเวณหมายเลข
๓.๓ หมายเลข ๓.๘ และหมายเลข ๓.๙ สามารถประกอบกิจการโรงแรมได้
และเพิ่มเติมการอนุญาตให้ที่ดินบริเวณหมายเลข ๓.๔ หมายเลข ๓.๕ หมายเลข ๓.๖ หมายเลข
๓.๗ หมายเลข ๓.๑๐ หมายเลข ๓.๑๑ หมายเลข ๓.๑๓ หมายเลข ๓.๑๕ หมายเลข ๓.๑๖ หมายเลข
๓.๑๘ หมายเลข ๓.๑๙ หมายเลข ๓.๒๐ และหมายเลข ๓.๒๑ สามารถประกอบกิจการโรงแรมประเภท ๑
และประเภท ๒ ได้ โดยให้มีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันไม่เกิน ๕๐๐
ตารางเมตร รวมทั้งแก้ไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
(สีเขียว) ให้สามารถประกอบกิจการโรงงานลำดับที่ ๑๐๑ โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม (Central
Waste Treatment Plant) เฉพาะโรงงานกำจัดมูลฝอย
ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลหรือได้รับอนุญาตให้ดำเนินการจากหน่วยงานของรัฐดำเนินการได้เพิ่มเติมในท้องที่หมู่ที่
๗ ตำบลหนองมะโมง อำเภอมะโมง จังหวัดชัยนาท
และให้โรงงานบำบัดน้ำเสียรวมดำเนินการได้ และรวมถึงการให้ยกเลิกความในหมายเหตุในโรงงานลำดับที่
๑๐๑
ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ห้ามประกอบกิจการท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยนาท
พ.ศ. ๒๕๖๐ ในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม และให้ใช้ความตามประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ห้ามประกอบกิจการท้ายประกาศนี้แทน
เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชน
สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดที่กำหนดให้เป็น
“ย่านท่องเที่ยวการเรียนรู้ และวิธีชีวิตชุมชน” และมุ่งเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมด้วยการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรด้วยนวัตกรรมทางการเกษตรสมัยใหม่
รวมทั้งเพื่อประโยชน์สาธารณะและสุขอนามัยของประชากรในจังหวัดชัยนาท
และดำเนินการรวบรวมน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ใกล้เคียงมาบำบัด
เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานก่อนนำกลับมาใช้ใหม่หรือปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเกษตรกรและพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมด้วย
จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
คำนึงถึงกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่นด้วย
การดำเนินการจึงต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน และเมื่อประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้มีผลใช้บังคับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
เพื่อลดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
184 | การกำหนดประโยชน์ตอบแทนสำหรับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนของคณะกรรมการการบินพลเรือน | คค. | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดประโยชน์ตอบแทนสำหรับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนของ
ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการการบินพลเรือน
โดยให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนตามอัตรา ดังนี้ (๑) ประธานกรรมการ จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท และ (๒) รองประธานกรรมการและกรรมการ
จำนวน ๘,๐๐๐ บาท โดยการได้รับเบี้ยประชุมให้ได้รับเฉพาะเดือนที่มีการประชุม
และผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมจะได้รับเบี้ยประชุมในเดือนใดต้องเข้าร่วมประชุมในเดือนนั้น
โดยถือว่ามีผลตั้งแต่วันที่มีการประกาศ ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง
กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ
อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ พ.ศ. ๒๕๕๘ (ประกาศ กค. เรื่อง
กำหนดรายชื่อคณะกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมฯ พ.ศ. ๒๕๕๘) คือตั้งแต่วันที่
๑๙ มีนาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
เพื่อให้สอดคล้องกับการประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือนที่ผ่านมาซึ่งมีความสำคัญกับการกำกับดูแลด้านนโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศที่ต้องมีความต่อเนื่อง
ทันต่อเหตุการณ์ ถูกต้อง และครบถ้วนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้กระทรวงคมนาคม (สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย)
รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นควรกำชับให้พึงระวังมิให้เกิดความซ้ำซ้อนในการจ่ายประชุมให้แก่คณะกรรมการการบินพลเรือน
คำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า ต้นทุน และผลประโยชน์
เสถียรภาพความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐด้วย ให้ใช้จ่ายจากเงินรายได้และทรัพย์สินของหน่วยงานเพื่อเป็นค่าตอบแทนสำหรับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนของคณะกรรมการการบินพลเรือน
และคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า และประโยชน์ที่จะได้รับ
ไปดำเนินการอย่างเคร่งครัดด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
185 | ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค ครั้งที่ 13 | พน. | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค
ครั้งที่ ๑๓ ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ เมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
เป็นผู้ให้การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าว โดยร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีพลังงานเอเปคในการกำหนดทิศทางและวางกรอบนโยบายความร่วมมือด้านพลังงานร่วมกันบนพื้นฐานของการขับเคลื่อนเป้าหมายกรุงเทพฯ
ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว และวิสัยทัศน์ปุตราจายา
ค.ศ. ๒๐๔๐ ที่มุ่งเน้นหลักการ “การเปิดกว้าง มีพลวัต พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
และมีสันติภาพ” ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ ที่เห็นว่าร่างถ้อยแถลงร่วมฯ
เป็นเพียงการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของการประชุมระดับรัฐมนตรีพลังงานเอเปค
จึงอยู่ในข่ายที่สามารถดำเนินการได้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค
ครั้งที่ ๑๓
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพลังงานดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒.
ให้กระทรวงพลังงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
186 | ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ | นร.12 | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ....
และร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
รวม 2 ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี
(องค์การมหาชน) ที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมบนพื้นฐานทางธรรมชาติ
และแหล่งท่องเที่ยวไนท์ซาฟารี โดยให้ยกเลิกการโอนบรรดากิจการและทรัพย์สินของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร
(องค์การมหาชน) ไปเป็นขององค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย และให้โอนไปเป็นขององค์การบริหารไนท์ซาฟารี
(องค์การมหาชน) ที่จัดตั้งขึ้นตามร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้แทน ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาถึงประเด็นความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. เห็นชอบหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างและเงินช่วยเหลือเยียวยา
กรณีเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)
ที่ไม่ประสงค์จะปฏิบัติงานในองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน)
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ ๓.
ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและสำนักงาน ก.พ.ร.
รับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ที่เห็นว่าเมื่อองค์การบริหารไนท์ซาฟารี
(องค์การมหาชน) ได้รับโอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้
และงบประมาณของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีแล้วเสร็จ
จะต้องยื่นขอค่าเช่าอาคารและสิ่งปลูกสร้าง
ซึ่งเป็นที่ราชพัสดุให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป กพม.
ควรศึกษาความเป็นไปได้ในการโอนศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ๗
รอบพระชนมพรรษา ที่อยู่ในการบริหารของกรมธนารักษ์
ไปเป็นขององค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) เป็นผู้บริหาร
หรือจัดตั้งองค์กรรัฐบาลรูปแบบอื่น
เพื่อรองรับการบริหารศูนย์ประชุมดังกล่าวให้เป็นรูปธรรม
และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและพิจารณาต่อไป และการดำเนินการในเรื่องนี้ควรดำเนินการตามกฎหมายด้วยความรอบคอบและสอดคล้องกับการจัดตั้งองค์การมหาชน
โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าเชิงภารกิจของรัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
รวมไปถึงควรกำหนดมาตรการหรือแนวทางการดำเนินงานเพื่อรองรับปัญหาต่าง ๆ
ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอย่างรอบด้าน ติดตามและประเมินผลอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้การจัดตั้งองค์การไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน)
บรรลุตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๔. ให้สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์การบริหารไนท์ซาฟารี
(องค์การมหาชน)
ที่จะถูกจัดตั้งขึ้นตามร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี
(องค์การมหาชน) พ.ศ. .... ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
187 | การให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์โกดังเก็บสินค้าดอกไม้เพลิงระเบิดและเกิดเพลิงไหม้ที่จังหวัดนราธิวาส | นร. | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า
จากการที่ได้เดินทางลงพื้นที่เกิดเหตุโกดังเก็บสินค้าดอกไม้เพลิงระเบิดและเกิดไฟไหม้ตำบลมูโนะ
จังหวัดนราธิวาส พบว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงและกระจายเป็นวงกว้าง
ซึ่งนอกเหนือจากจะมีประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บแล้ว บ้านเรือนที่อยู่อาศัย
รวมทั้งทรัพย์สิน
ข้าวของเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพและดำรงชีวิตประจำวันก็เสียหายไปด้วย
จึงขอให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยให้รวดเร็ว
ทั่วถึง ตรงตามความเดือดร้อน และสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างและซ่อมแซมที่อยู่อาศัย การจัดหาปัจจัยอื่น ๆ
ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำรงชีพ รวมถึงระบบสาธารณูปโภค/สาธารณูปการ
น้ำกินน้ำใช้ที่สะอาดปลอดภัยด้วย ทั้งนี้
ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเร่งรัดดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดกับผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกฝ่ายที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง
ละเลย บกพร่อง ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น
โดยในภาพรวมขอให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งตรวจสอบสถานที่เก็บพลุ
ดอกไม้เพลิง วัตถุและสารไวไฟต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้หรือการระเบิดขึ้น
ให้อยู่ในพื้นที่/สถานที่ที่ถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย เพื่อควบคุมและป้องกันมิให้เกิดปัญหาในทำนองเดียวกันอีก
และโดยที่กรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ตำบลมูโนะ
ดังกล่าวข้างต้นส่งผลกระทบรุนแรงมากทั้งต่อครอบครัว ประชาชน ที่อยู่อาศัย
ทรัพย์สิน และข้าวของที่จำเป็นต้องใช้ รวมตลอดถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่
จึงขอให้สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)
รับไปพิจารณาแนวทาง/มาตรการในการให้ความช่วยเหลือเยียวยา/ชดเชยใด ๆ เพิ่มเติมให้แก่ประชาชนผู้ประสบภัยดังกล่าวข้างต้นอีกส่วนหนึ่งด้วย
โดยให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
188 | ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต การออกใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การแก้ไขรายการในใบอนุญาต การดำเนินการของผู้รับอนุญาตเพื่อประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแล และการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 พ.ศ. .... | สธ. | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตผลิต
นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต
การออกใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การแก้ไขรายการในใบอนุญาต
การดำเนินการของผู้รับอนุญาตเพื่อประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแล
และการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย
หรือมีไว้ครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้พิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติของผู้อนุญาตตามร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้ครอบคลุมถึงหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารที่มีหน้าที่และอำนาจในการวิเคราะห์หรือการศึกษาวิจัยทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์ด้วย
และให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. เกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาการพิจารณา เกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาการพิจารณาและอัตราค่าธรรมเนียมให้มีความเหมาะสม
รวมทั้งให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งจัดทำคู่มือสำหรับประชาขน ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นควรพิจารณาความจำเป็นในการกำหนดเงื่อนไขในการขยายระยะเวลาการพิจารณาดังกล่าว
เพื่อให้การพิจารณาอนุญาตและต่ออายุใบอนุญาตมีระยะเวลาที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ
และไม่ก่อให้เกิดการดำเนินการที่ล่าช้าเกินสมควรซึ่งสอดคล้องตามมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาการอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘
และเร่งดำเนินการตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯ โดยจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนและเผยแพร่ตามช่องทางที่กำหนดรวมถึงในเว็บไซต์ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ
(www.info.go.th) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
189 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 | สธ. | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง รายการค่าใช้จ่าย ในการบรรเทา แก้ไขปัญหา
และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จำนวน ๒,๙๙๕,๙๕๗,๐๔๕.๕๙ บาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนเสี่ยงภัยให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานระหว่างเดือนกรกฎาคม
๒๕๖๔-เดือนมิถุนายน ๒๕๖๕
ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๑๒/๑๓๑๐๕ ลงวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖) เนื่องจากวงเงินที่อนุมัติเกินกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการนำเรื่องดังกล่าวเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี
โดยเสนอผ่านรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแล
แล้วแต่กรณี ตามนัยระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการค่าใช้จ่าย
ในการบรรเทา แก้ไขปัญหา
และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (ฉบับที่
๓) พ.ศ. ๒๕๖๖ ข้อ ๓ และระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการค่าใช้จ่าย ในการบรรเทา แก้ไขปัญหา
และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ.
๒๕๖๓ ข้อ ๘ (๓) ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
190 | ผลการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 15 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย (IMT - GT) | นร.11 สศช | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมผู้นำ ครั้งที่
๑๕ แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle : IMT-GT) เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ โดยประธานาธิบดีสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นประธานการประชุม
และได้หารือร่วมกับนายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐมาเลเซีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย
เลขาธิการอาเซียน และประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย ในประเด็นความก้าวหน้า
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และทิศทางการดำเนินงานในอนาคตของแผนงาน IMT-GT และเห็นชอบการมอบหมายภารกิจหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยตามแผนการดำเนินงานในระยะต่อไปและมอบหมายให้หน่วยงานดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
โดยผลการประชุมฯ มีสาระสำคัญ เช่น ความสำเร็จที่สำคัญของแผนงาน IMT-GT ในช่วง ๓๐ ปี ที่ผ่านมา ความก้าวหน้าโครงการความเชื่อมโยงทางกายภาพ
ความก้าวหน้าการดำเนินงานในสาขาความร่วมมือต่าง ๆ ภายใต้แผนการดำเนินงานระยะ ๕ ปี
พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ทิศทางการดำเนินงานในอนาคต พิธีเปิดแคมเปญปีแห่งการท่องเที่ยว
IMT-GT พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๘ เป็นต้น ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและกระทรวงคมนาคม รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง เช่น
ควรพิจารณาเร่งหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ กระทรวงคมนาคม กรมการท่องเที่ยว
สายการบิน ภาคเอกชน หน่วยงานทางการท่องเที่ยวและธุรกิจการบิน ภาคการศึกษา
เพื่อศึกษาหาแนวทางและส่งเสริมการขยายเส้นทางการบิน ในพื้นที่อนุภูมิภาค IMT-GT เพื่อเปิดและเชื่อมโยงอนุภูมิภาค IMT-GT ให้เป็นพื้นที่ที่เข้าถึงง่ายทั้งในการมาเยือนของนักท่องเที่ยว
นักลงทุน ทั้งในและนอกอนุภูมิภาค ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด และควรให้การสนับสนุน
เพื่อช่วยขับเคลื่อนความร่วมมือภายใต้แผนงาน IMT-GT
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
191 | ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPls) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | นร.12 | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ดังนี้ ๑. ประเด็นนโยบายสำคัญ (Agenda) จำนวน ๕ ประเด็น
และห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ได้แก่ (๑)
การบริหารจัดการและอนุรักษ์พื้นฟูน้ำทั้งระบบ (๒) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (๓)
รายได้จากการท่องเที่ยว (๔) รายได้ของผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP
(๕) การลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 ๒.
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเป้าหมาย ๓. (ร่าง)
ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
โดยมอบหมายให้ ก.พ.ร. เป็นผู้พิจารณาการกำหนดตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย
และรายละเอียดของ Joint KPIs
โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง ๔. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. นำ Joint KPIs ไปขับเคลื่อนส่วนราชการ จังหวัด
และองค์การมหาชน ที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒
และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะที่ไม่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน
พ.ศ. ๒๕๕๘ ๕. ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจนำ Joint KPIs
ไปขับเคลื่อนหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจและส่งผลการดำเนินงานหรือผลการประเมินให้สำนักงาน
ก.พ.ร. ในสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ๖. ให้กรมบัญชีกลางนำ Joint KPIs
ไปขับเคลื่อนองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน
พ.ศ. ๒๕๕๘ และทุนหมุนเวียนอื่นภายใต้ระบบการประเมินของกรมบัญชีกลาง
และส่งผลการดำเนินงานหรือผลการประเมินให้สำนักงาน ก.พ.ร. ในสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๗ ๗. ให้องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน
พ.ศ. ๒๕๕๘ และไม่อยู่ในระบบการประเมินของกรมบัญชีกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานอื่น ๆ นำ Joint KPIs ไปขับเคลื่อนภายในหน่วยงาน
และส่งผลการดำเนินงานหรือผลการประเมินให้สำนักงาน ก.พ.ร. ในสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๗ ๘.
ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายระดับชาติ ได้แก่
คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่ชาตินำ Joint KPIs
เสนอแก่คณะกรรมการนโยบายระดับชาติที่เกี่ยวข้อง
เพื่อร่วมขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสำคัญ ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงวัฒนธรรม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เช่น
ในการกำหนดตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และรายละเอียดของตัวชี้วัด ควรให้สำนักงาน ก.พ.ร.
หารือร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง
เพื่อให้ตัวชี้วัดมีรายละเอียดที่ครบถ้วน เหมาะสม
สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวในปัจจุบัน
และสามารถขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุตามค่าเป้าหมายที่กำหนดได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ
ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
และหลักธรรมาภิบาลโดยเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
192 | ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ในพื้นที่ป่าชายเลน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | ทส. | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวภายหลังวันที่ ๓๑ กรกฎาคม
๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
โดยสำหรับการกำหนดวันสิ้นสุดการอนุญาตให้คนต่างด้าวได้รับการผ่อนผันให้อยู่และทำงานในราชอาณาจักร
ให้เป็นไปตามข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรี ซึ่งในระหว่างที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้เข้ารับหน้าที่ด้วยการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์แล้ว
แต่ยังมิได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเพื่อเข้าบริหารราชการแผ่นดิน
ให้คนต่างด้าวได้รับการผ่อนผันให้อยู่และทำงานในราชอาณาจักรเป็นวันที่ ๓๐ กันยายน
๒๕๖๖ ๒. เห็นชอบ
๒.๑ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพเศษ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ (ฉบับที่ ....) พ.ศ. ....
๒.๒ ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ (ฉบับที่ ....) พ.ศ. .... รวม ๒ ฉบับ
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้คนต่างด้าวที่ได้ดำเนินการตามแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖
สามารถอยู่และทำงานในราชอาณาจักรต่อไปได้ถึงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว โดยให้แก้ไขวันสิ้นสุดการอนุญาตให้คนต่างด้าวได้รับการผ่อนผันให้อยู่และทำงานในราชอาณาจักรเป็นวันที่
๓๐ กันยายน ๒๕๖๖ ตามข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรี และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรเร่งรัดเตรียมความพร้อมการดำเนินการตามแนวปฏิบัติการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างรัฐ
(MOU) ในด้านต่าง ๆ อาทิ
การตรวจสุขภาพ การทำประกันสุขภาพหรือขึ้นทะเบียนประกันสังคม
การจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล และการจัดทำหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
ให้แก่คนต่างด้าวกลุ่มเป้าหมาย และควรพิจารณาวิเคราะห์คนต่างด้าวในภาคการผลิตและบริการรายสาขา
และจัดทำแผนบริหารจัดการคนต่างด้าว เพื่อให้การดำเนินการในเรื่องการอยู่และการทำงานของคนต่างด้าวเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
193 | การสรรหาบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐแทนตำแหน่งที่ว่าง (นายประยงค์ ปรียาจิตต์) | ปปท. | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเสนอรายชื่อ
นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เป็นบุคคลที่คณะรัฐมนตรีสรรหาและเสนอรายชื่อต่อคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
เพื่อคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
แทนนายชาติชาย สุทธิกลม กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเดิม ที่ครบวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี
เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ตามพระราชบัญญัติมาตรการฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุตริต
พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
194 | ร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแต่งตั้ง ประธานกรรมการรองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน (กสอ.) พ.ศ. .... และการกำหนดค่าตอบแทนเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่และประโยชน์อย่างอื่นของ กสอ. และคณะอนุกรรมการ | คค. | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการร่างประกาศ เรื่อง
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแต่งตั้ง ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน
(กสอ.) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแต่งตั้งประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการ กสอ.
เพื่อดำเนินการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. เห็นชอบการกำหนดค่าตอบแทน เบี้ยประชุม
ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ และประโยชน์
อย่างอื่นของคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน
และคณะอนุกรรมการ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ สำหรับเบี้ยประชุมรายเดือนของกรรมการ
กสอ. ซึ่งทำงานไม่เต็มเวลาให้กำหนดเพิ่มเติม
“หากเดือนใดไม่มีการประชุมหรือมีการประชุมแต่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมให้งดจ่าย”
ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ๓. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เกี่ยวกับงบประมาณที่จะเกิดขึ้นให้สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ แล้วแต่กรณี
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ในโอกาสแรกก่อน สำหรับปีงบประมาณถัดไปขอให้สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมดำเนินการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี
ตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า
หรือประโยชน์ที่จะได้รับ เพื่อไม่ก่อให้เกิดภาระงบประมาณในระยะยาว ตามมาตรา ๒๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ สำหรับการกำหนดค่าตอบแทน เบี้ยประชุม
ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ และประโยชน์อย่างอื่นของ กสอ. และคณะอนุกรรมการ
ให้ดำเนินการตามความเห็นของกระทรวงการคลังและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
195 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย (1. นายปริญญา ประหยัดทรัพย์ ฯลฯ จำนวน 4 คน) | มท. | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย
จำนวน ๔ คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๘ สิงหาคม ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้ ๑. นายปริญญา ประหยัดทรัพย์ ๒. นายมูหมัดลูตฟี อุเซ็ง ๓. นายสมรรถ พุ่มอ่อน ๔. นายมนูญพันธ์ รัตนเจริญ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
196 | การสิ้นสุดหน้าที่ของ นาย เอช. เอช. เอ็ม เรยกร๊อค กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำนครอัมสเตอร์ดัม ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และการปิดสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำนครอัมสเตอร์ดัม ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เป็นการชั่วคราว | กต. | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. การสิ้นสุดหน้าที่ของ นาย เอช. เอช. เอ็ม เรยกร๊อค
(Mr. H. H. M. Ruijgrok) กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำนครอัมสเตอร์ดัม
ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๖ เนื่องจากถึงแก่กรรม ๒. การปิดสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำนครอัมสเตอร์ดัม
ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำนครอัมสเตอร์ดัม
ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์คนใหม่
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
197 | รัฐบาลสหพันธรัฐรัสเซียเสนอขอแต่งตั้งกงสุลใหญ่สหพันธรัฐรัสเซีย ณ จังหวัดภูเก็ต (นายเอกอร์ วี. อีวานอฟ) | กต. | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นายเอกอร์ วี. อีวานอฟ (Mr. Egor V. Ivanov) ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่สหพันธรัฐรัสเซีย
ณ จังหวัดภูเก็ต โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดภูเก็ต ชุมพร กระบี่ นครศรีธรรมราช
นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ระนอง สตูล สงขลา ตรัง และยะลา สืบแทน นายวลาดีมีร์
วี. ซอสนอฟ (Mr. Viadimir V. Sosnov)
ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
198 | การรายงานผลการดำเนินงานโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy Loan: DPL) | กค. | 25/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
(Development Policy Loan : DPL) และการปิดบัญชีโครงการเงินกู้ DPL โดยโครงการเงินกู้
DPL มีจำนวน ๑๒๐ โครงการ วงเงินรวม ๔๒,๖๖๗.๔๒ ล้านบาท
แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ (๑) โครงการเงินกู้ DPL ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง
๒๕๕๕ จำนวน ๗๐ โครงการ วงเงิน ๑๗,๖๘๔.๙๙ ล้านบาท มีการเบิกจ่าย ๑๖,๘๒๐.๘๑ ล้านบาท
และ (๒) โครงการเงินกู้ DPL นอกแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง
๒๕๕๕ จำนวน ๕๐ โครงการ วงเงิน ๒๔,๙๘๒.๔๓ ล้านบาท
แบ่งเป็นโครงการที่เบิกจ่ายเงินกู้แล้วเสร็จ จำนวน ๔๕ โครงการ วงเงินการเบิกจ่าย
๒๑,๕๕๔.๓๖ ล้านบาท และโครงการที่ยุติโครงการ จำนวน ๕ โครงการ เนื่องจากคุณสมบัติของโครงการต่าง
ๆ ที่ได้ระบุไว้ในคำของบประมาณ มีคุณสมบัติที่ไม่สอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน
ทั้งนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) แจ้งว่า ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕
มีเงินคงเหลือในบัญชีเงินกู้ DPL เป็นศูนย์
โดยไม่มีความจำเป็นต้องเบิกจ่ายเงินกู้โครงการเงินกู้ DPL แล้ว
สบน. จึงขอให้กรมบัญชีกลางปิดบัญชี
“เงินฝากเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน”
ซึ่งกรมบัญชีกลางได้ปิดบัญชีดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๖
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
199 | รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2566 | กค. | 25/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่
๒ ปี ๒๕๖๖ ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
สรุปได้ ดังนี้ ๑.
การประเมินภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ ๒ ปี ๒๕๖๖ โดยเศรษฐกิจโลก
เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราร้อยละ ๒.๖ และร้อยละ ๒.๗ ในปี
๒๕๖๖ และ ๒๕๖๗ ตามลำดับ จากแรงส่งภาคบริการของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และกลุ่มยุโรป
ขณะที่เศรษฐกิจของจีนมีแนวโน้มขยายตัวภายหลังจากเปิดประเทศ
และเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องโดยขยายตัวที่ร้อยละ ๓.๖ และ ๓.๘ ในปี
๒๕๖๖ และ ๒๕๖๗ ตามลำดับ การบริโภคของภาคเอกชน ปี ๒๕๖๖ มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ ๔.๔
และมูลค่าการส่งออกสินค้าของไทย ปี ๒๕๖๖ มีแนวโน้มหดตัวลงเล็กน้อย
ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ ๒.๕ และร้อยละ ๒.๔ ในปี ๒๕๖๖ และ
๒๕๖๗ ตามลำดับ ๒.
ภาวะการเงินโดยรวมผ่อนคลายลดลงจากต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนที่ปรับตัวสูงขึ้น
ส่วนค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ ๓๔.๔๐ บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากค่าเฉลี่ยไตรมาสก่อน ๓.
การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสที่ ๒ ปี ๒๕๖๖ กนง.
มีมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นร้อยละ ๒ ต่อปี
โดยเห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ
และประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน
ขณะที่การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
200 | การแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์) | กค. | 25/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|